ซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี
ซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี | |
---|---|
ผู้พัฒนา | ฟิราซิสเกมส์ |
ผู้จัดจำหน่าย | วินโดวส์
|
กำกับ | ซิด ไมเออร์ |
ออกแบบ | Brian Reynolds, Michael Ely, Bing Gordon, Sid Meier |
แต่งเพลง | Jeffery L. Briggs, David Evans |
ชุด | ซิวิไลเซชัน |
เครื่องเล่น | ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอส, ลินุกซ์ |
วางจำหน่าย | |
แนว | 4X, วางแผนการรบประเภททีละรอบ |
รูปแบบ | ผู้เล่นคนเดียว, หลายผู้เล่น |
ซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี (อังกฤษ: Sid Meier's Alpha Centaur) เป็นวิดีโอเกมวางแผนการรบประเภททีละรอบแนววิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นภาคต่อของเกมชุด ซิวิไลเซชัน ซิด ไมเออร์ (ผู้ออกแบบเกม ซิวิไลเซชัน) และไบรอัน เรย์โนล์ดส (ผู้ออกแบบเกม ซิวิไลเซชัน 2) เป็นผู้พัฒนาเกมนี้หลังจากที่พวกเขาออกจากบริษัทไมโครโพรสไปยังฟิราซิสเกมส์ ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาเกมที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาในเวลานั้น อิเล็คโทรนิค อาร์ตสเป็นผู้วางจำหน่ายเกมนี้ รวมถึง ซิด ไมเออร์ส เอเลียน ครอสไฟร์ (Sid Meier's Alien Crossfire) ภาคเสริมของ อัลฟา เซนทอรี ในปี ค.ศ. 1999 ในปีต่อมา บริษัทแอสไปร์มีเดีย และบริษัทโลกิซอฟต์แวร์ได้ทำการแปลงเกมทั้งสองไปลงระบบปฏิบัติการณ์แมคโอเอสและลินุกซ์
เกมนี้มีเค้าโครงเรื่องอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 22 โดยเริ่มจากกลุ่มที่มีอุดมการณ์แตกต่างกันเจ็ดกลุ่มลงจอดบนดาวเคราะห์ชิรอนที่อยู่ในระบบดาวอัลฟาคนครึ่งม้า เมื่อเกมดำเนินไป การตื่นตัวของดาวเคราะห์ที่มีรู้สึกนั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อมนุษย์ชาวอาณานิคม เกม อัลฟา เซนทอรี พัฒนาเกมเอนจินเพิ่มมาจาก ซิวิไลเซชัน 2 ประกอบด้วยการเล่นหลายคนพร้อมกัน, ระบบวิศวกรรมสังคม, การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ, ความสามารถของผู้เล่นในการปรับแต่งยูนิตด้วยตนเอง, สิ่งมีชีวิตท้องถิ่นบนดาวเคราะห์, ตัวเลือกด้านการสอดแนมและการทูตที่เพิ่มมาจากเดิม, วิธีชนะแบบใหม่, และความสามารถที่จะปรับแต่งเกมผ่านม็อดได้มากขึ้น ในขณะที่ภาคเสริม เอเลียน ครอสไฟร์ได้เพิ่มกลุ่มของมนุษย์เข้ามาอีก 5 กลุ่ม และนำเสนอกลุ่มที่ไม่ใช่มนุษย์อีกสองกลุ่ม รวมไปถึงเทคโนโลยี, สิ่งก่อสร้าง, โครงการลับ, สิ่งมีชีวิตท้องถิ่น, ความสามารถของยูนิตและวิธีชนะที่เพิ่มเข้ามาอีก
