ข้ามไปเนื้อหา

ชีน-บยุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขบวนแห่พิธีชีน-บยุที่มัณฑะเลย์
การแต่งกายของผู้เข้าพิธีชีน-บยุ

ชีน-บยุ (พม่า: ရှင်ပြု; เอ็มแอลซีทีเอส: hrang pru., ออกเสียง: [ʃɪ̀ɰ̃.bjṵ] ฉี่งบฺยู้, สามารถออกเสียงว่า ชีน-ปยุ) เป็นพิธีกรรมของชาวพม่า โดยเฉพาะเด็กชายในช่วงที่ก่อนจะบวชเป็นสามเณร ในศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท พิธีชีน-บยุ หมายถึงการเฉลิมฉลองเครื่องหมายของสามเณร เมื่อเสร็จพิธีแห่ชีน-บยุเด็กชายผู้เข้าร่วมพิธีกรรมจะเข้าบวชเป็นสามเณร เป็นการบวชของเด็กชายอายุต่ำกว่า 20 ปี

พิธีชีน-บยุถือเป็นหน้าที่สำคัญของบิดา มารดาที่ต้องทำให้บุตรชายของตน โดยการปล่อยให้บุตรของตนออกตามรอยคล้ายตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกบวช และให้ประพฤติตนอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าสำหรับพิธีกรรมชาวพม่าส่วนใหญ่นิยมจัดระยะสั้น หรือบางส่วนนิยมจัดตอนบวชเป็นพระสงฆ์ต่อเมื่ออายุครบ 20 ปี[1]

ประวัติ

[แก้]

สำหรับพิธีกรรมชีน-บยุ ในประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเกิดในสมัยพุทธกาล โดยราหุลพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ วันหนึ่งพระนางยโสธรา มารดาของพระองค์มีรับสั่งให้พระองค์ไปทูลขอพระราชสมบัติจากเจ้าชายสิทธัตถะ บิดาของพระองค์ (ซึ่งขณะนั่นได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว) เพื่อที่จะได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อ เมื่อราหุลพบพระพุทธองค์ ราหุลกลับเลื่อมใสพระพุทธศาสนาและทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์จึงทรงบรรพชาพระราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย พระกุมารราหุลจึงเป็นสามเณรรูปแรกในพุทธศาสนา[1] [2][3]

ในปัจจุบัน ชาวพม่านิยมให้ลูกชายเข้าพิธีชีน-บยุในการบวชสามเณรและเด็กหญิงใช้ในการเข้าพิธีเจาะหู ในอดีตเด็กชายก็นิยมเข้าพิธีเจาะหู แต่ช่วงหลังเหลือแต่เด็กหญิง

ลักษณะพิธี

[แก้]

ลักษณะพิธีชีน-บยุมีความคล้ายคลึงกับประเพณีปอยส่างลองในภาคเหนือของประเทศไทย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Shinpyu - a fulfilment of parenthood". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-23. สืบค้นเมื่อ 2017-03-26.
  2. Lin Htain (1983). "Rahula, the first samanera in history". Department of Religious Affairs, Rangoon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-20. สืบค้นเมื่อ 2017-03-26.
  3. "Nibbana.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2017-03-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]