ซุคฮอย ซู-34
ซุคฮอย ซู-34 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด |
ชาติกำเนิด | รัสเซีย |
บริษัทผู้ผลิต | ซุคฮอย |
สถานะ | อยู่ในการผลิตและประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | กองทัพอากาศรัสเซีย |
จำนวนที่ผลิต | 59 ( 15 ตุลาคม 2014 ) ลำ[1][2] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน |
เริ่มใช้งาน | 4 มกราคม พ.ศ. 2550[3] |
เที่ยวบินแรก | 13 เมษายน พ.ศ. 2533 |
พัฒนาจาก | ซุคฮอย ซู-27 |
ซุคฮอย ซู-34 (อังกฤษ: Sukhoi Su-34, Fullback, รัสเซีย: Сухой Су-34) (รุ่นส่งออกจะใช้ชื่อซู-32, นาโต้เรียกมันว่าฟุลแบ็ค) เป็นเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดแบบสองที่นั่งของรัสเซีย มันถูกใช้เพื่อเข้ามาแทนที่ซุคฮอย ซู-24 Su-34 ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานด้านยุทธวิธีอากาศสู่พื้นดินและเป้าหมายทางเรือ รวมถึงเป้าหมายขนาดเล็ก สามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งในเวลากลางวันและเวลากลางคืน บินได้ทุกสภาพอากาศ
การพัฒนา
[แก้]มันเป็นเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดจากแบบซู-27 แฟลงเกอร์ ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2523 สำหรับสหภาพโซเวียต (ทางซุคฮอยเรียกมันว่างที-10วี) มันทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2533 และเดิมทีมีชื่อว่าซู-27ไอบี (ไอบีย่อมาจาก Istrebitel Bombardirovshchik / แปลว่า เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด)[4] มันถูกสร้างขึ้นเทียบกับรุ่นสำหรับฝึกแบบสองที่นั่งของซู-27เคยูบี (เคยูบีย่อมาจาก Korabelnyy Uchebno-Boyevoy, แปลว่า เครื่องบินสำหรับฝึกในกองทัพเรือ) ถึงแม้ว่าไม่เหมือนกับที่รายงานเอาไว้ก่อนหน้า เครื่องบินทั้งสองนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรง[5]
ด้วยข้อกำหนดของทุนทำให้โครงการหยุดกลางคันหลายครั้ง และทำให้เครื่องบินต้นแบบถูกจัดแสดงในที่สาธารณะภายใต้บทบาทและชื่อมากมาย เมื่อการบรรยายครั้งแรกของทางการรัสเซียเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2537 มันก็ถูกบรรยายว่าเป็นซู-34 เครื่องบินที่ผลิตก่อนลำที่สามถูกนำไปแสดงที่งานแสดงในปารีสเมื่อปีพ.ศ. 2538 ด้วยชื่อซู-34เอฟเอ็น (เอฟเอ็นหมายถึง เครื่องบินขับไล่ (fighter) กองทัพเรือ (navy)) ถูกบรรยายว่าเป็นเครื่องบินที่ทำการในฐานที่ติดกับชายฝั่ง และมันถูกจัดแสดงด้วยชื่อซู-34เอ็มเอฟ (เอ็มเอฟย่อมาจาก MnogoFunksionalniy, แปลว่า หลากหลายบทบาท) ที่งานเอ็มเอเคเอสเมื่อปีพ.ศ. 2542 กองทัพอากาศรัสเซียได้รายงานการใช้ชื่อล่าสุดว่าเป็นซู-34
