ข้ามไปเนื้อหา

ตราแห่งความอัปยศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราดาวเหลืองที่นาซีเยอรมันบังคับให้ผู้มีเชื้อสาวยยิวต้องติดเพื่อเป็นแสดงความอดสู

ตราแห่งความอัปยศ หรือ สัญลักษณ์แห่งความอัปยศ (อังกฤษ: Badge of shame หรือ symbol of shame หรือ mark of shame หรือ stigma[1]) มักจะเป็นสัญลักษณ์ที่มีลักษณะเด่นที่กลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่งถูกบังคับให้ใช้หรือติดเพื่อให้เป็นการเหยียดหยามในที่สาธารณะ (public humiliation) หรือเป็นการทำร้ายจิตใจ เช่นเมื่อชาวยิวต้องติดตราดาวเหลือง (yellow badge) ในบางส่วนของยุโรประหว่างยุคกลาง[2] และต่อมาในนาซีเยอรมนีและในบริเวณที่ยึดครองโดยเยอรมนี โดยมีจุดประสงค์ให้เป็น “ตราแห่งความอัปยศ” ในการประณามและสร้างความเหยียดหยามว่าเป็นชาติพันธุ์ที่ต่ำกว่าชาติพันธุ์อื่น[3] วลีนี้อาจจะหมายถึงสิ่งที่นำมาซึ่งความอดสู เช่นในคัมภีร์ไบเบิลเรื่อง “เครื่องหมายของเคน” ที่มีความหมายเช่นเดียวกับ “ตราแห่งความอัปยศ”[4][5][6][7] นอกจากนั้นก็ยังใช้เป็นอุปมาโดยเฉพาะในทางเหยียดหยามในการบ่งถึงสิ่งหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่นำมาซึ่งความไม่มีศักดิ์ศรีหรือความน่าละอาย[8]

ประวัติ

[แก้]

การถอนขน

[แก้]

การลงโทษโดยการถอนขน (depilation) ของชายโดยเฉพาะโดยการเผาขนหัวหน่าวเป็นการพยายามสร้างความละอายในวัฒนธรรมโบราณที่ถือว่าการมีขนบนร่างกายเป็นสิ่งมีค่า[9] สตรีที่มีชู้ก็อาจจะถูกบังคับให้สวมสัญลักษณ์หรือป้ายประกาศ หรือถูกโกนผมเพื่อให้เป็นที่ละอายแก่ปวงชนตลอดมาในประวัติศาสตร์[10] สตรีเป็นจำนวนมากในประเทศที่ถูกยึดครองโดยเยอรมนีที่ไปมีความสัมพันธ์กับทหารเยอรมันก็ถูกจับโกนหัวโดยหมู่ชนที่เต็มไปด้วยโทสะหลังจากที่ประเทศได้รับการปลดปล่อยโดยฝ่ายพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[11] ระหว่างสงคราม นาซีก็ใช้การโกนหัวในการลงโทษผู้ที่ต่อต้านหรือไม่ยอมร่วมมือเช่นในกรณีของผู้ต่อต้านที่เรียกว่าขบวนการยุวชนต่อต้านเอเดลไวส (Edelweißpiraten) [12]

เครื่องแต่งกาย

[แก้]
ระหว่าง ค.ศ. 1814-ค.ศ. 1823 โกยาร่างภาพแปดภาพที่เป็นภาพของผู้ถูกลงโทษโดยคณะผู้ไต่สวนศรัทธา ผู้ที่ถูกลงโทษต้องสวมหมวกที่เป็นกรวยสูงและเสื้อทูนิคที่บนหน้าอกมีคำจารึกถึงเหตุผลที่ถูกลงโทษ

ในสมัยโรมันโบราณทั้งชายและหญิงเดิมแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่เรียกว่าโทกา (toga) แต่ต่อมาสตรีสูงศักดิ์ก็หันมานิยมแต่งตัวแบบสโตลา (stola) แต่สตรีที่มีอาชีพเป็นโสเภณียังคงแต่งตัวแบบโทกากันอยู่ ต่อมาตามกฎหมายจูเลีย (Lex Julia) สตรีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นโสเภณีก็ถูกบังคับให้สวม “toga muliebris” เพื่อเป็นการแสดงความอัปยศ[13]

เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ก็ทรงประกาศห้ามคริสเตียนจากการทำร้ายชาวยิว แต่ทรงสนับสนุนการแยกสังคมออกเป็นกลุ่ม ในโอกาสหนึ่งถึงกับทรงเปรียบชาวยิวกับชะตาของคาอินที่บรรยายในพระธรรมปฐมกาลเมื่อทรงสาส์นถึงเคานท์แห่งนาแวร์สว่า:

“พระเป็นเจ้าทรงทำให้เคนเป็นผู้มีความผิดและต้องเที่ยวเร่ร่อนไปทั่วแผ่นดิน และทรงทำเครื่องหมายแก่เคน… ในฐานะที่[ชาวยิว]ยังคงเป็นผู้เร่ร่อนต่อไปในโลก ก็ต้องรับสถานะที่เต็มไปด้วยความอับยศตลอดไป…”[14]

หลังจากที่สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ทรงเป็นประธานในการประชุมสภาสงฆ์แห่งแลตเตอรันครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ. 1215[15] สภาก็อนุมัติตามมาตรา 68 ที่ระบุให้ชาวยิว และ มุสลิมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่แสดงความแตกต่างกลุ่มชนอื่น เพื่อป้องกันความสัมพันธ์ระหว่างผู้นับถือศาสนาที่ต่างกัน[16] แต่มาตรานี้ก็ไม่มีรัฐบาลฆราวาสปฏิบัติตามมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1269 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส (ผู้ต่อมาได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ) ทรงได้รับการหว่านล้อมให้ออกพระราชประกาศบังคับให้ชาวยิวในฝรั่งเศสติดตราเหลืองกลมบนหน้าอกและหลัง[17][18] หลังจากสงครามครูเสดอัลบิเจ็นเซียนยุติลงในปี ค.ศ. 1229 และการไต่สวนศรัทธา (Papal inquisition) ของสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9 ก็ได้มีการออกกฎลงโทษคาธาร์ผู้ถูกกล่าวหาว่านอกรีตให้สวมตราเหลืองคาธาร์[19]

ในสมัยอาณานิคมทั้งสิบสามของนิวอิงแลนด์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ศาลก็พิพากษาให้ผู้มีความผิดจริยธรรมทางเพศ (sexual immorality) ให้ติดอักษรบนเสื้อด้วยตัว “A” หรือ “AD” (adultery) สำหรับผู้มีชู้ และอักษร “I” (incest) สำหรับผู้ร่วมประเวณีระหว่างพี่น้อง[20]

เสื้อลายที่นิยมให้นักโทษสวมระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และถูกยกเลิกไปแล้วในสหรัฐอเมริกาเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะถือกันว่าเป็นเครื่องหมายของความอัปยศซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ[21]

ผิวหนัง

[แก้]
เด็กใส่หมวกเพื่อให้เป็นที่ละอายในชั้นเรียนราวปี ค.ศ. 1906

สังคมบางสังคมอาจจะลงโทษให้อายโดยการทำเครื่องหมายบนร่างกายที่เรียกกันว่า “ตรีตรา” (branded a criminal) ทั้งนักโทษและทาสต่างก็ได้รับการตีตราตลอดมาในประวัติศาสตร์โดยการการสัก[22] ผู้ทำความผิดทางเพศในนิวอิงแลนด์ก็ถูกลงโทษโดยการ “ตรีตรา” ด้วยเหล็กร้อนให้เผาเป็นรอยบนผิวหนังบนหน้าหรือหน้าผากเพื่อให้เป็นที่เห็นกันโดยทั่วไป[20] การประทับตราให้เห็นบนใบหน้าเป็นวิธีลงโทษอย่างที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ ภายใต้ “พระราชบัญญัติคนจรจัด” ในปี ค.ศ. 1547 ที่ระบุการประทับอักษร “S” บนแก้มหรือหน้าผากสำหรับทาสที่หนีจากนาย และอักษร “F” (fraymaker) บนแก้มสำหรับผู้ที่ทะเลาะกันในวัด[23] เจมส์ เนย์เลอร์เควคเคอร์ชาวอังกฤษผู้ถูกกล่าวหาว่าดูหมิ่นศาสนาในปี ค.ศ. 1656 ถูกประทับตราด้วย และอักษร “B” (Blasphemy) บนหน้าผาก[23] การประทับตราเลิกทำกันในอังกฤษในปี ค.ศ. 1829[23] แต่ยังคงปฏิบัติกันในสหรัฐอเมริกามาอย่างน้อยก็จนถึงปี ค.ศ. 1864 ในระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกาเมื่อทหารฝ่ายเหนือถูกประจานด้วยการประทับด้วยอักษร “D” (Deserters) ถ้าหนีทหาร[24]

