จันทริกา กุมารตุงคะ
หน้าตา
จันทริกา กุมารตุงคะ | |
---|---|
චන්ද්රිකා බණ්ඩාරනායක சந்திரிகா குமாரதுங்க | |
กุมารตุงคะเมื่อปี 2015 | |
ประธานาธิบดีศรีลังกา คนที่ 5 | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤศจิกายน 1994 – 19 พฤศจิกายน 2005 | |
นายกรัฐมนตรี | สิริมาโว พัณฑารนายกะ รัตนสิริ วิกรมสิงหะ รนิล วิกรมสิงหะ มหินทะ ราชปักษา |
ก่อนหน้า | ทิงคีรี พัณฑะ วิเชตุงคะ |
ถัดไป | มหินทะ ราชปักษา |
นายกรัฐมนตรีศรีลังกา คนที่ 11 | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม 1994 – 12 พฤศจิกายน 1994 | |
ประธานาธิบดี | ทิงคีรี พัณฑะ วิเชตุงคะ |
ก่อนหน้า | รนิล วิกรมสิงหะ |
ถัดไป | สิริมาโว พัณฑารนายกะ |
ประธานพรรคเสรีภาพศรีลังกา | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม 1994 – 19 พฤศจิกายน 2005 | |
ก่อนหน้า | สิริมาโว พัณฑารนายกะ |
ถัดไป | มหินทะ ราชปักษา |
สมาชิกรัฐสภาศรีลังกา สำหรับคัมปหา | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม 1994 – 12 พฤศจิกายน 1994 | |
คะแนนเสียง | 464,588 |
ผู้ว่าการจังหวัดเวสเทิร์น | |
ดำรงตำแหน่ง 21 พฤษภาคม 1993 – 20 สิงหาคม 1994 | |
ผู้ว่าการ | สุปปียะห์ ศรรวานันทะ ดีเอ็ม สวามีนาถัน |
ก่อนหน้า | สุสิล มูเนสิงหะ |
ถัดไป | มอริส ราชปักษา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | จันทริกา พัณฑารนายกะ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1945 โคลอมโบ ซีลอนของอังกฤษ |
พรรคการเมือง | พรรคเสรีภาพศรีลังกา |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พันธมิตรประชาชน (1994–2004) พันธมิตรเสรีภาพประชาชน (2004-2006) |
คู่สมรส | วิชยะ กุมารตุงคะ (สมรส 1978; เสียชีวิต 1988) |
บุตร | ยโสธรา กุมารตุงคะ วิมุกติ กุมารตุงคะ |
บุพการี | โซโลมอน พัณฑารนายกะ (บิดา) สิริมาโว รัตวัตเต (มารดา) |
ที่อยู่อาศัย | โหรโคลลวเลาวา |
การศึกษา | Institut d'Études Politiques d'Aix-en-Provence Institut d'Études Politiques de Paris |
ลายมือชื่อ | |
จันทริกา พัณฑารนายกะ กุมารตุงคะ (สิงหล: චන්ද්රිකා බණ්ඩාරනායක කුමාරතුංග; ทมิฬ: சந்திரிகா பண்டாரநாயக்க குமாரதுங்க; เกิด 29 มิถุนายน 1945) หรือเป็นที่นิยมเรียกขานด้วยชื่อย่อ ซีบีเค (CBK) เป็นนักการเมืองศรีลังกา ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีศรีลังกาคนที่ 4 ระหว่างปี 1994-2005, อดีตนายกรัฐมนตรีศรีลังกาในปี 1994 และผู้ว่าการจังหวัดเวสเทิร์นระหว่างปี 1993 ถึง 1994 เธอเป็นประธานาธิบดีสตรีคนเแรกและคนเดียวของศรีลังกา และนายกรัฐมนตรีสตรีคนที่สองของศรีลังกาต่อจากมารดาของเธอ สิริมาโว พัณฑารนายกะ เธอดำรงตำแหน่งประธานพรรคเสรีภาพศรีลังกา (SLFP) จนถึงปี 2005[1][2][3]
เธอขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีศรีลังกาหลังเธอชนะผู้สมัครพรรครวมชาติ ศรีมา ทิสสนายกะ ในการเลือกตั้งปี 1994 ซึ่งถือเป็นการชนะคะแนนเสียงที่ถล่มทลายที่สุดในประวัติศาสตร์ศรีลังกาด้วยคะแนนเสียง 62%
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "BBC Profile: Chandrika Kumaratunga". BBC News. 26 August 2005.
- ↑ "Chandrika".
- ↑ Skard, Torild "Chandrika Kumaratunga" in Women of Power – half a century of female presidents and prime ministers worldwide, Bristol: Policy Press, 2014, 978-1-44731-578-0