ดินแดนมอนเตเนโกรที่ถูกเยอรมนียึดครอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดินแดนมอนเตเนโกรที่ถูกเยอรมนียึดครอง
ส่วนหนึ่งของการยึดครองยูโกสลาเวียโดยเยอรมนี
การยึดครองและการแบ่งยูโกสลาเวียภายหลังการยอมจำนนของอิตาลีในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 การยึดครองอดีตเขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกรของอิตาลีจะแสดงเป็นสีเทาบริเวณชายฝั่งตอนใต้
การยึดครองและการแบ่งยูโกสลาเวียภายหลังการยอมจำนนของอิตาลีในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 การยึดครองอดีตเขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกรของอิตาลีจะแสดงเป็นสีเทาบริเวณชายฝั่งตอนใต้
ประเทศ ยูโกสลาเวีย
เยอรมนียึดครอง12 กันยายน ค.ศ. 1943
เยอรมนีถอนทัพ15 ธันวาคม ค.ศ. 1944

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พื้นที่ของราชอาณาจักรยูโกสลาเวียที่ก่อนหน้านี้อยู่ในการยึดครองในฐานะเขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกรของอิตาลี ได้ถูกกองทัพเนอรมันเช้ายึดครองภายหลังการสงบศึกกัสซีบีเลในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 ซึ่งราชอาณาจักรอิตาลียอมจำนนและเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อกองทัพอิตาลีถอนกำลังพลออกจากมอนเตเนโกรและแอลเบเนีย กองทัพเยอรมันจึงเข้ายึดครองมอนเตเนโกรโดยทันที เช่นเดียวกับแอลเบเนีย ดินแดนเหล่านี้ยังคงอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมนีต่อไปจนกระทั่งเยอรมนีและไส้ศึกท้องถิ่นจำนวนมากถอนตัวในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944[1]

หลังจากการยอมจำนนของอิตาลีได้ไม่นานนัก กองทัพเยอรมันจึงเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของอดีตเขตผู้ว่าราชการโดยทันที ยกเว้นบางพื้นที่ที่อยู่ในการควบคุมของพลพรรคยูโกสลาเวีย ดินแดนที่ถูกยึดครองนี้อยู่ในการบริหารภายใต้การบัญชาการภาคพื้นที่ (Feldkommandtur) หมายเลข 1040 ซึ่งมีผู้บัญชาการคือ พลตรี วิลเฮ็ล์ม ไคเพอร์ กระทั่งฤดูใบไม้ผลิใน ค.ศ. 1944 การบัญชาการภาคพื้นที่ของไคเพอร์ได้รับการโอนใหักับกองบัญชาการระดับสูงขึ้น โดยในครั้งแรกอยู่ในการดูแลของนายพลเยอรมันที่ประจำการในแอลเบเนีย ต่อมาจึงเป็นกองพลภูเขาเฟา เอ็สเอ็ส และจากนั้นเป็นกองทัพยานเกราะที่ 2 หลังจากนั้นก็ได้รับการยกระดับขึ้นเป็นการบัญชาการโดยอิสระ และไคเพอร์อยู่ในการดูแลโดยตรงของอเล็คซันเดอร์ เลอร์ ผู้บัญชาการทหารประจำยุโรปตะวันออกเฉียงใต้[2] ไคเพอร์ดำเนินการบริหารพื้นที่โดยใช้แนวทางที่คล้ายคลึงกันกับอิตาลีที่เป็นเจ้าของก่อนหน้านี้ และพยายามสร้างความช่วยเหลือจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวมอนเตเนโกร หรือที่รู้จักกันในชื่อ กลุ่มเขียว ซึ่งเป็นเชทนิกส์ที่เป็นพันธมิตรกับมิลัน เนดิช ผู้นำรัฐบาลหุ่นเชิดในเขตผู้บัญชาการทหารแห่งเซอร์เบีย แต่ไม่ใช่กับผู้นําสูงสุดของเชทนิกส์อย่างดราฌา มิฮาอิลอวิช หรือแม้กระทั่งกลุ่มมุสลิมซันจัก ไคเพอร์ได้จัดตั้งสภาการบริหารแห่งชาติขึ้นในเดือนตุลาคม เพื่อช่วยในเรื่องการบริหารดินแดน โดยมีลูบอมีร์ วุกซานอวิช เป็นประธาน สภาประสบความล้มเหลวในความพยายามต่อรองอำนาจกับไคเพอร์ และถูกประณามอย่างรุนแรงว่าเป็นเพียงเครื่องมือในระบอบการยึดครองของเขาเท่านั้น บทบาทหลักของสภาคือการรักษาความปลอดภัยของการนําเข้าเสบียงอาหารด้วยความช่วยเหลือจากเยอรมนี เนดิชแสดงท่าทีเต็มใจที่จะส่งเสบียงอาหาร 900 ตัน (890 ลองตัน; 990 ช็อตตัน) ให้เป็นประจำทุกเดือน แต่สภาต้องการก็ยังจำเป็นต้องรับความช่วยเหลือจากเยอรมนีในการขนส่ง แต่ท้ายที่สุดแล้ว มีเพียงเสบียงอาหาร 250–300 ตัน (250–300 ลองตัน; 280–330 ช็อตตัน) เท่านั้น ที่ได้รับการนำเข้าต่อเดือน ซึ่งคิดเป็นแค่ 20% ของจํานวนเงินที่อิตาลีนําเข้าระหว่างการยึดครอง โดยผลลัพธ์ที่ได้คือประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ของดินแดนที่ถูกยึดครองแทบจะอดอยากในช่วงระยะเวลาของการบริหารของเยอรมนี[2]

