รายได้พื้นฐาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายได้มูลฐาน (อังกฤษ: basic income)[เชิงอรรถ 1] เป็นการจ่ายเงินสดเป็นระยะแก่ทุกคนในระดับปัจเจกบุคคล โดยไม่มีการตรวจสอบสิทธิ (means test) หรือข้อกำหนดการทำงาน[1] รายได้ดังกล่าวมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ไม่มีเงื่อนไข: รายได้มูลฐานจะแปรผันตามอายุ แต่ไม่ขึ้นกับเงื่อนไขอื่น ฉะนั้นทุกคนรุ่นราวคราวเดียวกันจะได้รับรายได้มูลฐานเท่ากัน ไม่ว่าเป็นเพศ มีสถานภาพการจ้างงาน โครงสร้างครอบครัว การมีส่วนร่วมต่อสังคม ราคาเคหะเป็นอย่างไร เป็นต้น
  • อัตโนมัติ: จะมีการจ่ายรายได้มูลฐานของบุคคลรายสัปดาห์หรือรายเดือนโดยอัตโนมัติเข้าบัญชีธนาคารหรือช่องทางคล้ายกัน
  • ไม่สามารถเพิกถอนได้: ไม่มีการตรวจสอบสิทธิผู้ได้รับรายได้มูลฐาน คือ รายได้มูลฐานจะไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่ารายรับของบุคคลเพิ่มขึ้น ลดลงหรือคงเดิม
  • เป็นปัจเจก: จะจ่ายรายได้มูลฐานโดยคิดตามรายบุคคล ไม่ใช่คิดตามคู่สมรสหรือครัวเรือน
  • เป็นสิทธิ: ผู้อยู่อาศัยตามกฎหมายทุกคนจะได้รับรายได้มูลฐาน โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาการอยู่อาศัยตามกฎหมายขั้นต่ำ และการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนใหญ่ของปี[2]

รายได้มูลฐานสามารถนำไปปฏิบัติทั้งในระดับชาติ ภูมิภาคหรือท้องถิ่นก็ได้ รายได้ไม่มีเงื่อนไขซึ่งเพียงพอต่อความต้องการพื้นฐานของบุคคล (ณ หรือเหนือเส้นความยากจน) บางทีเรียกรายได้มูลฐานสมบูรณ์ (Full Basic Income) แต่ถ้ามีน้อยกว่าปริมาณดังกล่าว บางทีเรียก รายได้มูลฐานบางส่วน (Partial Basic Income) ระบบสวัสดิการซึ่งมีลักษณะคล้ายกับรายได้มูลฐาน คือ ภาษีเงินได้เป็นลบ (negative income tax) ซึ่งการจัดสรรเงินของรัฐบาลจะค่อย ๆ ลดลงตามรายได้จากแรงงานที่เพิ่มขึ้น

ระบบสวัสดิการบางระบบที่สัมพันธ์กับรายได้มูลฐานแต่มีเงื่อนไขบางประการ สำหรับระบบที่เพิ่มรายได้ครัวเรือนให้ถึงค่าขั้นต่ำที่เจาะจง เรียก ระบบรายได้ขั้นต่ำที่ได้รับประกัน (guaranteed minimum income) เช่น บอลซาฟามิเลีย (Bolsa Família) ในประเทศบราซิลถูกจำกัดให้ครอบครัวยากจนและกำหนดให้เด็กเข้าโรงเรียน[3]

การอภิปรายทางการเมืองหลายอย่างเกี่ยวข้องกับการอภิปรายรายได้มูลฐาน ตัวอย่างเช่น การอภิปรายเกี่ยวกับการใช้หุ่นยนต์แทนแรงงาน ปัญญาประดิษฐ์และอนาคตของงาน ประเด็นสำคัญหนึ่งในการอภิปรายเหล่านี้มีว่า การใช้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะลดจำนวนงานที่ว่างอยู่อย่างสำคัญ มักปรากฏข้อเสนอรายได้มูลฐานในการอภิปรายเหล่านี้

ทัศนคติในการอภิปรายรายได้มูลฐาน[แก้]

อัตโนมัติกรรม[แก้]

การอภิปรายเกี่ยวกับรายได้มูลฐานและอัตโนมัติกรรมมีความเชื่อมโยงใกล้ชิด ตัวอย่างเช่น มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กให้เหตุผลว่าการทำให้อัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความต้องการรายได้มูลฐานมากขึ้น ความกังวลเกี่ยวกับอัตโนมัติกรรมทำให้หลายคนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงให้เหตุผลสำหรับรายได้มูลฐานเป็นการส่อความของแบบจำลองธุรกิจของพวกตน

