ไมตรีปาละ สิริเสนะ
ไมตรีปาละ สิริเสนะ (อักษรโรมัน: Maithripala Sirisena; สิงหล: මෛත්රීපාල සිරිසේන; เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2494) เป็นนักการเมืองชาวศรีลังกา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่เจ็ดของศรีลังกา ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558[1][2] ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[ต้องการอ้างอิง] เป็นประธานาธิบดีศรีลังกาคนแรกที่มาจากมณฑลกลางเหนือ (North Central Province) และไม่ได้มาจากกลุ่มอภิสิทธิชนทางการเมืองตามขนบประเพณี[3]
เขาเข้าสู่การเมืองกระแสหลักเมื่อ พ.ศ. 2532 ด้วยการเป็นสมาชิกรัฐสภาศรีลังกา และได้ว่าการหลายกระทรวงตั้งแต่ พ.ศ. 2537[4] ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเข้ารับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเมื่อ พ.ศ. 2558 คือ เลขาธิการพรรคเสรีภาพศรีลังกา (Sri Lanka Freedom Party) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เขาเป็นบุคคลที่กลุ่มฝ่ายค้านมีมติร่วมกันให้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี[5][6] ชัยชนะที่เขาได้รับในการเลือกตั้งดังกล่าวนั้น มองกันว่า "เหนือความคาดหมาย" (surprise) เพราะเขาได้รับคะแนนเสียงจากเขตเลือกตั้งแถบชนบทซึ่งชนกลุ่มใหญ่เป็นชาวสิงหล ทั้งได้คะแนนเสียงจากชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมและทมิฬที่ถูกพรรครัฐบาลทอดทิ้งเนื่องจากนโยบายปรองดองหลังสงครามและการแบ่งแยกดินแดนที่ทวีความรุนแรงเรื่อย ๆ[3][7][8][9] เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว มีข่าวว่า สิริเสนะให้คำมั่นว่า จะดำเนินโครงการ "ปฏิรูป 100 วัน" (100-day reform) เพื่อจัดสมดุลใหม่ให้แก่ฝ่ายบริหารภายใน 100 วันนับแต่วันได้รับเลือกตั้ง โดยจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ จะปราบทุจริต จะสืบสวนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จะยกเลิกรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 18 ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมาก จะกลับไปใช้รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 17 และจะตั้งรนิล วิกรมสิงหะ (Ranil Wickremesinghe) หัวหน้าพรรคร่วมแห่งชาติ (United National Party) เป็นนายกรัฐมนตรี[10][11][12] แต่ภายหลังเขาแถลงว่า โครงการนี้เป็นความคิดของใครก็ไม่ทราบ แต่ไม่ใช่ของเขา[13][14]
เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อหน้ากนกสปาปติ ศรีปวัน (Kanagasabapathy Sripavan) ประธานศาลสูงสุด ณ จัตุรัสเอกราช เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 18:20 นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น)[15][16] สาบานตนเสร็จแล้วเขาก็ตั้งวิกรมสิงหะเป็นนายกรัฐมนตรีทันที[17][18] ทั้งแถลงว่า จะอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีเพียงวาระเดียว[19] เขายังประกาศโอนอำนาจที่สำคัญของประธานาธิบดีไปให้รัฐสภาโดยสมัครใจในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558[20][21]
เขาเป็นที่กล่าวขวัญเพราะสร้างความประหลาดใจหลายประการให้ชาวศรีลังกา เช่น ออกกิจจานุเบกษา (gazette) ทุกวันศุกร์มาตั้งแต่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และในปีเดียวกันนั้น เขายังถอดวิกรมสิงหะออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งที่วิกรมสิงหะเป็นผู้สนับสนุนหลักให้เขาขึ้นเป็นประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2558 แล้วเขาตั้งมหินทะ ราชปักษะ (Mahinda Rajapaksa) อดีตประธานาธิบดีซึ่งเคยเป็นคู่แข่งของเขา ให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน นอกจากนี้ เขายังสั่งปิดประชุมรัฐสภา ทั้งหมดทั้งมวลนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญศรีลังกา จึงนำไปสู่วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญ[22][23][22][24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sirisena to be sworn in as Sri Lanka's new president". Gulf Times. Agence France-Presse. 9 January 2015.
- ↑ Balachandran, P. K. (9 January 2015). "Sirisena Finally Romps Home With 51.28 Per Cent". The New Indian Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2019-07-22.
- ↑ 3.0 3.1 Burke, Jason (9 January 2015). "Sri Lanka election result: Who is new President Maithripala Sirisena?". The Guardian.
- ↑ "All you need to know about Maithripala Sirisena". The Hindu. 9 January 2015.
- ↑ "Central & South Asia Sri Lanka minister to challenge president". Al Jazeera. 21 November 2014.
- ↑ "Maithiripala Sirisena of SLFP emerges as common opposition candidate contesting Rajapaksa". TamilNet. 21 November 2014.
- ↑ "Sirisena Calls for Peace After Surprise Sri Lanka Victory". Bloomberg News. 9 January 2015.
- ↑ Crabtree, James (9 January 2015). "Maithripala Sirisena faces task of repairing Sri Lanka's image". Financial Times.
- ↑ Burke, Jason; Perera, Amantha (10 January 2015). "Sri Lanka's new president promises 'no more abductions, no more censorship'". The Guardian.
- ↑ Bastians, Dharisha (22 พฤศจิกายน 2014). "No Maithri for Mahinda". Daily FT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ Mallawarachi, Bharatha (21 November 2014). "Sri Lanka leader to face health minister in polls". San Francisco Chronicle. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2019-07-22.
- ↑ Srinivasan, Meera (22 November 2014). "Chandrika returns to politics". The Hindu.
- ↑ ""I have no idea who came up with the 100 day program" – President – Sri Lanka Latest News". Sri Lanka News – Newsfirst | Breaking News and Latest News provider | Political | Sports | International | Business (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-05-31. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
- ↑ "100-day programme was the 'stupidest' thing done – President". www.adaderana.lk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
- ↑ "Sirisena sworn in as Sri Lanka president". Al Jazeera. 9 January 2015.
- ↑ "Maithri sworn in". The Daily Mirror (Sri Lanka). 9 January 2015.
- ↑ Srinivasan, Meera (9 January 2015). "Sirisena deposes Rajapaksa". The Hindu.
- ↑ "Ranil new Prime Minister". The Daily Mirror (Sri Lanka). 9 January 2015.
- ↑ "Sri Lanka's new president appoints PM". Special Broadcasting Service. Australian Associated Press. 10 January 2015.
- ↑ Maithripala’s finest hour The Sunday Times, Retrieved 4 May 2015
- ↑ The Monk and the Man who changed history เก็บถาวร 2016-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sunday Observer, Retrieved 4 May 2015
- ↑ 22.0 22.1 "Sri Lankan Strongman's Return Sparks 'Constitutional Crisis'". Time (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
- ↑ Diplomat, Tasnim Nazeer, The. "Sri Lanka's Constitutional Crisis and the Right to Press Freedom". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
- ↑ "House of Cards in the Indian Ocean". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-11-04. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.