ซีเอ็นบีซี
คอนซูเมอร์ นิวส์ แอนด์ บิสซิเนส แชนแนล (Consumer News and Business Channel) หรือ ซีเอ็นบีซี (CNBC) เป็นเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิลที่เสนอข่าวสารเกี่ยวกับตลาดหุ้นทั่วโลก ตลอด 24 ชั่วโมง สังกัด บรรษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นออกอากาศเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2532 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองรัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันซีเอ็นบีซีบริหารงานโดยเอ็นบีซียูนิเวอร์แซล ในเครือของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี ของสหรัฐอเมริกา
สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซีในภาคพื้นทวีป
[แก้]ช่องรายการของซีเอ็นบีซีในสหรัฐอเมริกา จะส่งสัญญาณไปยังประเทศแคนาดาและประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่สำหรับช่องรายการของซีเอ็นบีซีที่ออกอากาศทั่วโลก จะมีสถานีในภาคพื้นทวีปแต่ละทวีปนั้น ๆ ได้แก่
- ซีเอ็นบีซี ยุโรป (CNBC Europe) - ทวีปยุโรป
- Class CNBC - ประเทศอิตาลี
- CNBC-e - ประเทศตุรกี
- CNBC Arabiya - กลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง
- CNBC Nordic - กลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย
- CNBC Pakistan - ประเทศปากีสถาน
- Nikkei CNBC - ประเทศญี่ปุ่น
- CNBC-TV18 - ประเทศอินเดีย (ภาษาอังกฤษ)
- CNBC Awaaz - ประเทศอินเดีย (ภาษาฮินดี)
- CNBC Australia - ประเทศออสเตรเลีย
- CNBC Hong Kong - ฮ่องกง
- CNBC Singapore - ประเทศสิงคโปร์
- SBS CNBC (SOUTH KOREA)
- CNBC Indonesia - ประเทศอินโดนีเซีย
- CNBC ASIA - ประเทศไทย
- ซีเอ็นบีซี เวิลด์ (CNBC World)
- ซีเอ็นบีซี แอฟริกา (CNBC Africa) - ทวีปแอฟริกา (เริ่มออกอากาศเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550)
สโสแกน
[แก้]- "First in Business, First in Talk" (พ.ศ. 2538)
- "Profit From It" (พ.ศ. 2541 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545)
- "Business for the New World" (ตั้งแต่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 - กลางปี พ.ศ. 2545)
- "Make It Your Business" (กลางปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547)
- "The World Leader in Business News" (พ.ศ. 2547 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
- "First in Business Worldwide" (12 มิถุนายน พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน)
ในประเทศไทย
[แก้]ซีเอ็นบีซีในประเทศไทย (ซึ่งเป็นสัญญาณจาก ซีเอ็นบีซีเอเชีย ส่งสัญญาณจากประเทศสิงคโปร์) นั้นสามารถรับชมผ่านกล่องดาวเทียมทรูวิชั่นส์ ช่อง 781
ในประเทศไทย บริษัท เจเคเอ็น นิวส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกในเครือเจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย (ปัจจุบันคือเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป) ได้รับลิขสิทธิ์ในการผลิตรายการภายใต้ตราสินค้าของซีเอ็นบีซีเอง ภายใต้ตราสินค้า "JKN-CNBC" โดยรายการแรกที่ผลิตออกอากาศ คือรายการ "First Class Thailand" ออกอากาศทาง ช่อง 3 เอสดี
ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 JKN-CNBC ได้เริ่มออกอากาศรายการข่าวของซีเอ็นบีซีในภาคภาษาไทยเป็นครั้งแรก ทางช่องจีเอ็มเอ็ม 25[1] แต่ออกอากาศได้เพียง 2-3 เดือนก็ต้องถอนรายการทั้งหมดออก เนื่องจากฐานผู้ชมไม่เหมาะสมกับช่อง โดยเริ่มจากในเดือนกันยายน ได้ปรับเปลี่ยนข่าวเที่ยงและข่าวเย็นของซีเอ็นบีซีเป็นรายการข่าวทั่วไปของเจเคเอ็น นิวส์[2] และในเดือนตุลาคม ได้ยุติการออกอากาศข่าวเที่ยงและข่าวเย็นของเจเคเอ็น นิวส์ โดยให้ทีมข่าวของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 กลับมาผลิตข่าวเที่ยงและข่าวเย็นแทน โดยปรับเปลี่ยนข่าวเช้าของซีเอ็นบีซีเป็นรายการข่าวทั่วไปของเจเคเอ็น นิวส์ แทน[3] แต่ยังมีการผลิตข่าวภายใต้ตราสินค้า "JKN-CNBC" อยู่ในสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลช่องอื่น ๆ และเฟซบุ๊กของ JKN-CNBC รวมถึงช่วงข่าวต่างประเทศในข่าวเที่ยงและข่าวเย็นของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 อีกด้วย
ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563 บริษัท เจเคเอ็น นิวส์ จำกัด ได้เปิดช่อง JKN-CNBC อย่างเป็นทางการ ภายใต้สโลแกน "ช่องข่าวเศรษฐกิจช่องใหม่ของคุณ" โดยทดลองออกอากาศสารคดี รายการข่าว และรายการขายสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.jkncnbc.com เก็บถาวร 2020-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เป็นช่องทางแรก โดยได้นำรายการข่าวของซีเอ็นบีซีที่ยุติออกอากาศจากช่องจีเอ็มเอ็ม 25 รวมถึงข่าวต่างประเทศที่กำลังออกอากาศในช่วงข่าวเที่ยงและข่าวเย็นของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 มาออกอากาศทางช่อง JKN-CNBC แทน[4]
สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ของ JKN-CNBC ยุติออกอากาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ รายการข่าวของซีเอ็นบีซีในภาคภาษาไทยได้ย้ายไปออกอากาศทางช่องเจเคเอ็นทีวี และเจเคเอ็น 18 ตามลำดับ ก่อนจะกลับมาเปิดสถานีอีกครั้งภายใต้สโลแกน "Capitalize on it ลงทุนเพื่อชีวิตที่มั่งคั่ง" โดยมีรัชชพล เหล่าวานิช เป็นบรรณาธิการบริหาร เริ่มออกอากาศสดผ่านเฟซบุ๊กเพจ JKN-CNBC ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 และมีแผนที่จะออกอากาศบนเอไอเอส เพลย์ ในอนาคตอีกด้วย[5] อย่างไรก็ตาม สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ของ JKN-CNBC ได้ยุติออกอากาศอีกครั้งเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566 พร้อมกับการปิดตัวฝ่ายข่าวของเจเคเอ็น 18 เนื่องจากมีข้อตกลงในการผลิตรายการข่าวร่วมกันระหว่างเจเคเอ็น 18 กับท็อปนิวส์ ทำให้เจเคเอ็นเลิกจ้างพนักงานกองบรรณาธิการ และทีมเทคนิคสตูดิโอ ประมาณ 50-60 คน โดยยินยอมจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย และเพิ่มเงินเลิกจ้างกระทันหัน 1 เดือน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มติชน (4 มิถุนายน 2562). "JKN News จับมือ GMM25 ดึงรายการข่าวระดับโลกเข้าไทย หวังพลิกโฉมวงการข่าวประเทศไทย". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สยามรัฐ (2 กันยายน 2562). "JKN News ปรับโฉมรายการข่าวช่อง GMM25 ดึงอินฟลูเอนเซอร์ชั้นนำของไทยร่วมสร้างสีสันในรายการ หวังขยายฐานกลุ่มผู้ชม". siamrath.co.th. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ THE STANDARD (3 ตุลาคม 2562). "3 รายการข่าวภายใต้แบรนด์ JKN-CNBC ลาจอ GMM25 …จากไปเพื่อกลับมา?". thestandard.co. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ผู้จัดการออนไลน์ (6 มกราคม 2563). "JKN-CNBC ขยายแพลตฟอร์มเสนอข่าวเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุนผ่านช่องทางออนไลน์". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เจ้าของสถานีข่าวเศรษฐกิจแห่งแรกของไทย JKN-CNBC จับมือ AIS PLAY นำเสนอรายการด้านการลงทุนเพื่อชีวิตที่มั่งคั่งให้คนไทย". RYT9. 2022-05-17. สืบค้นเมื่อ 2022-06-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)