นักเทคโนโลยีจำนวนมากเชื่อว่าอัตโนมัติกรมกำลังสร้างการว่างงานทางเทคโนโลยี บางการศึกษาเกี่ยวกับอัตโนมัติกรรมและอาชีพทำให้ความกังวลเหล่านี้สมเหตุสมผล ในรายงานของทำเนียบขาวสหรัฐต่อรัฐสภาสหรัฐประเมินว่าคนงานที่มีรายได้น้อยกว่า 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมงในปี 2553 สุดท้ายจะเสียงานแก่เครื่องจักรโดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 83 กระทั่งคนงานที่มีรายได้ถึง 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมงยังมีโอกาสเสียงานร้อยละ 31[4] หากอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ชุมชนยากจนจะยิ่งแร้นแค้นมากขึ้น ผู้สนับสนุนรายได้มูลฐานถ้วนหน้าให้เหตุผลว่ารายได้ดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาระดับโลกได้หลายอย่าง เช่น ความเครียดจากงานสูง และสร้างโอกาสมากขึ้น และงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การศึกษาบางอย่างสนับสนุนคำกล่าวอ้างนี้ ในการศึกษาหนึ่งในดอฟิน รัฐแมนิโทบา มีแรงงานลดลงจากจำนวนคาดหมายที่สูงกว่ามากเพียงร้อยละ 13[5] ในการศึกษาในหมู่บ้านหลายแห่งในประเทศอินเดีย รายได้มูลฐานในภูมิภาคนั้นเพิ่มอัตราการศึกษาของเยาวชนร้อยละ 25[6]

นอกจากการว่างงานทางเทคโนโลยีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมเทคโนโลยีบางคนยังกังวลว่าอัตโนมัติกรรมจะบ่อนทำลายเสถียรภาพของตลาดแรงงานหรือเพิ่มความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างหนึ่งได้แก่ คริส ฮิวจ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กและโครงการความมั่นคงทางเศรษฐกิจ อัตโนมัติกรรมทำให้คนงานที่ใช้เวลาทั้งชีวิตเรียนรู้ทักษะซึ่งกลายมาล้าสมัยและบีบให้พวกเขาเป็นแรงงานไร้ฝีมือ Paul Vallée ผู้ประกอบการเทคโนโลยีชาวแคนาดาและซีอีโอของ Pythian ให้เหตุผลว่าอัตโนมัติกรรมอย่างน้อยมีโอกาสเพิ่มความยากจนและลดการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมมากกว่าการสร้างอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ่นเรื่อย ๆ ในสมัชชาการประกันรายได้มูลฐานทวีปอเมริกาเหนือปี 2559 ในวินนีเพก Vallée ใช้ทาสเป็นตัวอย่างในอดีตซึ่งทุน (ทาสแฟริกา) สามารถทำงานอย่างเดียวกับผู้ใช้แรงงานมนุษย์ทำได้ (คนขาวยากจน) เขาพบว่าทาสไม่ได้ก่อให้เกิดการว่างงานขนานใหญ่ในหมู่คนขาวยากจน แต่มีควาไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมลดลง[7]

พฤติกรรมไม่ดี[แก้]

บ้างกังวลว่าบางคนจะใช้รายได้มูลฐานกับแอลกอฮอลและยาเสพติดอย่างอื่น[8][9] ทว่า การศึกษาผลกระทบของโครงการโอนเงินโดยตรงกลับมีหลักฐานตรงกันข้าม บทปฏิทรรศน์การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ 30 การศึกษาของธนาคารโลกในปี 2557 สรุปว่า ไม่พบความกังวลเกี่ยวกับการใช้การโอนเงินไปกับการบริโภคแอลกอฮอลและยาสูบ[10]

การเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจหลังทุนนิยม[แก้]

แฮร์รี ชัต (Harry Shutt) นักเศรษฐศาสตร์ เสนอรายได้มูลฐานและมาตรการอื่นเพื่อทำให้วิสาหกิจทั้งหมดหรือส่วนใหญ่เป็นของส่วนร่วมแทนเอกชน มาตรการเหล่านี้จะสร้างระบบเศรษฐกิจหลังทุนนิยม[11]

Erik Olin Wright แสดงลักษณะของรายได้มูลฐานเป็นโครงการสำหรับปฏิรูปทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งเสริมกำลังแรงงานเมื่อเทียบกับทุน ทำให้แรงงานมีอำนาจต่อรองกับนายจ้างมากขึ้นในตลาดแรงงาน ซึ่งสามารถค่อย ๆ ลดการทำให้แรงงานเป็นโภคภัณฑ์โดยการแยกงานจากรายได้ เช่นนี้จะทำให้มีการขยายในขอบเขตของ "เศรษฐกิจสังคม" โดยให้พลเมืองมีหนทางมากขึ้นในการดำเนินกิจกรรม (เช่น การเอาดีทางด้านศิลปะ) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดค่าตอบแทนเป็นเงินปริมาณมาก[12]

James Meade สนับสนุนแผนเงินปันผลสังคมที่จัดหาทุนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดผลของรัฐ[13] Russell ให้เหตุผลสนับสนุนรายได้มูลฐานร่วมกับความเป็นเจ้าของสาธารณะว่าเป็นหนทางลดวันทำงานโดยเฉลี่ยและการบรรลุการจ้างงานเต็มอัตรา[14] นักเศรษศาสตร์และนักสังคมวิทยาสนับสนุนรายได้มูลฐานรูปแบบหนึ่งว่าเป็นหนทางกระจายกำไรทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจของรัฐเพื่อให้ประชากรทั้งหมดได้ประโยชน์ โดยที่การจ่ายรายได้มูลฐานเป็นตัวแทนของการคืนทุนที่สังคมเป็นเจ้าของแก่พลเมืองทุกคน ระบบเหล่านี้จะได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่รัฐเป็นเจ้าของและปรากฏเป็นองค์ประกอบสำคัญของแบบจำลองสังคมนิยมตลาดหลายแบบจำลอง[15]