เกมนี้ประสบความสำเร็จด้านการวิจารณ์อย่างล้นหลาม โดยได้รับเปรียบเทียบกับซิวิไลเซชันสองในทางที่ดี นักวิจารณ์ชื่นชมเนื้อเรื่องแนวไซไฟของเกมนี้ โดยเปรียบเทียบเกมนี้กับผลงานของสแตนลีย์ คูบริก, แฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต, อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก และไอแซค อสิมอฟ และยังชื่นชมงานเขียนภายในตัวเกม, การให้เสียงตัวละคร, ความสามารถของผู้เล่นในการปรับแต่งยูนิต, และความลึกของแผนผังต้นไม้เทคโนโลยี ซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี ได้รับรางวัลหลายรางวัลในสาขาเกมยอดเยี่ยมแห่งปีและเกมวางแผนการรบยอดเยี่ยมแห่งปี ถึงแม้ว่าจะได้รับการตอบรับเชิงวิจารณ์เป็นอย่างดี แต่ยอดขายของเกมนี้ต่ำที่สุดในเกมชุดซิวิไลเซชัน
สาระสำคัญ
[แก้]ท้องเรื่อง
[แก้]การชนะการแข่งขันทางอวกาศในเกมชุด ซิวิไลเซชัน จบลงด้วยการส่งมนุษย์ไปยังระบบดาวอัลฟาคนครึ่งม้า (Alpha Centauri)[1] ซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี อาศัยเรื่องราวเหล่านี้มาสานต่อ โดยเริ่มการดำเนินเรื่องในคริสต์ศตวรรษที่ 22 หลังจากที่องค์การสหประชาชาติส่งมนุษย์ไปยังดาวเคราะห์ชิรอน (Chiron) ที่อยู่ในระบบดาวอัลฟาคนครึ่งม้าในภารกิจตั้งอาณานิคม "ยูนิตี" (Unity)[2] บนดาวนี้เคยมีมนุษย์ต่างดาวที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงมาเยือนและทำการทดลองทั่วทั้งดาวเกี่ยวความสามารถของดาวเคราะห์ในการรับรู้และรู้สึก โดยทิ้งเสาหินและวัตถุลึกลับไว้[3] ก่อนที่เกมจะเริ่มต้น เตาปฏิกรณ์บนยานอวกาศยูนิตีเกิดขัดข้องขึ้น ทำให้ลูกยานและชาวอาณานิคมตื่นก่อนเวลาอันควร และทำให้การติดต่อสื่อสารกับโลกถูกตัดขาดลง[4] หลังจากที่กัปตันถูกลอบสังหาร ผู้นำที่มีอำนาจที่สุดบนยานตั้งกลุ่มขึ้นมาตามอุดมการณ์ของตนเอง โดยต่างก็มีผู้ตามที่จงรักภักดี ทำให้เกิดความเห็นไม่ตรงกันว่าด้วยอนาคตของมนุษยชาติ จึงเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างกลุ่มต่างๆ[4][5] เมื่อยานแตกออก แคปซูลสละยานทั้งเจ็ดแคปซูล แต่ละแคปซูลก็ประกอบด้วยกลุ่มอุดมการณ์ของตัวเอง ก็กระจายไปทั่วดาวเคราะห์[6]
ในเกมภาคเสริม เอเลียน ครอสไฟร์ ผู้เล่นได้รู้ว่าการทดลองของมนุษย์ต่างดาวทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง โดยก่อให้เกิดวัฏจักรวิวัฒนาการยาวนานหนึ่งร้อยล้านปีที่จบลงด้วยความตายของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่บนดาวเคราะห์[7] หลังจากมหันตภัยครั้งนั้น มนุษย์ต่างดาวก็แตกออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ แมนิโฟลด์แคร์เทคเกอร์ส (Manifold Caretakers) ที่ต่อต้านการทดลองเพิ่มเติม และแมนิโฟลด์ยูเซิร์ปเพอร์ส (Manifold Usurpers) ที่สนับสนุนการทดลองเพิ่มเติม ในเกมภาคเสริมนี้ กลุ่มมนุษย์ต่างดาวทั้งสอง รวมไปถึงกลุ่มอุดมการณ์ของมนุษย์ต้องต่อสู้กันเพื่อเป็นผู้กุมชะตาของดาวเคราะห์ดวงนี้
ตัวละคร