เครื่องสวมหัว

[แก้]

ในชั้นเรียนในฝรั่งเศสสมัยก่อนเด็กนักเรียนที่ประพฤติไม่ดีจะถูกส่งไปนั่งสวมหมวกที่มีป้าย “Âne” ที่แปลว่าลาอยู่มุมห้อง หรือสวมหมวกตัวตลกที่เป็นหูลา บางครั้งก็จะเป็นหมวกยอดแหลมที่เรียกว่า “หมวกลา” (cap d'âne) ในชั้นเรียนในอังกฤษและสหรัฐอเมริกาหมวกยอดแหลมเรียกว่า “หมวกคนโง่เง่า” (dunce cap) ที่มักจะมีอักษร “D” ซึ่งก็ใช้ในการทำให้เด็กนักเรียนที่ประพฤติไม่ดีมีความอาย[25][26] ในสมัยปัจจุบันหมวกเหล่านี้ก็เลิกใช้กันไปแล้วแต่ก็ยังมีวิธีการลงโทษอื่นๆ ที่ใช้ในการลงโทษนักเรียน[27]

ความหมายอื่น

[แก้]

ค่ายกักกันนาซีใช้เครื่องหมายสามเหลี่ยมสีต่างๆ ในการจัดกลุ่มตามความผิดของนักโทษ[28] แต่ชาวยิวต้องติดเครื่องหมายสามเหลี่ยมซ้อนกันเป็นดาวหกมุมเป็นดาวแห่งเดวิด สัญลักษณ์เหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อที่แสดงความอัปยศให้แก่ผู้สวม แต่มามีผลตรงข้ามหลังสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อได้รับการนำมาใช้สำหรับผู้ถูกสังหารในค่ายกักกันระหว่างสงคราม[28] สามเหลี่ยมชมพูสำหรับนักโทษโฮโมเซ็กชวลกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งความภูมิใจในความเป็นเกย์ (gay pride) [29] ดาวแห่งเดวิดของไซออนนิสม์ที่แปลงมาจากดาวเหลืองของนาซิก็กลายมาเป็นสัญลักษณ์เด่นบนธงชาติอิสราเอล[30][31][32][33]

ในทางกลับกันสัญลักษณ์ที่จงใจสร้างความรู้สึกทางบวกก็อาจจะมีผลในทางตรงกันข้ามกับที่ต้องการ หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกระทรวงการสงครามแห่งสหรัฐอเมริกามอบสามเหลี่ยมคว่ำ (Chevron) ทองให้แก่ทหารผู้ต่อสู้ในสงครามในยุโรป สามเหลี่ยมคว่ำเงินให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศในการสนับสนุนการสงครามแต่ไม่ได้ออกรบในสงคราม แต่ผู้ได้รับหลายคนกลับถือว่าการได้รับสามเหลี่ยมคว่ำเงินเป็น “ตราแห่งความอัปยศ”[34][35]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 รัฐบาลเชโกสโลวะเกียสั่งให้มีการยึดทรัพย์สิน ยึดสัญชาติ และขับชาวเช็กผู้มีเชื้อสายมาจยาร์หรือผู้พูดภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่ และในเดือนต่อมาชาวเชโกสโลวะเกียผู้พูดภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่ก็ถูกบังคับให้สวมปลอกแขนขาวหรือเหลืองที่มีอักษร “N” (Němec - เยอรมัน) ปลอกแขนสวมมาจนกระทั่งเมื่อเชโกสโลวะเกียขับชาวเยอรมันออกจากประเทศได้ทั้งหมดในปี ค.ศ. 1947

วรรณกรรม

[แก้]

ในงานเขียนคลาสสิกเรื่อง “The Scarlet Letter” (ความหมาย: อักษรสีแดง) โดยนักเขียนชาวอเมริกันนาแธเนียล ฮอว์ธอร์น ที่เขียนในปี ค.ศ. 1850 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมเพียวริตันของบอสตันคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อเฮสเตอร์ พรินน์ตัวเอกของเรื่องถูกนำตัวจากคุกในเมืองโดยมีอักษร “A” สีแดงก่ำติดอยู่กลางหน้าอก อักษร “A” สีแดงเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเฮสเตอร์ไปทำความผิดโดยการมีชู้ ทางการจึงลงโทษให้เป็นเยี่ยงอย่างโดยการติดป้ายประจานความผิด ความตั้งใจเดิมที่จะให้เป็นสัญลักษณ์ของความอัปยศแก่เฮสเตอร์ มาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเรื่องดำเนินต่อไป[36]