Guy Standing เสนอให้จัดหาเงินทุนแก่เงินปันผลสังคมจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่รับผิดชอบแบบประชาธิปไตยซึ่งตั้งขึ้นเป็นหลักจากเงินรายได้ที่เก็บภาษีเอากับรายได้ของผู้มีรายได้ประจำจากการเป็นเจ้าของหรือควบคุมสินทรัพย์ ทั้งทางกายภาพ การเงินและปัญญา[16][17]

Herman Daly ซึ่งถือเป็นผู้ก่อตั้ง ecologism คนหนึ่ง ให้เหตุผลสนับสนุนเศรษฐกิจเติบโตเป็นศูนย์เป็นหลักภายในขีดจำกัดนิเวศวิทยาของโลก แต่ให้มีเศรษฐกิจแบบเขียวและยั่งยืน รวมทั้งสวัสดิการเศรษฐกิจและหลักประกันพื้นฐานแก่ทุกคน เขาเขียนเกี่ยยวกับความจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบทุนนิยมเชิงโครงสร้าง รวมทั้งรายได้มูลฐาน การปฏิรูปการเงิน ภาษีมูลค่าที่ดิน การปฏิรูปการค้าและภาษีสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น เขามองว่ารายได้มูลฐานเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่าสู่ระบบเขียวและยั่งยืนมากขึ้น

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ชื่ออื่น เช่น การรับประกันรายได้มูลฐาน (basic income guarantee), รายได้พลเมือง (citizen's income), รายได้มูลฐานไร้เงื่อนไข (unconditional basic income), รายได้มูลฐานถ้วนหน้า (universal basic income), เงินประจำครองชีพมูลฐาน (basic living stipend) หรือการให้ความคุ้มครองถ้วนหน้า (universal demogrant)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "BIEN | Basic Income Earth Network". BIEN. สืบค้นเมื่อ 8 January 2019.
  2. "What Is It? – Citizen's Income". สืบค้นเมื่อ 8 January 2019.
  3. Mattei, Lauro; Sánchez-Ancochea, Diego (2011). "Bolsa Família, poverty and inequality: Political and economic effects in the short and long run". Global Social Policy: 1. สืบค้นเมื่อ 12 February 2018.
  4. https://obamawhitehouse.archives.gov/sites/default/files/docs/ERP_2016_Book_Complete%20JA.pdf whitehouse
  5. Forget, Evelyn L. (2011). "The Town With No Poverty: The Health Effects of a Canadian Guaranteed Annual Income Field Experiment". Canadian Public Policy. 37 (3): 283–305. doi:10.3138/cpp.37.3.283.
  6. Roy, Abhishek. "Part 2 of SPI's Universal Basic Income Series". Sevenpillarsinstitute.org. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
  7. "Paul Vallee, Basic Income, for publication". Google Docs. สืบค้นเมื่อ 28 May 2017.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Sheahen, Allan 2012
  9. Koga, Kenya. "Pennies From Heaven." Economist 409.8859 (2013): 67–68. Academic Search Complete. Web. 12 April 2016.
  10. David K. Evans, Anna Popova (1 May 2014). "Cash Transfers and Temptation Goods: A Review of Global Evidence. Policy Research Working Paper 6886" (PDF). The World Bank. Office of the Chief Economist.: 1–3. สืบค้นเมื่อ 18 December 2017. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. Shutt, Harry (15 March 2010). Beyond the Profits System: Possibilities for the Post-Capitalist Era. Zed Books. p. 124. ISBN 978-1-84813-417-1. a flat rate payment as of right to all resident citizens over the school leaving age, irrespective of means of employment status...it would in principle replace all existing social-security entitlements with the exception of child benefits.
  12. Wright, Erik Olin. "Basic Income as a Socialist Project," เก็บถาวร 2019-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน paper presented at the annual US-BIG Congress, 4 – 6 March 2005 (University of Wisconsin, March 2005).
  13. "Basic Income". Media Hell. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-28. สืบค้นเมื่อ 9 December 2012.
  14. Russell, Bertrand. Roads to Freedom. Socialism, Anarchism and Syndicalism, London: Unwin Books (1918), pp. 80–81 and 127
  15. Marangos, John (2003). "Social Dividend versus Basic Income Guarantee in Market Socialism". International Journal of Political Economy. 34 (3): 20–40. doi:10.1080/08911916.2004.11042930. JSTOR 40470892.
  16. Standing, Guy (April 5, 2017). Basic Income: And how we can make it happen. [London] UK: Pelican Books. ISBN 9780141985480. OCLC 993361670.
  17. Standing, Guy (2016). The Corruption of Capitalism: Why rentiers thrive and work does not pay. London: Biteback Publishing. ISBN 9781785900440. OCLC 954428078.