จังหวัดบันทายมีชัย
หน้าตา
จังหวัดบันทายมีชัย ខេត្តបន្ទាយមានជ័យ | |
---|---|
บนลงล่าง ซ้ายไปขวา: ประตูด่านปอยเปต, ชายแดนปอยเปต, ปราสาทบันทายฉมาร์, อนุสาวรีย์สตรีศรีโสภณวงเวียนเมืองศรีโสภณ, พลับพลาลงสรง บารายปราสาทบันทายฉมาร์ | |
แผนที่ของประเทศกัมพูชาเน้นจังหวัดบันทายมีชัย | |
พิกัด: 13°45′N 103°00′E / 13.750°N 103.000°E | |
ประเทศ | กัมพูชา |
เมืองหลัก | ศรีโสภณ |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | H.E. Ong Oeun (CPP) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 6,679 ตร.กม. (2,579 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 13 |
ประชากร (พ.ศ. 2551)[1] | |
• ทั้งหมด | 678,033 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 10 |
• ความหนาแน่น | 100 คน/ตร.กม. (260 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+07 |
รหัสโทรศัพท์ | +855 |
รหัส ISO 3166 | KH-1 |
อำเภอ | 8 |
ตำบล | 64 |
หมู่บ้าน | 624 |
บันทายมีชัย[2] หรือ บ็อนเตียย์เมียนเจ็ย[2] (เขมร: បន្ទាយមានជ័យ, "ปราการแห่งชัยชนะ") เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศกัมพูชา (ภาษาไทยเรียกว่า "จังหวัดบ้านใต้มีชัย", "บันทายมีชัย" หรือ "ศรีโสภณ")[3] อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เมืองหลักคือศรีโสภณ จังหวัดบันทายมีชัยติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตกที่เมืองปอยเปต
จังหวัดบันทายมีชัยเคยเป็นจังหวัดพิบูลสงครามของสยาม ในปี ค.ศ. 1907 สยามได้ยกพื้นที่นี้ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส และรวมเข้าเป็นจังหวัดพระตะบอง ต่อมาในปี ค.ศ. 1988 จังหวัดบันทายมีชัยจึงได้แยกออกจากจังหวัดพระตะบอง เดิมประกอบด้วย 5 อำเภอ คือ มงคลบุรี ถมอปวก ศรีโสภณ พระเนตรพระ และพนมศก
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]จังหวัดบันทายมีชัยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ ได้แก่
- มงคลบุรี (មង្គលបុរី)
- พนมศก (ភ្នំស្រុក)
- พระเนตรพระ (ស្រុកព្រះនេត្រព្រះ)
- โอ-จเริว (អូរជ្រៅ)
- ศรีโสภณ (សិរីសោភ័ណ)
- ถมอปวก (ថ្មពួក)
- สวายเจก (ស្វាយចេក)
- มาลัย (ម៉ាឡៃ)
- ปอยเปต (ប៉ោយប៉ែត)
อาณาเขต
[แก้]- ทิศเหนือ จรดจังหวัดอุดรมีชัย และประเทศไทย
- ทิศใต้ จรด จังหวัดพระตะบอง
- ทิศตะวันตก จรดอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (ประเทศไทย)
- ทิศตะวันออก จรดจังหวัดเสียมราฐ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "General Population Census of Cambodia 2008 - Provisional population totals" (PDF). National Institute of Statistics, Ministry of Planning. 3 September 2008.
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ "กัมพูชาชอบไทย ชังสยาม สยาม เป็นชื่อดินแดน ไม่ใช่ชื่อชาติพันธุ์". มติชนรายวัน. 28 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)