มีเดีย

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2008 นิทรรศการสินค้าผู้บริโภคที่ลาสเวกัสออกป้ายสีขาวแก่บล็อกเกอร์ และสีให้แก่ผู้สื่อข่าวและกลุ่มมีเดียอื่น บล็อกเกอร์เรียกว่าป้ายที่ได้รับว่า “ตราขาวแห่งความอัปยศ” [37]

การเมือง

[แก้]

หลังจากการอิมพีชเมนต์ของประธานาธิบดีบิล คลินตันและการได้รับการยกโทษแล้วผู้สื่อข่าวแดน ราเธอร์ก็ทำการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1999 ที่คลินตันให้คำตอบว่า “แต่ผมไม่คิดว่าการออกเสียงในการอิมพีชเมนต์เป็น “ตราแห่งความอัปยศ” อันใหญ่แต่อย่างใด….”[38]

อ้างอิง

[แก้]
  1. stigma. Dictionary.com. The American Heritage Stedman's Medical Dictionary. Houghton Mifflin Company. (accessed: January 13, 2008).
  2. "Jewish History 1250-1259 : 1257 Badge OF Shame (Italy)". The History of the Jewish People. Jewish Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2007-11-06. …the badge of shame was imposed locally and infrequently in Italy until the Bull of Pope Alexander IV enforced it on all papal states.
  3. D'Ancona, Jacob (2003). The City Of Light. New York: Citadel. pp. 23–24. ISBN 0-8065-2463-4. But the wearing of a badge or outward sign — whose effect, intended or otherwise, successful or not, was to shame and to make vulnerable as well as to distinguish the wearer…
  4. Feinsilber, Mike; Webber, Elizabeth (1999). Merriam-Webster's dictionary of allusions. Springfield, Mass: Merriam-Webster. p. 95. ISBN 0-87779-628-9. As the term [mark of Cain] is used today, the idea of a protective mark has been lost; only the negative sense of a mark of shame or criminality remains.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. R. Swinburne Clymer. Rosicrucian Fraternity in America. Kessinger Publishing, LLC. p. 207. ISBN 0-7661-3019-3. Did we not say that when Mr. Lewis wrote his first history of A.M.O.R.C. that he also wrote his confession, placing on it the badge of shame—the mark of Cain—that revealed its real purpose and spurious nature?
  6. Clayton Kendall (2007). What Really Happened in the Garden of Eden?: And Rebuttal To: Eve, Did She or Didn't She?. New York: Vantage Press. p. 122. ISBN 0-533-15291-7. In light of this horror, some of the more ardent rulers and princes of this 'Christian' church related this [yellow] badge of shame to the mark of Cain as Christ killers…
  7. Maclean, Marie (1994). "9. 'Better to reign in Hell…'". The name of the mother: writing illegitimacy. New York: Routledge. p. 164. doi:10.2307/3734056. ISBN 0-415-10686-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2009-08-01. The work of Jean Genet, poet, playwright and novelist (1910-86) and Violette Leduc, innovator in prose narrative (1907-72) reverts to the ancient traditions of bastardy as excess, a badge of shame and evil, a latter-day mark of Cain, which at the same time distinguishes the bastard from the herd and confers a sort of perverse and even grandiose power.
  8. Hinshaw, S. (2006). Mark of Shame: Stigma of Mental Illness and an Agenda for Change. Oxford: Oxford University Press, Incorporated. ISBN 978-0-19-530844-0.
  9. Trexler, Richard C. (1995). Sex and conquest: gendered violence, political order, and the European conquest of the Americas. Ithaca, N.Y: Cornell University Press. ISBN 0-8014-8482-0. Other sexual punishments left a temporary mark of shame on the body. Perhaps the most important of these was depilation, especially the burning off of anal and pubic hair.
  10. Winterman, Denise (2007-02-20). "Mark of a woman". BBC News Magazine. สืบค้นเมื่อ 2007-11-06. Historically a shaven head has also always had meaning - and in a woman's case, mostly negative. It has been used as a badge of shame, often linked to sexual promiscuity.
  11. Eva Simonsen; Kjersti Ericsson (2005). Children of World War II: The Hidden Enemy Legacy. Oxford, UK: Berg Publishers. p. 157. ISBN 1-84520-207-4. After the Occupation, Dutch women and girls who had consorted with the Germans were accused of treason. It was known before the war was over that they would be punished by having their heads shaved.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. "BBC - h2g2 - Youth Resistance in Wartime Germany". BBC. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12.
