ข้ามไปเนื้อหา

การป้องกันโกดังซื่อหาง

พิกัด: 31°14′32″N 121°27′59″E / 31.242183°N 121.466298°E / 31.242183; 121.466298
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การป้องกันโกดังซื่อหาง
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ใน
the สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
วันที่26 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937
สถานที่31°14′32″N 121°27′59″E / 31.242183°N 121.466298°E / 31.242183; 121.466298
ผล การรบยุติลงภายหลังจากการถอนกำลังของกองทัพจีนเข้าไปยังเขตสัปทานของบริติชในวันที่ 1 พฤศจิกายน
คู่สงคราม
 สาธารณรัฐจีน  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เชีย จินหยวน จักรวรรดิญี่ปุ่น โอคุจิ เด็นชิจิ
กำลัง

กองพลที่ 88

  • กองพันที่ 1 กรมทหารที่ 524: ~800 (452 นาย)

หน่วยยกพลขึ้นบกพิเศษเซี่ยงไฮ้

  • กองพันที่ 10 (กำลังเสริม)
  • กองพันที่ 8 และ กองพันที่ 9
ความสูญเสีย
จีนกล่าวอ้างว่า:
ถูกสังหาร 10 นาย
บาดเจ็บ 37 นาย
ญี่ปุ่นกล่าวอ้างว่า:
ถูกสังหาร 1 นาย
บาดเจ็บ 41 นาย[1][2]

การป้องกันโกดังซื่อหาง เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 และเป็นจุดเริ่มต้นของการยุติของการรบที่เซี่ยงไฮ้เป็นเวลาสามเดือนในช่วงเริ่มต้นของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เหล่าทหารที่คอยปกป้องโกดังแห่งนี้ได้ต่อสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นจำนวนมากมายและทำการปิดล้อมกองทัพจีนที่ถอยร่นไปทางตะวันตกในช่วงระหว่างยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ การป้องกันโกดังที่ประสบความสำเร็จทำให้เกิดการปลอบขวัญกำลังใจแก่กองทัพจีนและประชาชนในผลพวงที่ทำให้หมดกำลังใจจากการรุกรานเซี่ยงไฮ้ของญี่ปุ่น ที่ตั้งของโกดังอยู่ตรงข้ามลำคลองซูโจวจากเขตสัมปทานของต่างชาติในเซี่ยงไฮ้ซึ่งหมายถึงการต่อสู้รบที่เกิดขึ้นในมุมมองเต็มรูปแบบของมหาอำนาจตะวันตก

มันอยู่ตรงข้ามกับเขตสัมปทานของต่างชาติในเซี่ยงไฮ้ และญี่ปุ่นไม่กล้าที่จะเรียกให้มีการโจมตีด้วยปืนใหญ่จากทางเรือในพื้นที่นี้ได้ เนื่องจากกระสุนปืนใหญ่อาจจะไปตกลงใส่เขตสัมปทานเข้าและก่อให้เกิดกรณีข้อพิพาทกับชาวยุโรปและชาวอเมริกัน ซึ่งญี่ปุ่นต้องการที่จะหลีกเลี่ยงสงคราม ยิ่งไปกว่านั้น ญี่ปุ่นไม่กล้าที่จะใช้แก๊สมัสตาร์ดเหมือนกับที่พวกเขาทำที่อื่นๆ ในเซี่ยงไฮ้ ในมุมมองของมหาอำนาจต่างชาติ ด้วยความใกล้ชิดนี้ได้ดึงดูดความสนใจ หากเป็นเพียงช่วงเวลาอันสั้น ๆ ของประชาคมระหว่างประเทศต่อคำเชิญชวนของเจียง ไคเชก สำหรับการสนับสนุนทั่วโลกเพื่อต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น

ในจีน ทหารผู้ปกป้องจำนวน 452 นายที่เป็นที่รู้จักกันในนามว่า วีรบุรุษแปดร้อยนาย เนื่องจากผู้บัญชาการทหารนามว่า เชีย จินหยวน ไม่ต้องการที่จะเปิดเผยความแข็งแกร่งที่แท้จริงของพวกเขาแก่ญี่ปุ่นจึงได้บอกจำนวนตัวเลขที่เกินจริงแก่มัคคุเทศก์สาวนามว่า หยาง ฮัวหมิ่น เพื่อประกาศให้สาธารณชนได้รับรู้

  1. "11.閘北進撃戦(10月27日)". Japan Center for Asian Historical Records. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.
  2. 支那事変尽忠録 第三卷. 海軍省教育局. p. 231-234. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.