เครื่องบินมีโครงสร้างปีก หาง และเครื่องยนต์แบบเดียวกับซู-27/ซู-30 แฟลงเกอร์ พร้อมกับบางส่วนของซู-30/ซู-33 แฟลงเกอร์-ดี/ซู-35 แฟลงเกอร์เอฟที่เพิ่มความมั่นคงและเพื่อลดแรกฉุด เครื่องบินมีส่วนจมูกใหม่ทั้งหมดและลำตัวด้านหน้าที่มีห้องนักบินที่นั่งแบบหน้ากระดานสองที่นั่ง ซู-34 มีเครื่องยนต์ของซู-27 แต่มีส่วนรับอากาศที่ตายตัวและความเร็วสูงสุดที่จำกัดไว้ 1.8 มัค
การจัดซื้อ
[แก้]ปัจจุบันมีเพียงแบบที่สร้างก่อนการผลิตเท่านั้นที่ถูกสร้างออกมา ในพ.ศ. 2547 ซุคฮอยได้ประกาศว่าจะมีการผลิตอัตราต่ำและเครื่องบินจะได้เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2551 อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนายังคงดำเนินต่อไปเพื่อรักษาซู-24 เฟนเซอร์เอาไว้ เมื่อซู-34 จะยังไม่เข้าประจำการในเร็วๆ นี้
ในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2549 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของรัสเซีย เซียร์เกย์ อีวานอฟได้ประกาศว่ารัฐบาลได้ซื้อซู-34 เพียงสองลำซึ่งจะส่งในปีพ.ศ. 2549 และได้วางแผนที่จะมีซู-34 จำนวน 44 ลำในประจำการเมื่อถึงปีพ.ศ. 2553 เครื่องบินทั้งหมด 200 ลำจะถูกซื้อในปีพ.ศ. 2558 เพื่อเข้าแทนที่ซู-24[6] ซึ่งอยู่ในการพัฒนาให้ทันสมัยเพื่อยืดอายุการใช้งาน ไอวานอฟอ้างว่านั่นเป็นเพราะเครื่องบิน"มีดีกว่าหลายเท่าในปัจจัยทั้งหมด" กองทัพรัสเซียจะต้องการเครื่องบินทิ้งระเบิดใหม่นี้น้อยกว่าซู-24
ในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2549 ไอวานอฟได้ประมาณการว่ามีซู-34 จำนวน 200 ลำที่จะเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2563[7] สิ่งนี้ถูกยืนยันโดยหัวหน้ากองทัพอากาศวลาดิเมีย มิกเฮลลอฟเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2550[8]
ซู-34 สองลำถูกส่งเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2550 และอีกหกลำจะถูกส่งเมื่อสิ้นสุดปี[3] เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551 ซุคฮอยได้รายงานว่าซู-34 ได้เริ่มผลิตอย่างเต็มอัตราแล้ว รัสเซียวางแผนที่จะมีซู-34 จำนวน 24 ลำในประจำการเมื่อถึงปลายปีพ.ศ. 2553 พร้อมทั้งหมด 70 ลำที่จะซื้อในปีพ.ศ. 2558[6][9]
การออกแบบ
[แก้]ห้องนักบินและระบบอิเลคทรอนิกอากาศ
[แก้]มันไม่เหมือนกับซู-27 รุ่นก่อนหน้า ซู-34 นั้นมีห้องนักบินแบบกระจกที่ทันสมัย มันมีจอแสดงผลสีแบบซีอาร์ที ระบบอิเลคทรอนิกอากาศของมันในปัจจุบันจะมีเรดาร์วี004 ของเลนิเน็ทส์ และระบบเลเซอร์/โทรทัศน์แบบยูโอเอ็มซี (Urals Optical-Mechanical Plant) สำหรับระบุและนำทางกระสุนนำวิถี เรดาร์ที่ติดตั้งอยู่ด้านหน้าจะรวมเข้ากับเรดาร์วี005 ที่ด้านหลังที่ติดตั้งอยู่ในส่วนหางที่เรียกว่า"สติงเกอร์" ซู-34 มีอุปกรณ์อีเอ็มซี (Electronic countermeasures) หรืออุปกรณ์ป้องกันอิเลคทรอนิก ซึ่งรวมทั้งระบบตรวจับการยิงขีปนาวุธ