  13. McGinn, Thomas A. (1998). Prostitution, sexuality, and the law in ancient Rome. Oxford [Oxfordshire]: Oxford University Press. p. 340. ISBN 0-19-508785-2. …through conviction under the law was cast as a prostitute, most visibly through imposition of the label of the toga, the prostitute's badge of shame.
  14. Flannery, Edward H. (2004). The Anguish of the Jews: Twenty-Three Centuries of Antisemitism (Stimulus Books). New York, NY: Paulist Press. p. 103. ISBN 0-8091-4324-0.
  15. Adams, Maurianne (2000). Readings for diversity and social justice. New York: Routledge. p. 147. ISBN 0-415-92633-5. Pope Innocent III, the most power of the medieval popes, presided over the fourth Lateran Council in 1215 and had the bishops decree that non-Christians must wear distinctive garments.
  16. Halsall, Paul (Feb 1996). "Lateran IV: Canon 68 - on Jews". Medieval Sourcebook. Fordham University. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12. …we decree that such Jews … shall be marked off in the eyes of the public from other peoples through the character of their dress…
  17. Gilmore, George C.; Jackson, Samuel Macauley; Sherman, Charles Neil. "Israel, History of". Volume VI: Innocents-Liudger. The New Schaff-Herzog Encyclopedia Of Religious Thought. Kessinger Publishing, LLC. p. 59. ISBN 1-4286-3180-1. In 1269 Louis IX. required all Jews to wear a badge of yellow on breast and back…{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Jacques Le Goff (2006). The Birth of Europe (Making of Europe). Wiley-Blackwell. p. 85. ISBN 1-4051-5682-1. Most secular governments chose to ignore that decision, although in 1269, at the end of his life, Saint Louis was obliged, apparently against his will, to observe it.
  19. Duffy, Eamon (2006). "What About the Inquisition?". Faith Of Our Fathers: Reflections On Catholic Traditions (Continuum Icons). Continuum International Publishing Group. p. 159. ISBN 0-8264-7665-1. Suspects found guilty of heresy had ecclesiastical penances imposed on them, which might include the wearing of a badge of shame.
  20. 20.0 20.1 Howard, George P. A History of Matrimonial Institutions: Chiefly in England and the United States, With an Introductory Analysis of the Literature and the Theories of. Fred B Rothman & Co. pp. 169–178. ISBN 0-8377-2180-6.
  21. Pratt, John Clark (2002). Punishment and civilization: penal tolerance and intolerance in modern society. Thousand Oaks, Calif: Sage. p. 76. ISBN 0-7619-4753-1. The distinctive prison stripes were abolished in 1904. …stripes had come to be looked upon as a badge of shame and were a constant humiliation and irritant to many prisoners' (Report of the New York (State) Prison Department, 1904: 22)
  22. Sayer, Dr. Melissa (2007-06-17). "Tattoos : AKA: Getting inked". The Surgery. BBC. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13. For thousands of years, people have been getting tattoos.… Others were branded a criminal or slave with tattoos.
  23. 23.0 23.1 23.2 Andrews, William L. (2006). Bygone Punishments. Kessinger Publishing, LLC. p. 138. ISBN 1-4254-9141-3. In the reign of Edward VI. was passed the famous Statute of Vagabonds, authorising the branding with hot iron
  24. Abdullah, Syed, MD (Mar 2001). "Wiiliam Chester Minor, M.D.: The Brilliance of a Tortured Mind" (PDF). The Synapse. West Hudson Psychiatric Society branch of the American Psychiatric Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-03-26. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13. The branding was sometimes done over the cheek so that the would be deserter carried a visible mark of shame on his face forever.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  25. Bulliet, Richard W. (2005). Hunters, herders, and hamburgers: the past and future of human-animal relationships. New York: Columbia University Press. pp. 169. ISBN 0-231-13076-7. In old-fashioned schoolrooms in France, teachers made misbehaving students sit in the corner wearing a sign saying Âne, or ass, and a cap with donkey's ears … Their naughty British and American counterparts wore a tall conical dunce cap, a term probably borrowed from French "cap d'âne." which means "ass's head.
  26. Walker, Barbara G. (1988). The woman's dictionary of symbols and sacred objects. San Francisco: Harper & Row. p. 83. ISBN 0-06-250923-3. …the "dunce cap" placed as a badge of shame on the heads of children who had failed to leam their lessons.
