ชือชื่อฉือชือฉื่อ
ชือชื่อฉือชือฉื่อ | |||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 施氏食獅史 | ||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 施氏食狮史 | ||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "เรื่องท่านชือกินสิงโต" | ||||||||||||||||||||||
|
ชือชื่อฉือชือฉื่อ (จีน: 施氏食獅史; พินอิน: Shī-shì shí shī shǐ) หรือที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า Lion-Eating Poet in the Stone Den (แปลว่า กวีผู้กินสิงโตในถ้ำหิน) เป็นตัวอย่างประโยคที่มีชื่อเสียงในภาษาจีน ผู้แต่งคือจ้าว ยฺเหวียนเหริน ประกอบด้วยตัวอักษร 94 ตัว ทุกตัวออกเสียงว่า ชือ แต่มีเสียงวรรณยุกต์แตกต่างกัน[1]
คำอธิบาย
[แก้]ภาษาจีนมีวรรณยุกต์ การเปลี่ยนเสียงเพียงเล็กน้อยสามารถเปลี่ยนความหมายได้[2] เมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน บทกวีนี้จึงเป็นตัวอย่างการเล่นคำซ้ำ (antanaclasis) ในภาษาจีน[2] บทกวีนี้แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของภาษาจีนในหลายรูปแบบ เช่น คำศัพท์, วากยสัมพันธ์, เครื่องหมายวรรคตอน และโครงสร้างประโยค ซึ่งทำให้เกิดคำอธิบายหลายอย่าง[3] นอกจากนี้ บทกวีนี้เขียนด้วยอักษรจีนคลาสสิก ซึ่งเป็นอักษรที่ไม่ได้ใช้งานนักในชีวิตประจำวัน และมักใช้ในงานเขียนมากกว่าใช้พูด[4]
บทกวีนี้เข้าใจได้ง่ายถ้าเขียนด้วยอักษรจีน เนื่องจากแต่ละตัวอักษรมีความหมายหลักแตกต่างกัน และยังสามารถเข้าใจได้ในสำเนียงต่าง ๆ ของกลุ่มภาษาจีนนอกเหนือจากภาษาจีนกลาง อย่างไรก็ตาม ถ้าเขียนด้วยอักษรโรมันหรือพูดด้วยภาษาจีนกลาง อาจสร้างความสับสนได้[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Behr, Wolfgang (2015). "Discussion 6: G. Sampson, "A Chinese Phonological Enigma": Four Comments". Journal of Chinese Linguistics. 43 (2): 719–732. ISSN 0091-3723. JSTOR 24774984.
- ↑ 2.0 2.1 Forsyth, Mark. (2011). The Etymologicon : a Circular Stroll through the Hidden Connections of the English Language. Cambridge: Icon Books. pp. 62–63. ISBN 9781848313224. OCLC 782875800.
- ↑ Hengxing, He (2018-02-01). "The Discourse Flexibility of Zhao Yuanren [Yuen Ren Chao]'s Homophonic Text". Journal of Chinese Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 46 (1): 149–176. doi:10.1353/jcl.2018.0005. ISSN 2411-3484. S2CID 171902133.
- ↑ 张, 巨龄 (11 January 2015). "赵元任为什么写"施氏食狮史"" [Why Zhao Yuanren wrote Lion-Eating Poet in the Stone Den]. 光明日报. สืบค้นเมื่อ 22 May 2019.
- ↑ 彭, 泽润 (2009). "赵元任的"狮子"不能乱"吃"——文言文可以看不能听的原理" [Zhao Yuanren's "lion" cannot be "eaten": the reasons why Classical Chinese can be read instead of being listened to]. 现代语文:下旬.语言研究 (12): 160. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-21. สืบค้นเมื่อ 2022-02-10.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Three "NOTs" of Hanyu Pinyin has a similar but different text
- 對聯:30. 巧聯妙對
- How to Read a Chinese Poem with Only One Sound has a transcription of the passage in Traditional and Simplified Chinese, as well as a Pinyin transcription and a translation.