ข้ามไปเนื้อหา

จารึก อารีราชการัณย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จารึก อารีราชการัณย์
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2562
เลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2528 – 2564
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ธันวาคม พ.ศ. 2475
เสียชีวิต21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (90 ปี)
คู่สมรสอรพินท์ อารีราชการัณย์ (เสียชีวิต)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการ? - พ.ศ. 2535
ยศ พลตรี

พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ (9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2557 อดีตสมาชิกวุฒิสภา พุทธศักราช 2539 นายกสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย[1] และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ

[แก้]

พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยหลักสูตรเร่งรัด (รุ่นที่ 9) พ.ศ. 2499, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ ดอนเมือง ,โรงเรียนเสนาธิการร่วม (กองทัพบก, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ) และโรงเรียนส่งกำลังบำรุง[2]

พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ ภายในบ้านพักย่านทองหล่อ ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566[3]

การทำงาน

[แก้]

พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทย 6 สมัย (12 ปี), เลขาธิการและเหรัญญิกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย 2 สมัย (สมัยละ 2 ปี) กรรมการบริหารด้านกีฬาของทวีปเอเชีย 6 สมัย (สมัยละ 4 ปี) กรรมการบริหารของ ANOC (5 ทวีปของโลก)[2] และเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมการบริหารและเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งถึง 6 สมัย (สมัยละ 4 ปี)[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย[5]

นอกจากนี้ เคยได้รับการแต่งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2539[6] ต่อมาได้รับการแต่งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญราชการสงครามเกาหลี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "คณะกรรมการบริหารสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2555 – 2556". สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2014.
  2. 2.0 2.1 "ข้อมูลประวัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ – พลตรี จารึก อารีราชการัณย์". สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2014.
  3. "วงการกีฬาไทยเศร้า "พลตรีจารึก อารีราชการัณย์" เสียชีวิตอย่างสงบ". Siamsport. 21 สิงหาคม 2023.
  4. "คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2552 – 2556". คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2014.
  5. ""บิ๊กป้อม" นั่งประธานโอลิมปิคไทยคนที่ 7". เดลินิวส์. 5 เมษายน 2017.
  6. ราชกิจจานุเบกษา. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน ๒๖๐ ราย). เล่ม 113 ตอนพิเศษ 7 ง หน้า 2. วันที่ 22 มีนาคม 2539.
  7. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. เล่ม 131 ตอนพิเศษ 147 ง หน้า 2. วันที่ 31 กรกฎาคม 2557.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 116 ตอนที่ 8 ข หน้า 2, 4 พฤษภาคม 2542
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม 79 ตอนที่ 14 หน้า 313, 13 กุมภาพันธ์ 2505
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม 87 ตอนที่ 97 ฉบับพิเศษ หน้า 1, 21 ตุลาคม 2513

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • จารึก อารีราชการัณย์; และคณะ (2008). ปรากฏการณ์เหนือการแข่งขันกีฬาใน"โอลิมปิกปักกิ่ง 2008". กาญจนบุรี: คณะกรรมการโครงการศึกษาและเผยแพร่กระบวนการโอลิมปิก (Olympic Movement) จาก "ปักกิ่งเกมส์ 2008". ISBN 978-974-604-406-6.