กูราปาตือ
กูราปาตือ (เบลารุส: Курапаты, ออกเสียง: [kuraˈpatɨ]) เป็นพื้นที่ป่าไม้ในย่านชานกรุงมินสค์ เมืองหลวงของประเทศเบลารุส กูราปาตือเป็นจุดที่มีผู้คนจำนวนมากถูกประหารชีวิตระหว่างปี 1937 ถึง 1941 ในสมัยการฆ่าล้างครั้งใหญ่โดยตำรวจลับเอนคาเวเดของสหภาพโซเวียต[1]
จำนวนเหยื่อไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากข้อมูลจดหมายเหตุของเอนคาเวเดจัดเป็นข้อมูลลับในเบลารุส[2] ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ประมาณจำนวนผู้ที่ถูกสังหารในกูราปาตืออยู่ที่อย่างน้อย 30,000 ราย (ข้อมูลจากตาร์เนาสกี อัยการสูงสุดแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย) ไปจนถึง 100,000 ราย (จากหนังสืออ้างอิง เบลารุส)[2][3] หรือจาก 102,000 ถึง 250,000 ราย (ข้อมูลจากแฌโนน ปัฌแญก ในหนังสือพิมพ์ ลีตาราตูรายีมัสตัตส์ตวา),[4][5] 250,000 ราย (ข้อมูลจากซจิสวัฟ ยูเลียน วินญิตสกี ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยวรอตสวัฟ)[6] หรือมากกว่านี้ (ตามข้อมูลของนอร์แมน เดวีส์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ)[7] เหยื่อส่วนใหญ่ที่ถูกสังหารที่กูราปาตือเป็นปัญญาชน[1]
ในปี 2004 สุสานหมู่แห่งกูราปาตือได้รับการขึ้นทะเบียนสมบัติทางวัฒนธรรมแห่งเบลารุส ในประเภทมรดกวัฒนธรรมกลุ่ม 1[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Gaidamavičius, Giedrius (4 April 2021). "Belarus had a chance to follow Lithuania's footsteps. What happened?". Lrt.lt (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
- ↑ 2.0 2.1 Памяць і забыцьцё Курапатаў // RFE/RL, 28.10.2009
- ↑ Даведнік «Беларусь». – Мн.: «Беларуская энцыкляпэдыя», 1995.
- ↑ З. Пазьняк, Я. Шмыгалёў, М. Крывальцэвіч, А. Іоў. Курапаты. – Мн.: Тэхналогія, 1994.
- ↑ Kurapaty // Zaprudnik, Jan. Historical Dictionary of Belarus. — Lamham. — London: Scarecrow Press, 1998. p. 139.
- ↑ Zdzisław J. Winnicki. Szkice kojdanowskie. – Wrocław: Wydawnictwo GAJT, 2005. ISBN 8388178261. — С. 77—78.
- ↑ Norman Davies. Powstanie '44. – Kraków: Wydawnictwo Znak, 2004. ISBN 8324004599. – С. 195
- ↑ Постановлениe Министерства культуры № 15 «О зонах охраны материальной недвижимой историко-культурной ценности «Место уничтожения жертв политических репрессий 30-40-х годов XX века в урочище Куропаты» (2004)