ครอสเบนช์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ครอสเบนเชอร์ (อังกฤษ: Crosbencher) เป็นคำเรียกสมาชิกในสภานิติบัญญัติที่เป็นสมาชิกอิสระ หรือสมาชิกพรรคการเมืองขนาดเล็ก เช่น ในสภาขุนนาง และในรัฐสภาออสเตรเลีย โดยนำคำเรียกมาจากบริเวณที่นั่งในสภา ซึ่งอยู่ตรงกลางตั้งฉากระหว่างที่นั่งของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน หรือครอสเบนช์ (Crossbench)

สหราชอาณาจักร[แก้]

สมาชิกครอสเบนช์ในสภาขุนนางคือสมาชิกที่ไม่เข้ากับพรรคการเมืองใดๆ[1] จนกระทั่งปี ค.ศ. 2009 รวมถึงสมาชิกที่เป็นขุนนางฝ่ายศาล นอกจากนี้ อดีตประธานสภาสามัญชน (เช่น ลอร์ดมาร์ตินแห่งสปริงเบิร์น และบารอเนสบูธรอยด์) และอดีตประธานสภาขุนนาง (เช่น บารอนเนสเฮย์แมน และบารอเนสดีซูซา) ตามจารีตแล้วจะต้องไม่ฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ ยังนั่งอยู่ในบริเวณครอสเบนช์ นอกจากนี้ยังมีสมาชิกสภาขุนนางซึ่งไม่สังกัดพรรคการเมืองที่ไม่ถือว่าเป็นกลุ่มครอสเบนช์ด้วยซึ่งรวมถึง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ได้แก่ ประธานสภาขุนนาง กับบุคคลอื่นๆ ซึ่งอยู่ในสังกัดพรรคการเมืองแต่ถูกลงโทษผู้คุมเสียงในสภาโดยการถอดถอน ถึงแม้ว่าจะเป็นสมาชิกที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง หรือสมาชิกพรรคขนาดเล็กในบางครั้งก็อาจจะนั่งในบริเวณครอสเบนช์ได้แต่ไม่ถือเป็นสมาชิกในกลุ่มครอสเบนช์ของรัฐสภา

ถึงแม้ว่าเหล่าขุนนางฝ่ายศาสนจักร (อัครมุขนายก และมุขนายกอาวุโสแห่งคริสตจักรอังกฤษ) จะไม่สังกัดพรรคการเมืองใดๆ แต่ก็ไม่ถือเป็นครอสเบนเชอร์ และไม่ได้นั่งบริเวณครอสเบนช์ โดยที่นั่งถูกจัดอยู่บริเวณฝั่งรัฐบาลด้านขุนนาง[2]

พรรคการเมืองใดๆ ที่สนับสนุนรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสัญญาความตกลงสนับสนุนรัฐบาล (confidence and supply) หรือ "พรรคฝ่ายค้านอิสระ" เช่น พรรคสหภาพประชาธิปไตยในรัฐสภาสมัย ค.ศ. 2017–2019 ไม่ถือว่าเป็นครอสเบนช์ แต่ถือเป็นเหมือนเหล่าพรรคตรงข้ามฝ่ายรัฐบาลซึ่งจะต้องนั่งบริเวณเดียวกันกับพรรคฝ่ายค้าน

ออสเตรเลีย[แก้]

ในวุฒิสภาออสเตรเลีย เหล่าครอสเบนเชอร์นั่งอยู่ในบริเวณระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน

ความหมายในออสเตรเลียนั้นหมายความถึงสมาชิกอิสระและสมาชิกพรรคการเมืองขนาดเล็กในรัฐสภาออสเตรเลียรวมถึงรัฐสภาแห่งรัฐและดินแดนต่างๆ ในประเทศออสเตรเลียอีกด้วย[3] โดยแตกต่างจากสหราชอาณาจักรตรงที่ในออสเตรเลียนั้นครอสเบนเชอร์คือ สมาชิกพรรคการเมืองและสมาชิกอิสระของทั้งสภาสูงและสภาล่างในรัฐสภาที่นั่งอยู่บริเวณครอสเบนช์[4]

นิวซีแลนด์[แก้]

ในสภาผู้แทนราษฎรนิวซีแลนด์ สมาชิกรัฐสภาที่สังกัดพรรคการเมืองที่ไม่ได้มีอุดมการณ์เดียวกันกับทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล (เช่น สมาชิกพรรคนิวซีแลนด์เฟิร์ส ในช่วงปี ค.ศ. 2011–2017) อาจเข้าข่ายเป็นครอสเบนเชอร์ได้[5][6] แต่พรรคการเมืองที่สนับสนุนรัฐบาลตามความตกลงสนับสนุนรัฐบาลจะถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลและนั่งอยู่บริเวณเดียวกับรัฐบาล และมักจะได้รับบทบาทสำคัญในรัฐบาล เช่น รัฐมนตรีที่ไม่รวมในคณะรัฐมนตรี หรือเลขาธิการกรรมาธิการรัฐสภา

อ้างอิง[แก้]

  1. "Cross benches". BBC NEWS | UK | UK Politics |. 14 August 2008. สืบค้นเมื่อ 22 April 2020.
  2. "A Brief History of the Crossbench Peers". Crossbenchpeers.org.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-18.
  3. "Australian federal election 2016: the crossbenchers likely to swing a hung Parliament". The Sydney Morning Herald. 2 July 2016. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  4. "Election 2016: Where do the crossbenchers stand on the major issues?". Australian Broadcasting Corporation. 10 July 2016. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  5. "New Zealand prepares to vote after 'strangest, dirtiest' election campaign". The Guardian. 18 September 2014.
  6. "John Armstrong: Winston becoming NZ's Churchill". The New Zealand Herald. 8 August 2015.