ข้ามไปเนื้อหา

การประท้วงในประเทศโคลอมเบีย พ.ศ. 2564

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประท้วงในประเทศโคลอมเบีย พ.ศ. 2564
ตามเข็มนาฬิกา:
การประท้วงในกาลิเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564, ผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่งนั่งอยู่หน้าทางเข้าโบสถ์นักบุญโยเซฟในเอลโปบลาโด, ผู้ประท้วงกำลังล้างแก๊สน้ำตาออกจากดวงตา, นักปกป้องสิทธิมนุษยชนสังเกตการณ์การตอบสนองของเจ้าหน้าที่
วันที่28 เมษายน 2564 – ยังคงดำเนินอยู่ (3 ปี 6 เดือน 2 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่โคลอมเบีย
สาเหตุ
เป้าหมาย
  • การถอนข้อเสนอปฏิรูปภาษี
  • การถอนข้อเสนอปฏิรูประบบสุขภาพ
  • การลาออกของประธานาธิบดีดูเก
วิธีการการนัดหยุดงาน, การประท้วง, การเดินขบวน, การดื้อแพ่ง, การต่อต้านอย่างสงบ, การเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต, การจลาจล
สถานะยังคงดำเนินอยู่
คู่ขัดแย้ง

ผู้ประท้วง


  • สหภาพผู้ใช้แรงงานกลาง (กุต)
  • สมาพันธ์แรงงานใหญ่ (เซเฮเต)
  • สมาพันธ์ผู้ใช้แรงงานโคลอมเบีย (เซเตเซ)
  • สหพันธ์คนทำงานด้านการศึกษาแห่งโคลอมเบีย (เฟโกเด)
  • ดิกนิดัดอาโกรเปกัวเรีย
  • กรูซาดากามิโอเนรา
ผู้นำ
ผู้นำทางสังคมและฝ่ายค้าน
จำนวน
หลายหมื่นคน
หลายพันนาย
ความเสียหาย
เสียชีวิต19–27 คน
บาดเจ็บมากกว่า 800 คน
ถูกจับกุมมากกว่า 500 คน

การประท้วงในประเทศโคลอมเบีย พ.ศ. 2564 (สเปน: protestas en Colombia de 2021) หรือ การนัดหยุดงานทั่วประเทศโคลอมเบีย พ.ศ. 2564 (Paro Nacional en Colombia de 2021) เป็นชุดของการประท้วงที่ยังคงดำเนินอยู่โดยเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2564 เพื่อต่อต้านข้อเสนอการจัดเก็บภาษีเพิ่มและการปฏิรูประบบสุขภาพของรัฐบาลประธานาธิบดีอิบัน ดูเก มาร์เกซ การริเริ่มปฏิรูปภาษีได้รับการเสนอเพื่อสมทบทุนเข้า อิงเกรโซโซลิดาริโอ ซึ่งเป็นแผนสวัสดิการรายได้พื้นฐานถ้วนหน้าที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในโคลอมเบีย ในขณะที่ร่างกฎหมายที่ 010 เสนอให้มีการแปรรูประบบสุขภาพในโคลอมเบียไปเป็นของเอกชน[2][3][4][5][6]

ในขณะที่ศาลต่าง ๆ ได้คาดไว้ล่วงหน้าว่าจะเกิดการประท้วงขึ้นอย่างกว้างขวางและได้เพิกถอนการอนุญาตให้มีการเดินขบวนเนื่องจากกังวลว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 เพิ่มขึ้น แต่การประท้วงก็เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในวันที่ 28 เมษายน ในเมืองใหญ่อย่างโบโกตาและกาลิ ผู้ประท้วงจำนวนหลายพันถึงหลายหมื่นคนออกไปยังท้องถนนโดยปะทะกับเจ้าหน้าที่ในบางกรณี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหกคน การประท้วงขยายวงอย่างต่อเนื่องในอีกไม่กี่วันถัดมา และท่ามกลางคำสัญญาของดูเกที่จะปรับปรุงแผนภาษีใหม่ การประท้วงก็มาถึงจุดสูงสุดในวันที่ 1 พฤษภาคมซึ่งเป็นวันผู้ใช้แรงงานสากล เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ดูเกประกาศว่าเขาจะถอนแผนภาษีใหม่ทั้งหมดออกไปแต่ไม่ได้ประกาศแผนใหม่ที่เป็นรูปธรรม และการประท้วงยังคงดำเนินต่อไป สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและฮิวแมนไรตส์วอตช์สังเกตพบการปฏิบัติต่อผู้ประท้วงโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่อดีตประธานาธิบดีอัลบาโร อูริเบ เบเลซ เรียกร้องให้ประชาชนแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับตำรวจและทหาร

การประท้วงด้วยสาเหตุเดียวกันนี้ยังเกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ เช่น ชิลี แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี โปรตุเกส สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร สหรัฐ เป็นต้น[7]

ประท้วงในเมืองเมเดลลิน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Álvaro Uribe llama al Ejército a que utilice las armas en las protestas en Colombia". El Pais. สืบค้นเมื่อ 4 May 2021.
  2. Semana (29 April 2021). "Paro Nacional: así titularon los medios internacionales la jornada de protesta en Colombia". Semana.com Últimas Noticias de Colombia y el Mundo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 1 May 2021.
  3. "Miles de personas marchan en Colombia en protesta por la reforma tributaria en medio de un grave repunte de casos de coronavirus". BBC News Mundo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 1 May 2021.
  4. "Thousands march in Colombia in fourth day of protests against tax plan". Reuters. 1 May 2021. สืบค้นเมื่อ 1 May 2021.
  5. Rauls, Leonie (29 April 2021). "Could Colombia's Protests Derail its Basic Income Experiment?". Americas Quarterly (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2 May 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Armando Benedetti anuncia que pedirá el retiro de la reforma a la salud". infobae (ภาษาสเปนแบบยุโรป). 2 May 2021. สืบค้นเมื่อ 3 May 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. Heraldo, El. "Colombianos radicados en el extranjero se unieron al paro nacional". EL HERALDO (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.