[แก้]ตัวเกมมุ่งเน้นไปที่ผู้นำของกลุ่มทั้งเจ็ด ซึ่งผู้เล่นสามารถเลือกได้จากผู้นำทั้ง 14 คนในเกมดั้งเดิมและภาคเสริม และยังเน้นไปที่ดาวเคราะห์ที่มีความรู้สึกเป็นของตัวเอง (ให้เสียงโดยอะลีนา กังกา)[8] ตัวละครถูกพัฒนาขึ้นมาจากรูปภาพของผู้นำกลุ่ม, บทพูดเดี่ยวที่มาพร้อมกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และรูปภาพที่มุมจอคอมม์ลิงก์ ซึ่งประกอบไปด้วยเมืองที่เกิด, วัยเยาว์, ความรัก, ครอบครัว, การศึกษา, และการสำรวจอวกาศ[9] ผู้นำใน ซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี ประกอบด้วยท่านผู้หญิงเดียเดร สไก (ให้เสียงโดยแคโรลิน ดาห์ล) แห่งกลุ่มไกอาส์สเต็ปดอว์เทอร์ส (Gaia's Stepdaughters), ท่านประธานเฉงจีหยาง (ให้เสียงโดยหลู ยู่) แห่งฮิวแมนไฮฟ์ (Human Hive), นักวิชาการพรอกฮอร์ ซาคารอฟ (ให้เสียงโดยยูริ เนสเตอรอฟ) แห่งยูนิเวอร์ซิตีออฟแพลเน็ต (University of Planet), ซีอีโอ นะวาบูดิเค มอร์แกน (ให้เสียงโดยเรจี เดวิส) แห่งมอร์แกนอินดัสทรีส์ (Morgan Industries), พันเอกโคราซอน ซานติเอโก (ให้เสียงโดยวานดา นิโน่) แห่งสปาร์ตันเฟเดอเรชัน (Spartan Federation), ซิสเตอร์มีเรียม ก็อดวินสัน (ให้เสียงโดยเกร็ทเชน ไวเกล) แห่งลอร์ดส บีลีฟเวอร์ส (Lord's Believers) และข้าหลวงพราวิน ลาล (ให้เสียงโดยเฮช กอร์ดอน) แห่งพีซคีปปิงฟอร์ซเซส (Peacekeeping Forces)[8][10] ในภาคเสริมมีการเพิ่มผู้นำกลุ่มอีก 7 คน ได้แก่ไพรม์ฟังก์ชันอากิ เซตา-ห้า (ให้เสียงโดยแอลลี ริเว็นบาร์ค) แห่งเดอะไซเบอร์เนติกคอนเชียสเนส (The Cybernetic Consciousness) , กัปตันอูลริค สเวนสการ์ด (ให้เสียงโดยเจมส์ ลีบแมน) แห่งนอติลุสไพเรตส์ (Nautilus Pirates), ฟอร์แมนโดไม (ให้เสียงโดยเฟรเดอริค เซราฟิน) แห่งฟรีโดรนส์ (Free Drones), เดตาแจ็ค ซินเดอร์ โรส (ให้เสียงโดยคริสติน เมลตัน) แห่งเดตาเอนเจลส์ (Data Angels), ศาสดาชา ดอว์น (ให้เสียงโดยสเตซี สเปนเซอร์) แห่งเดอะคัลท์ออฟแพลเน็ต (The Cult of Planet), ผู้พิทักษ์ ลูลาร์ ฮิมมะนี (ให้เสียงโดยเจฟฟ์ กอร์ดอน) แห่งแมนิโฟลด์แคร์เทคเกอร์ส และผู้พิชิต จูดา มาร์ (ให้เสียงโดยเจฟฟ์ กอร์ดอน) แห่งแมนิโฟลด์ยูเซิร์ปเพอร์ส[11][12][13]
ผู้เล่นจะสวมบทเป็นผู้นำ และแข่งขันกับผู้นำคนอื่น เพื่อสร้างอาณานิคม และครอบครองดาวทั้งดวง[5] ผู้เล่นสามารถเข้าถึงเดตาลิงก์ส (ให้เสียงโดยโรเบิร์ต เลวีและแคเธอรีน เฟอร์กูสัน) ซึ่งเป็นที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเกม[8][14] กลุ่มตามอุดมการณ์แต่ละกลุ่มล้วนมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน 1-2 ประกอบซึ่งส่งผลต่อการเล่น และแสดงถึงจุดยืนและความเชื่อที่แตกต่างกันเช่นลัทธิยูโทเปียทางเทคโนโลยี, ลัทธินิยมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, ลัทธิทุนนิยม, ลัทธิทหารนิยม, ลัทธิต่อต้านเผด็จการ, วัฒนธรรมโจรสลัด, เสรีนิยมคลาสสิก และลัทธิบูชาจีอา เป็นต้น[11][15] ตัวเกมดำเนินไปบนดาวเคราะห์ชิรอน ซึ่งถือเป็นตัวละครอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง ทั้งยังประกอบไปด้วยการผสมผสานระหว่างสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นที่มีระบบประสาทที่ผูกพันต่อโลกกับพืชสีเขียวที่มนุษย์ปลูกขึ้นมาตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางทุ่งราบสีแดงอันเป็นพืชท้องถิ่นของดาวเคราะห์[16]