เยอรมนีได้ขอความช่วยเหลือจากกองทหารรักษาการณ์ท้องถิ่น กลุ่มติดอาวุธ และเชทนิกส์บางส่วน สำหรับความพยายามควบคุมพื้นที่ยึดครอง แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้นจากพลพรรคยูโกสลาเวีย ต่อมาไคเพอร์จึงเลือก Pavle Đurišić ผู้นำเชทนิกส์ชาวมอนเตเนโกร ให้เข้ามาช่วยเหลือเขาอย่างไม่เต็มใจมากนัก โดย Đurišić ผู้นี้เคยถูกเยอรมนีจับกุมในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 แต่ต่อมาก็ได้หลบหนีมายังเบลเกรด และได้รับการยอมรับในฐานะพันธมิตรจากเยอรมนีและเนดิช เนดิชได้แต่งตั้ง Đurišić ให้เป็นผู้บัญชาการกองพลอาสาสมัครมอนเตเนโกรด้วยความเห็นชอบจากเยอรมนี และส่งเขาและกองพลไปช่วยเหลือไคเพอร์ การสงวนท่าทีของเยอรมนีเกิดขึ้นจากการจงรักภักดีที่แตกแยกของ Đurišić's กล่าวคือเขายังต้องพึ่งพาเยอรมนีในการสนับสนุนด้านลอจิสติกส์ แต่ก็ยังคงเป็นหนี้ความจงรักภักดีต่อเนดิชกับมิฮาอิลอวิชด้วย[3]

เยอรมนีถอนกำลังพลออกจากดินแดนยึดครอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการถอนทัพออกจากคาบสมุทรบอลข่านเพื่อไปยังพรมแดนของไรช์ที่สาม Đurišić เดินทางไปพร้อมกับกองทัพเยอรมันจนถึงบอสเนียตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มของมิฮาอิลอวิช แต่หลังจากที่เขาตระหนักว่ามิฮาอิลอวิชไม่มีแผนที่จะช่วยกองกําลังเชทนิกส์ที่เหลืออยู่ Đurišić ก็ทิ้งความช่วยเหลือต่อมิฮาอิลอวิชและพยายามเข้าร่วมกับกองกําลังไส้ศึกอื่น ๆ ที่รวมตัวกันอยู่ที่ยูโกสลาเวียตะวันตก เขาและกองพลของเขาถูกสกัดกั้นโดยกองกําลังของรัฐเอกราชโครเอเชียที่เหนือกว่า และท้ายที่สุด Đurišić จึงถูกจับกุมและประหารชีวิต กองทหารของเขาจํานวนมากถูกสังหารโดยกองกําลังโครเอเชียหรือไม่ก็กองกำลังพลพรรค[4]

หลังจากที่เยอรมนีถอนทัพออกจากดินแดนที่ถูกยึดครองไปยังออสเตรีย เซกูลา ดราลีเยวิช นักการเมืองฟาสซิสต์ ได้พยายามก่อตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในรัฐเอกราชโครเอเชียที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นรัฐกึ่งอารักดินแดนของเยอรมนี ดราลีเยวิชยังได้จัดตั้งกองทัพแห่งชาติมอนเตเนโกร ซึ่งเป็นกําลังทหารที่จัดตั้งขึ้นโดยเขาและอานเต ปาเวลิช ผู้นําฟาสซิสต์ชาวโครเอเชีย อย่างไรก็ตาม รัฐพลัดถิ่นของเขา หรือที่รู้จักกันในชื่อ "สภาแห่งรัฐมอนเตเนโกร" (Montenegrin State Council) ถูกยุบเลิกจากการล่มสลายของรัฐบาลหุ่นเชิดโครเอเชีย

ดินแดนนี้อยู่ในการยึดครองโดยพลพรรคยูโกสลาเวียของยอซีป บรอซ ตีโต และกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์ประชาธิปไตยยูโกสลาเวีย

อ้างอิง[แก้]

  1. Tomasevich 2001, pp. 138–148.
  2. 2.0 2.1 Tomasevich 2001, p. 147.
  3. Tomasevich 2001, pp. 147–148.
  4. Tomasevich 2001, p. 148.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Roberts, Walter R. (1987). Tito, Mihailović and the Allies: 1941–1945. New Brunswick, New Jersey: Duke University Press. ISBN 978-0-8223-0773-0.
  • Tomasevich, Jozo (1975). War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: The Chetniks. Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-0857-9.
  • Tomasevich, Jozo (2001). War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: Occupation and Collaboration. Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-3615-2.