  27. Bradshaw, John L. (1988). Healing the shame that binds you. Deerfield Beach, Fla: Health Communications. pp. 61. ISBN 0-932194-86-9. Sitting in the corner with a dunce cap on is a common association with schooldays. Even though most modem forms of education no longer use dunce caps…
  28. 28.0 28.1 Hayes, Peter (1991). Lessons and legacies. Evanston, Ill: Northwestern University Press. ISBN 0-8101-1666-9. The 1947 plaque, which simply names the victims and the event, depicts a row of triangle badges, which had been used in the concentration camps to designate categories of prisoners according to the reason for their imprisonment. This badge of shame, which was unmistakably linked to the Nazi camps, was now used as a badge of honor.
  29. Seifert, D. (2003). "Between Silence and License: The Representation of the National Socialist Persecution of Homosexuality in Anglo-American Fiction and Film". History & Memory. 15 (2): 94–129. doi:10.1353/ham.2003.0012. สืบค้นเมื่อ 2007-11-11. …the pink triangle, which had been the designation for concentration camp inmates incarcerated under Paragraph 175 of the German Penal Code, became one of the most widespread symbols of the new gay liberation movement.
  30. "Star of David". The University of Rochester. 2005-04-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-22. สืบค้นเมื่อ 2007-11-10. The Star of David was used by the Nazis as a "badge of shame" every Jew had to wear prior to deportation and mass murder. Expressing the feelings of hope and re-assurance, the State of Israel in 1948 placed the sign on its flag.
  31. Bulka, Reuven P. (2002). Modern folk Judaism: the reality and the challenge. New York: Ktav Publishing House. pp. 47. ISBN 0-88125-783-4. The Star of David, imprinted on the flag of Israel,… The Nazis made it a badge of shame, and we reestablished it as a badge of honor.
  32. Trepp, Leo (2001). A history of the Jewish experience: Book 1, Torah and history: Book 2, Torah, mitzvot, and Jewish thought. New York: Behrman House. pp. 508. ISBN 0-87441-672-8. Intended to be the Jews' badge of shame, the Jews transformed it into a badge of honor and affirmation. It has acquired a new significance and flows proudly as the flag of Israel.
  33. Ma, Sheng-mei (2000). The deathly embrace: orientalism and Asian American identity. Minneapolis: University of Minnesota Press. pp. xvi. ISBN 0-8166-3711-3. In a different context, the Star of David, once used by the Nazis to signal vermin to be exterminated, adorns the national flag of Israel.
  34. Keene, Jennifer D. (2001). Doughboys, the Great War, and the remaking of America. Baltimore: Johns Hopkins University Press. pp. 59. ISBN 0-8018-7446-7. After the war, the War Department awarded silver chevrons for each six months of army service in the United States. The silver chevron intended to recognize honorable stateside service, became instead a badge of shame to those who wore it.
  35. Keene, Jennifer D. (2006). World War I (The Greenwood Press Daily Life Through History Series). Westport, Conn: Greenwood Press. pp. 131. ISBN 0-313-33181-2. Soldiers who never made it overseas were eventually given silver chevrons, which many saw as a badge of shame. In a poem published by The Stars and Stripes, one soldier imagined the ideal homecoming for a soldier with a silver chevron: 'But, my darling, don't you bleat. No one thinks you had cold feet; You had to do as you were told; Silver stripes instead of gold.'
  36. Bercovitch, Sacvan (1988). "The A-Politics of Ambiguity in The Scarlet Letter". New Literary History. 19 (3): 629–654. doi:10.2307/469093. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  37. "Hot Badges Of Shame: CES Separates the Wheat From the Chaff with Blogger and Press Badges". Gizmodo. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12. High drama at CES! Instead of all of us being united under the umbrella of "press," some of us were arbitrarily deemed "bloggers" and others "press." … We refer to [this] badge as the "white badge of shame."[ลิงก์เสีย]
  38. Woodward, Bob (2000). Shadow: Five Presidents and the Legacy of Watergate. New York: Simon & Schuster. pp. 516. ISBN 0-684-87057-6.

ดูเพิ่ม

[แก้]