เค้าโครงเรื่อง
[แก้]เรื่องค่อย ๆ ดำเนินไปผ่านวิดีโอแนะนำ, คำอธิบายเทคโนโลยีใหม่, วิดีโอที่เล่นเมื่อวิจัยโครงการลับสำเร็จและฉากคั่นอื่นๆ[1] สิ่งมีชีวิตท้องถิ่นส่วนใหญ่คือสิ่งมีชีวิตคล้ายหนอนกับราสีแดงชนิดหนึ่ง [11] ราสีแดงเป็นอุปสรรคเมื่อเดินทางผ่าน, เป็นที่พรางตาของศัตรู, ให้ทรัพยากรเล็กน้อย และเป็นแหล่งกำเนิด "หนอนพลังจิต" ที่สามารถโจมตีฐานและยูนิตได้ด้วยการโจมตีผ่านโทรจิต[17] แต่ผู้เล่นสามารถจับหนอนพลังจิต หรือเพาะพันธุ์หนอนพลังจิต เพื่อใช้เป็นอาวุธได้[18] เมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไป ผู้เล่นจะค้นพบว่าราสีแดงและหนอนพลังจิตนั้นมีความคิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน[18] และหลังจากนั้นไม่นาน ผู้เล่นจะได้ยินเสียงหนึ่งในฝัน[19] ซึ่งต่อมาเสียงนี้จะแทรกเข้ามาแม้ในยามตื่น โดยเสียงนี้ขู่ว่าจะเพิ่มการโจมตีถ้ามนุษย์ไม่ยอมลดมลภาวะและควบคุมไม่ให้ดาวถูกทำลาย [17][20] ต่อมาผู้เล่นจึงค้นพบว่าดาวเคราะห์นี้เป็นสิ่งมีชีวิตที่จำศีลอยู่ แต่กำลังตื่นขึ้นมา ซึ่งจะทำให้เกิดการแปลงสภาพและทำให้มนุษย์ทุกคนถูกทำลาย เพื่อจัดการกับภัยคุกคามนี้ ตัวผู้เล่นเองหรือผู้นำคนอื่นๆ จะต้องวิจัยโครงการลับที่ชื่อว่า "เสียงของอัลฟาเซนทอรี" (The Voice of Alpha Centauri) ซึ่งจะชะลอการแปลงสภาพและเพิ่มสติปัญญาให้กับดาวเคราะห์[21][22] ท้ายที่สุดแล้ว ผู้เล่นเองหรือผู้นำคนอื่นๆ สามารถที่จะยอมรับ "การก้าวสู่อุตรภาพ" (The Ascent to Trancendence) ซึ่งหมายความว่ามนุษย์เข้ารวมเพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับดาวเคราะห์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ "กลายเป็นพระเจ้า"[23] เกมอัลฟาเซนทอรีจึงจบลงด้วยความหวังและชัยชนะของมนุษย์ ทั้งยังเป็นการบอกว่าเหตุการณ์ในเกมไม่ใช่ทั้งหมดของอนาคตของมวลมนุษยชาติ แต่เป็นเพียงอีกก้าวหนึ่งเท่านั้น[16]
การเล่น
[แก้]ซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี เป็นเกมวางแผนการรบแบบทีละรอบที่มีพื้นฐานเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ เล่นจากมุมมองบุคคลที่สาม ในมุมมองไอโซเมตริก ลักษณะหลายๆ อย่างของเกมนี้มีความคล้ายคลึงกับซิวิไลเซชัน 2 แต่มีการเปลี่ยนชื่อหรือบางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย อย่างเช่น ผู้เล่นสามารถสร้างฐาน (เรียกว่าเมืองในซิวิไลเซชัน 2), สร้างสิ่งก่อสร้าง, โครงการลับ (ในซิวิไลเซชัน 2 เรียกว่าสิ่งมหัศจรรย์ของโลก), สำรวจดินแดน, วิจัยเทคโนโลยี, ใและเอาชนะกลุ่มอื่นๆ (อารยธรรมในซิวิไลเซชัน 2)[1][6][24][25] นอกจากการเอาชนะกลุ่มที่ไม่ใช่พันธมิตรอื่นๆ ด้วยกำลังทางทหารแล้ว ผู้เล่นยังสามารถชนะได้ด้วยการได้รับเสียงโหวตสามในสี่จากประชากรทั้งหมด (คล้ายกับชัยชนะด้วยอำนาจของซิวิไลเซชัน 4), ครองตลาดพลังงานโลก, วิจัยโครงการลับ "การก้าวสู่อุตรภาพ" ได้สำเร็จ, และการสร้างเครื่องกำเนิดสับสเปซ 6 เครื่องสำหรับฝ่ายมนุษย์ต่างดาว[1][26][27][28]
แผนที่หลักของเกมถูกแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส ในช่องนี้เป็นบริเวณที่ผู้เล่นสามารถตั้งฐาน, เคลื่อนย้ายยูนิต, และต่อสู้กับยูนิตอื่นได้ ผู้เล่นสามารถปรับเปลี่ยนสภาพของสี่เหลี่ยมแต่ละช่องได้โดยการเปลี่ยนสภาพดาวเคราะห์ (Terraforming) ซึ่งมีผลด้านการเคลื่อนที่ของยูนิต, การรบและการให้ทรัพยากร ทรัพยากรในที่นี้จะถูกนำไปใช้เป็นอาหารให้กับประชากร หรือเอาไปสร้างยูนิตและสิ่งก่อสร้าง หรือจะเอาไปสะสมเป็นพลังงานก็ได้ ผู้เล่นสามารถโยกจำนวนพลังงานไปลงทุนในการวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือจะทำการเก็บสะสมเป็นทุนสำรองก็ได้ เกมนี้แตกต่างจากเกมซิวิไลเซชันอื่นๆ ตรงที่ เทคโนโลยีใหม่จะทำให้ผู้เล่นสามารถเข้าถึงส่วนประกอบยูนิตใหม่ แทนที่จะเป็นยูนิตสำเร็จรูป ทำให้ผู้เล่นสามารถออกแบบยูนิตให้เป็นไปตามลำดับความต้องการของผู้เล่นเอง[9][29] ทุนพลังงานสำรองอนุญาตให้ผู้เล่นอัพเกรดยูนิต, บำรุงรักษาสิ่งก่อสร้าง, และอาจจะสำรองพลังงานจนชนะด้วยการครองตลาดพลังงานโลกก็ได้ ฐาน (Base) คือที่มั่นทางทหารซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่ชัยชนะในทุกวิธี ฐานทำหน้าที่ผลิตยูนิตทางทหาร, เป็นที่พักอาศัยให้กับประชากร, เก็บสะสมพลังงาน และวิจัยโครงการลับ หรือสร้างเครื่องกำเนิดสับสเปซ การสร้างสิ่งก่อสร้างและการวิจัยโครงการลับสามารถเพิ่มศักยภาพในฐานใดฐานหนึ่งหรือในทุกฐาน
นอกจากการเปลี่ยนสภาพดาวเคราะห์, การเพิ่มศักยภาพของฐานแต่ละฐาน และการวิจัยโครงการลับแล้ว ผู้เล่นยังสามารถใช้วิธีอื่นๆ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกระบบวิศวกรรมสังคม, การใช้ทีมสอดแนมและการทูต ระบบวิศวกรรมสังคมคือการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ที่มีทั้งคุณและโทษในตัวของมันเอง โดยทางเลือกขึ้นอยู่กับตัวผู้เล่นเองและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของผู้เล่น[6][9][11][15][30] ทีมสอดแนมสามารถลอบก่อวินาศกรรมหรือขโมยข้อมูล, ยูนิต, เทคโนโลยีและพลังงานได้ ในขณะที่การทูตในเกมอนุญาตให้ผู้เล่นสามารถสร้างพันธมิตรกับกลุ่มอื่นได้ ทั้งยังอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนหรือส่งมอบยูนิต, ฐาน, เทคโนโลยีและพลังงาน สภาดาว (Planetary Council) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สามารถนำมาสู่มติที่ส่งผลต่อดาวทั้งดวง และเป็นตัวกำหนดชัยชนะด้วยการทูต[31]
นอกจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและโครงการลับ เกมนี้ยังนำเสนอแง่มุมของสิ่งมีชีวิต, สิ่งก่อสร้าง และสิ่งประดิษฐ์จากต่างดาว[1] ซีโนฟังกัส (Xenofungus) และราทะเลส่งโทษต่อผู้เล่นในด้านการเคลื่อนที่, การรบและการให้ทรัพยากร และยังเป็นที่พรางตัวของหนอนพลังจิตและตัวยิงสปอร์ มีหอคอยราที่ไม่สามารถขยับได้แต่สามารถให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตท้องถื่น ซึ่งนอกจากหนอนพลังจิตแล้ว ยังมีไอล์สออฟเดอะดีป (Isle of the Deep) กับซีเลิร์คส (Sealurks) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตทางทะเล และโลคัสออฟชิรอน (Locust of Chiron) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตในอากาศ ทั้งหมดนี้โจมตีด้วยการใช้พลังจิต ซึ่งอาวุธและเกราะของยูนิตไม่มีผลใดๆ ต่อสิ่งมีชีวิตเหล่านี้[32] เสาหินมีอำนาจในการซ่อมแซมยูนิตและให้ทรัพยากร วัตถุลึกลับซ่อนเทคโนโลยีใหม่ๆ ไว้ภายในและสามารถนำมาใช้เพื่อเร่งการวิจัยโครงการลับได้ สิ่งมหัศจรรย์ธรรมชาติให้ทรัพยากรมากเป็นพิเศษ และเหตุการณ์แบบสุ่มเพิ่มอันตรายหรือโอกาส การพัฒนามากเกินไปอาจนำไปสู่การผลิบานของราที่ทำลายการเปลี่ยนสภาพดาวเคราะห์ และทำให้สิ่งมีชีวิตท้องถิ่นรุกรานได้
ซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี มีทั้งโหมดผู้เล่นคนเดียวและโหมดผู้เล่นหลายคน และอนุญาตให้ผู้เล่นสามารถปรับแต่งเกมได้ โดยผู้เล่นสามารถเลือกการปรับแต่งได้ก่อนเริ่มเกม และยังสามารถสร้างภารกิจและแผนที่ขึ้นมาเองด้วยโปรแกรมที่มีให้ และยังสามารถแก้ไฟล์ของเกม ซิด ไมเออร์ส อัลฟา เซนทอรี เองได้อีกด้วย นอกจากการเลือกผู้นำทั้ง 7 คน (หรือ 14 คนในภาคเสริม) ยังสามารถเลือกภารกิจ, เลือกลักษณะการสร้างแผนที่แบบสุ่ม, ระดับความยาก, และกำหนดกฎของเกมซึ่งรวมไปถึงวิธีชนะ, ความสามารถในการควบคุมการวิจัย และการเปิดแผนที่ตอนต้นเกมได้อีกด้วย โปรแกรมสร้างแผนที่และภารกิจอนุญาตให้ผู้เล่นสร้างภารกิจและแผนที่ที่ผู้เล่นเป็นคนกำหนดเองทั้งหมด[33] กฎพื้นฐาน, บทพูดของตัวละคร, และความสามารถของแต่ละกลุ่ม อยู่ในไฟล์ข้อความ โดยผู้พัฒนาเกมออกแบบมาให้ผู้เล่นสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดาย แม้ไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมมาก่อน[34][35] SMAC สนับสนุนการเล่นผ่านอีเมล และมีโหมด TCP/IP ที่อนุญาตให้ผู้เล่นหลายคนเล่นพร้อมกัน และคุยกันโดยตรง ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี, พลังงาน, ข้อมูลแผนที่และสิ่งอื่นๆ ได้อย่างไม่จำกัด[36]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Shah (2000), p.1.
