ข้ามไปเนื้อหา

ความดันเลือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความดันเลือด

ความดันเลือด (อังกฤษ: blood pressure, ย่อ: BP) หรือที่เรียกว่า ความดันเลือดแดง เป็นความดันที่เกิดจากเลือดหมุนเวียนกระทำต่อผนังหลอดเลือด และเป็นหนึ่งในอาการแสดงชีพที่สำคัญ คำว่า "ความดันเลือด" โดยไม่เจาะจงปกติหมายถึง ความดันเลือดแดงของการไหลเวียนเลือดทั่วกาย ระหว่างหัวใจเต้นแต่ละครั้ง ความดันเลือดแปรผันระหว่างความดันสูงสุด (ช่วงการบีบตัวของหัวใจ) และความดันต่ำสุด (ช่วงหัวใจคลายตัว) ความดันเลือดในการไหลเวียนเลือดเกิดจากการสูบของหัวใจเป็นหลัก ผลต่างของความดันเลือดเฉลี่ยเป็นผลให้เลือดไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในการไหลเวียนเลือด อัตราการไหลของเลือดเฉลี่ยขึ้นอยู่กับทั้งความดันเลือดและความต้านทานต่อการไหลของหลอดเลือด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงเมื่อเลือดไหลเวียนเคลื่อนห่างจากหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดฝอย เนื่องจากการสูญเสียพลังงานกับความหนืด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงตลอดทั้งการไหลเวียนเลือด แม้ส่วนมากจะตกลงในหลอดเลือดแดงเล็กและหลอดเลือดแดงจิ๋ว (arteriole) ความโน้มถ่วงมีผลต่อความดันเลือดผ่านแรงอุทกสถิต (คือ ระหว่างยืน) และลิ้นในหลอดเลือดดำ การหายใจและการสูบจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อลายยังผลต่อความดันในหลอดเลือดดำ

การจำแนกความดันเลือดสำหรับผู้ใหญ่,[1][2]
หมวดหมู่ ความดันช่วงหัวใจบีบ, mm Hg ความดันช่วงหัวใจคลาย, mm Hg
ความดันเลือดต่ำ
< 90
< 60
ปกติ
90–119
60–79
ก่อนความดันเลือดสูง
120–139
80–89
ความดันเลือดสูงระยะที่ 1
140–159
90–99
ความดันเลือดสูงระยะที่ 2
160–179
100–109
ภาวะฉุกเฉินเหตุความดันเลือดสูง
≥ 180
≥ 110

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Understanding blood pressure readings". American Heart Association. 11 January 2011. สืบค้นเมื่อ 30 March 2011.
  2. Mayo Clinic staff (2009-05-23). "Low blood pressure (hypotension) – Causes". MayoClinic.com. Mayo Foundation for Medical Education and Research. สืบค้นเมื่อ 2010-10-19.