ระบบอิเลคทรอนิกอากาศมีคอมพิวเตอร์ บอร์ดความจำ จอแสดงผลลแบบสี และหน่วยประมวลผลกลางที่ออกแบบมาเพื่อบรรจุข้อมูลในตัวเอง พวกมันประกอบด้วยหน่วยคอมพิวเตอร์"อาร์กอน"ขนาดใหญ่พร้อมกับหน่วยประมวลผลที่ถูกโปรแกรมมาเป็นพิเศษ ซึ่งมีช่องแลกเปลี่ยนข้อมูลมามาย โมดูลข้อมูลทั้งหมดถูกควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์กลางซึ่งจะส่งข้อมูลทั้งหมดและทำงานรวมกับข้อมูลของห้องนักบิน การเชื่อมต่อข้อมูลแบบสองทางทำให้สามารถเปลี่ยนแผนหรือการเล็งอาวุธได้ในขณะที่ทำการบิน ในฐานะเครื่องบินจู่โจม ซู-34 จึงมีเรดาร์ตรวจภูมิประเทศ ความสามารถในการหลบหลีกขณะทำความเร็วสูง และการปฏิบัติการในระดับความสูงต่ำ
จุดเด่นสุดของซู-34 คือห้องนักบินที่กว้างผิดปกติ การออกแบบมากมายเกี่ยวกับความสบายของลูกเรือ นักบินทั้งสองจะนั่งข้างกันในห้องขนาดใหญ่ โดยมีนักบินผู้บัญชาการอยู่ทางด้านซ้าย และผู้นำร่องหรือผู้ควบคุมอาวุธอยู่ทางด้านขวา ข้อได้เปรียบของห้องนักบินแบบนี้คือทั้งสองใช้เครื่องมืออุปกรณ์ร่วมกันได้ ซึ่งเพื่อความมีประสิทธิภาพและความสะดวกสบาย เมื่อการทำภารกิจที่ยาวนานต้องการความสบายมันจึงมีการรักษาความดันในเครื่องบินที่มำให้มันสามารถบินได้สูงถึง 32,800 ฟุตโดยที่นักบินไม่ต้องใช้อากาศหายใจ ซึ่งมีไว้เพื่อสถานการณ์ฉุกเฉินและการสู้รบ[10] ลูกเรือจะมีห้องพอที่จะยืนและขยับได้ตลอดการทำภารกิจ[11][12] ช่องว่างระหว่างที่นั่งทำให้พวกเขาสามารถนอนได้หาจำเป็น[10] ห้องน้ำขนาดเล็กและห้องครัวอยู่ที่ด้านหลังที่นั่ง[11][10]
เรดาร์ระยะไกล ระบบตรวจจับ ระบบสื่อสาร และข้อมูลจะอยู่ในที่เดียวกันพร้อมด้วยความจุระยะไกลที่สามารถเติมน้ำมันกลางอากาศได้ มันทำให้ซู-34 สามารถเฝ้าดูและเป็นที่ควบคุมได้ ทำให้มันระบบจัดการการรบอย่างสมบูรณ์
การทำงาน
[แก้]ซู-34 มีที่บรรทุก 12 ตำแหน่งที่จุได้มากถึง 8,000 กิโลกรัม ซึ่งจะรวมอาวุธนำวิถีรุ่นใหม่ของรัสเซียเอาไว้ด้วย มันมีปืนใหญ่จีเอสเอช-30-1 ขนาด 30 ม.ม.เหมือนกับซู/27 และซู-30[13]
ซู-34 ให้ความสะดวกสบายกับลูกเรือเพื่อความมีประสิทธิภาพในการทำภารกิจ นักบินสามารถใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์วิทยุร่วมกัน อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้การทิ้งรเบิดมีความแม่นยำโดยที่จะพลาดก็เพียงไม่กี่เมตรและทำได้ในทุกสภาพอากาศ ระเบิดที่ขนาด 8 เมตตริกตันที่มันบรรทุกซึ่งรวมทั้งขีปนาวุธเหนือเสียงและระเบิดร่อน จะสามารถทำลายเป้าหมายที่ป้องกันหนาแน่นได้ไกลถึง 250 กิโลเมตร เนื่องมาจากการเข้าประจำการพร้อมกับฝูงบินทิ้งระเบิดในเร็วๆ นี้มันจึงมีระบบที่ปลอดภัยพร้อมกับสมองกล ระบบนี้ทำให้เครื่องบินสามารถทำการบินที่อันตรายได้ทั้งความสูงระดับยอดไม้และระดับพื้นดินโดยใช้ความเร็วได้มากสูงสุดที่ 1,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซู-34 ยังสามารถบินตามสภาพภูมิประเทศ ผ่านสิ่งกีดขวาง และแอบเข้าสู่พื้นที่ป้องกันทางอากาศ ลูกเรือจึงสามารถทำการทิ้งระเบิดที่มีประสิทธิภาพ ถอยกลับ ทำลายอาวุธของศัตรู และปลอดภัยจากขีปนาวุธและกระสุนต่อต้านอากาศยานได้