- ↑ Reynolds (1999), p.2.
- ↑ Shah (2000), p.3.
- ↑ 4.0 4.1 Reynolds (1999), p.3.
- ↑ 5.0 5.1 Rosen (1999)
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Tito (2005), p.1.
- ↑ McCubbin (1999), p.286.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Reynolds (1999), p.246.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Edge Staff (2006), p.1.
- ↑ Reynolds (1999), pp.11–13.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Shah (2000), p.2.
- ↑ Train (1999), pp.11–13.
- ↑ Train (1999), p49.
- ↑ Reynolds (1999), p.111.
- ↑ 15.0 15.1 Train (1998-08-11), p2.
- ↑ 16.0 16.1 Edge Staff (2006), p.2.
- ↑ 17.0 17.1 Tito (2005), p.2.
- ↑ 18.0 18.1 McCubbin (1999), p.277.
- ↑ McCubbin (1999), p.278.
- ↑ McCubbin (1999), p.281.
- ↑ McCubbin (1999), p.283.
- ↑ McCubbin (1999), p.285.
- ↑ McCubbin (1999), p.287.
- ↑ Noer, Michael (1997-07-25). "Sid starts up. Again". Forbes.com. สืบค้นเมื่อ 2010-08-07.
- ↑ "Sid Meier's Alpha Centauri". Kickstartnews.com. สืบค้นเมื่อ 2010-08-07.
- ↑ Herz, J.C. (March 18, 1999). "Game Theory; On 2067 Battleground, 1999 Political Passions". The New York Times. สืบค้นเมื่อ November 6, 2009.
- ↑ Shah (2000), p.5.
- ↑ "Sid Meier's Alien Crossfire". Insidemacgames.com. 2000-09-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-16. สืบค้นเมื่อ 2010-08-07.
- ↑ McCubbin (1999), p.230.
- ↑ Train (1998-08-11), p1.
- ↑ Reynolds (1999), p.132.
- ↑ Shah (2000), p.4.
- ↑ "The Scenario Editor" เก็บถาวร 2015-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Civilization Gaming Networks.
- ↑ Reynolds (1999), p.207.
- ↑ "Alpha (x).txt editing (v. 1.3)" เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Civilization Gaming Networks.
- ↑ Reynolds (1998-12-09), p2.
บรรณานุกรม
[แก้]- Edge Staff (August 2006). "Time Extend: Alpha Centauri". Edge. No. 165. Bath, UK BA1 2BW: Future Publishing Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-13. สืบค้นเมื่อ 2010-08-06.
{{cite magazine}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - Edwards, Tim (2010-06-15). "New Civilization 5 screenshots and E3 impressions". PC Gamer. Bath, UK BA1 2BW: Future Publishing Limited. สืบค้นเมื่อ 2010-06-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - Firaxis Games. "Sid Meier's Alpha Centauri". Official Site. Sparks, MD, USA 21152. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-26. สืบค้นเมื่อ 2010-08-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - McCubbin, Chris (1999-02-09). Ladyman, David (บ.ก.). Sid Meier's Alpha Centauri. Prima's Official Strategy Guide. Additional material by Chris Pine. Roseville, CA, USA 95661: Prima Games. ISBN 978-0-7615-1584-5.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - Harrison, Mark (2000-02-11). "Brian Reynolds Interview". IGN. San Francisco, CA, USA 94107: IGN Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-21. สืบค้นเมื่อ 2010-07-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - Reynolds, Brian; Train, Timothy (1999-03-15). "Designer Diaries: Alpha Centauri". GameSpot. San Francisco, CA, USA 94105: CBS Interactive Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-13. สืบค้นเมื่อ 2010-07-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - Reynolds, Brian; Meier, Sid; Train, Timothy; Kaufman, Douglas; Gordon, Bing & Members of Firaxis Games (February 1999). Sid Meier's Alpha Centauri (Manual). Redwood City, CA, USA 94065: Electronic Arts.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - Rosen, Michelle (1999-07-23). "Sid Meier's Alpha Centauri Boosts Electronic Arts' Results". Space.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-05. สืบค้นเมื่อ 2010-06-21.