การทำภารกิจของซู-34 จะเริ่มด้วยการวางแผนและนำข้อมูลโอนถ่ายเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์หลักทั้งสองของเครื่องบิน ข้อมูลเชื่อมกับเครื่องบิน สถานีภาคพื้น และเรือบัญชาการที่จะทำการดูแลและเป็นที่ที่มีข้อจำกัดทางสายตาจึงต้องใช้ระบบการสื่อสารด้วยดาวเทียม การอัปเดตภารกิจสามารถส่งผ่านเข้ามาในเครื่องบินเวลาใดก็ได้ขณะทำการบิน ระเบิดมากมายจะถูกใช้ตรงกับความจำเป็นอย่างเช่น ขีปนาวุธร่อนแบบเคเอช-59 โอวอด/เคเอช-59เอ็มอี เคเอช-29 และเคเอช-31 อาวุธต่อต้านเรือแบบเคเอช-35 และขีปนาวุธต่อต้านเรือระยะไกลแบบเคเอช-41
ซู-34 มีถังเชื้อเพลิงภายในขนาดใหญ่สำหรับเที่ยวบินที่ไม่มีการเติมน้ำมันตลอด 4,000 กิโลเมตร ด้วยการเติมเชื้อเพลิงสามครั้งซู-34 จะสามารถบินได้มากกว่า 14,000 กิโลเมตร วิศวกรรมบนเครื่องบินทำให้แน่ใจว่าลูกเรือจะมีข้อมูลมากพอเกี่ยวกับตัวแปรของการบิน สภาพของระบบบนเครื่องบิน และเครื่องยนต์ จุดประสงค์ในอากาศบนพื้น บนพื้นน้ำ และใต้น้ำ เรดาร์จะทำการตรวจจับเกี่ยวกับมุมองศาของภัยคุกคาม ทำให้พวกมันเป็นจุดสำคัญของเครื่องบินลำใหม่นี้ นอกจากนี้ซู-34 ยังมีจุดเด่นที่เรดาร์ที่ด้านหลังทำซึ่งสามารถตรวจจับ ติดตาม และชี้เป้าให้กับขีปนาวุธอากาศสู่อากาศอาร์-73 หรืออาร์-77
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]- สหภาพโซเวียต - อดีตผู้ใช้งาน
- กองทัพอากาศโซเวียต - มีต้นแบบสองลำ มีหนึ่งลำที่สมบูรณ์
- รัสเซีย
- กองทัพอากาศรัสเซีย - มีสิบลำกับอีก 48 ลำในรายการสั่งซื้อ [2]
รายละเอียดของซุคฮอย ซู-34
[แก้]- บริษัทผู้ผลิต ซุคฮอย
- ประเทศผู้ผลิต รัสเซีย
- บทบาท เครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิด
- ลูกเรือ 2 นาย
- ความยาว 23.34 เมตร
- ความยาวจากปลายปีกหนึ่งไปอีกปลายปีกหนึ่ง 14.7 เมตร
- ความสูง 6.09 เมตร
- น้ำหนักพร้อมบรรทุก 39,000 กิโลกรัม
- น้ำหนักพร้อมของจำเป็น 8,000 กิโลกรัม
- น้ำหนักมากสุดตอนนำเครื่องขึ้น 45,100 กิโลกรัม
- ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนไลยูลก้า เอแอล-35เอฟ 2 เครื่องยนต์ ให้แรงขับเครื่องละ 30,845 ปอนด์พร้อมสันดาป
- ความเร็วสูงสุด
- ระดับความสูงสูง 1.8 มัค (1,900 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
- ระดับความสูงต่ำ 1.2 มัค (1,400 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
- รัศมีทำการรบ 1,100 กิโลเมตร
- ระยะขนส่ง 4,000 กิโลเมตร
- เพดานบินทำการ 49ล200 ฟุต
- อัตราน้ำหนักต่อแรงผลัก 0.68
- อาวุธ
- ปืนใหญ่จีเอสเอช-30-1 ขนาด 30 ม.ม.หึ่งกระบอกพร้อมกระสุน 150 นัด
- ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศวิมเปล อาร์-73 ที่ปลายปีกทั้งสองข้าง
ดูเพิ่ม
[แก้]การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกัน
เครื่องบินที่เทียบเท่า
- เซียน เจเอช-7
- เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล
- เอฟ-111 อาร์ดวาร์ค
- พานาเวีย ทอร์นาโด
- ทียู-22เอ็ม แบ็คไฟร์
- ซุคฮอย ซู-24
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.warfare.ru/?linkid=1615&catid=257&lang=
- ↑ 2.0 2.1 "Directory: World Air Forces", Flight International, 11-17 November 2008. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "FI_AirForces_2008" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ 3.0 3.1 "Russia gets first new fighters for 15 years as Sukhoi Su-34 debuts." Karnozov, V. Flight International. 4 มกราคม, พ.ศ. 2550. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "fi_20070104" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ วิลเลี่ยมส์, เมล เอ็ด ซูเปอร์ไฟเตอร์ เครื่องบินรบยุคใหม่, แอร์ไทม์, พ.ศ. 2545, ไอเอสบีเอ็น 1-880588-53-6, หน้า 132-135, 138
- ↑ แอนดริวส์, โธมัส, "ตระกูลซุคฮอย ซู-27/ซู-30," อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ พาวเวอร์ รีวิว, เล่ม 8, พ.ศ. 2546
- ↑ 6.0 6.1 "รัสเซียซื้อเครื่องบินทิ้งระเบิดซู-34" เก็บถาวร 2008-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ยูไนเต็ด เพรสส์ อินเตอร์เนชั่นแนล, 9 มกราคม พ.ศ. 2551
- ↑ "เครื่องบินขับไล่ซู-34 ฟุลแบ็คจะเข้าครองฟ้า", อาร์ไอเอ โนวอสติ (เจ้าหน้าที่ข่าวและข้อมูลของรัสเซีย), 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549
- ↑ "ซู-34 จะเข้าครองฟ้าในเดือนพฤศจิกายน", อาร์ไอเอ โนวอสติ (เจ้าหน้าที่ข่าวและข้อมูลของรัสเซีย, 6 มีนาคม พ.ศ. 2550
- ↑ http://en.rian.ru/russia/20080114/96572867.html
- ↑ 10.0 10.1 10.2 กอร์ดอน, เยฟิม ซุคฮอย ซู-27 แฟลงเกอร์: เครื่องบินขับไล่ครองอากาศ, แอร์ไลฟ์ พับบลิชชิ่ง (พ.ศ. 2542), ไอเอสบีเอ็น 1-84037-029-7
- ↑ 11.0 11.1 สปิค, ไมค์ "เดอะ แฟลงเกอร์", คัมภีร์แห่งเครื่องบินยุคใหม่, หน้า 518-519, เอ็มบีไอ, พ.ศ. 2543, ไอเอสบีเอ็น 0-7603-0893-4.
- ↑ อีเดน, พอล "ซู-27ไอบี, ซู-32เอฟเอ็น และซู-34", สารานุกรมเครื่องบินทางทหารยุคใหม่, หนังสือแอมเบอร์, พ.ศ. 2547, ไอเอสบีเอ็น 1904687849
- ↑ กอร์ดอน พ.ศ. 2549, หน้า 80-81