- Shah, Rawn (2000-08-21). "Sid Meier's Alpha Centauri – New life and new civilization for Linux". IT World Canada. สืบค้นเมื่อ 2010-06-23.
- Tito, Greg (2005-10-04). "Alpha Centauri". The Escapist. Durham, NC, USA 27713: Themis Group Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 2010-08-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - Train, Timothy; Kaufman, Douglas; Pine, Chris; Foertsch, Gregory; Ely, Michael; Gordon, Bing; Meier, Sid & Members of Firaxis Games (October 1999). Sid Meier's Alien Crossfire (Manual). Redwood City, CA, USA 94065: Electronic Arts.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์)
อ่านเพิ่ม
[แก้]- อีไล, ไมเคิล (2000-11-28). Centauri Dawn. Sid Meier's Alpha Centauri, Book I. New York, NY, USA 10020: Pocket Books. ISBN 978-0-671-04077-2.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) – เรื่องราวว่าด้วยช่วงแรกของการสร้างอาณานิคมบนดาวเคราะห์ชิรอน และกล่าวถึงการปิดล้อมสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติโดยฝ่ายสปาร์ตัน การสูญเสียอำนาจอธิปไตยของฝ่ายพีซคีปเปอร์ และการหลบหนีของผู้รอดชีวิตฝ่ายสหประชาชาติไปยังดินแดนของฝ่ายไกอา - อีไล, ไมเคิล (2001-08-28). Dragon Sun. Sid Meier's Alpha Centauri, Book II. New York, NY, USA 10020: Pocket Books. ISBN 978-0-671-04078-9.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) – ดำเนินเรื่องต่อจากเหตุการณ์ใน Centauri Dawn และกล่าวถึงการใช้ "หนอนพลังจิต" โดยฝ่ายไกอาส์สเต็ปดอว์เธอร์สเพื่อตอบโต้การโจมตีของมอร์แกนอินดัสทรีส์ที่มีเทคโนลีเหนือกว่า - อีไล, ไมเคิล (2002-01-29). Twilight of the Mind. Sid Meier's Alpha Centauri, Book III. New York, NY, USA 10020: Pocket Books. ISBN 978-0-671-04079-6.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) – เรื่องราวว่าด้วยความตึงเครียดระหว่างยูนิเวอร์ซิตีออฟแพลเน็ตกับลอร์ดสบีลิฟเวอร์ส และกล่าวถึงการใช้ระเบิดเอกภาวะเพื่อทำลายมอร์แกนอินดัสทรีส์และสปาร์ตันเฟเดอเรชันและการกระหน่ำโจมตีจากสิ่งมีชีวิตบนดาวที่ตามมาเพื่อแก้แค้นและทำลายมนุษยชาติ - ฮาร์ทเพนส์, คริส (2001-09-21). Vel's SMAX Guide, version 4.0: The Unofficial Guide to Sid Meier's Alpha Centauri. Charleston, SC, USA: BookSurge Publishing. ISBN 978-1-58898-490-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-06. สืบค้นเมื่อ 2010-08-12. – คู่มือกลยุทธ 253 หน้าที่ครอบคลุมการเล่นแบบคนเดียวและหลายคน
- คายานัน, ราฟาเอล; Darnall, Stevel (2000-01-01). Sid Meier's Alpha Centauri: Power of the Mindworms. New York, NY, USA 10005: NBM Publishing, Inc. ISBN 978-1-56163-242-8.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์)