ข้ามไปเนื้อหา

การครอบงำกิจการสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด พ.ศ. 2564

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
The Public Investment Fund of Saudi Arabia purchased an 80% stake in Newcastle United[1]

การครอบงำกิจการสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด พ.ศ. 2564 เป็นการซื้อกิจการโดยกลุ่มนักลงทุนที่ประกอบด้วย พีซีพี แคปิตอล พาร์ตเนอร์ส ของ อแมนดา สเตฟลีย์, พี่น้องรูเบน และ กองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะ ของซาอุดีอาระเบีย กระบวนการเทคโอเวอร์เริ่มขึ้นในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2020 และได้ข้อสรุปในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2021[1][2]

กระบวนการเทคโอเวอร์กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวด้วยเหตุผลหลายประการ มันยังก่อให้เกิดการถกเถียงในวงกว้างเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างประเทศระหว่างซาอุดีอาระเบีย และกาตาร์ เกี่ยวกับสัญญาณถ่ายทอดสดพรีเมียร์ลีก ซึ่งมีบีอินสปอตส์ของกาตาร์เป็นผู้ถือสิทธิ์ทั้งหมดในตะวันออกกลาง[3] แม้จะมีการแทรกแซงจากผู้นำอย่าง บอริส จอห์นสัน (นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร)[4] และรัฐบาลของกาตาร์[5] กระบวนการเทคโอเวอร์ก็ดำเนินต่อไปโดยคาดการว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2020[6][1]

เมษายน 2020 ถึง กรกฎาคม 2020: การยื่นเรื่องขั้นต้น

[แก้]

เมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2020 ปรากฏว่ามีการยื่นคำร้องต่อพรีเมียร์ลีกโดยกลุ่มนักลงทุนที่ประกอบด้วย พีซีพี แคปิตอล พาร์ตเนอร์ส, พี่น้องรูเบน และ กองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะ ของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีมูลค่า 300 ล้านปอนด์สำหรับการซื้อ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด จาก ไมค์ แอชลีย์[2] การตัดสินใจขั้นสุดท้ายมาจากคณะกรรมการพรีเมียร์ลีก ซึ่งประกอบด้วย Gary Hoffman (ประธาน), Richard Masters (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) และ Kevin Beeston (กรรมการอิสระ)[7]

การเสนอราคาดึงความขัดแย้งจากบุคคลที่สาม ฝ่ายดังกล่าวคือ บีอิน สื่อของกาตาร์ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดการแข่งขันพรีเมียร์ลีกในภูมิภาค MENA ซึ่งเป็นสัญญามูลค่าสูงสุดของลีกในต่างประเทศและมีกำหนดจะต่ออายุในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020[8] บีอิน มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทระหว่าง กาตาร์และซาอุดีอาระเบีย เกี่ยวกับข้อกล่าวหาว่ากาตาร์สนับสนุนการก่อการร้าย โดยที่ บีอิน ถูกห้ามออกอากาศในซาอุดีอาระเบียโดยรัฐบาลซาอุดีอาระเบียตั้งแต่กลางปี ​​ค.ศ. 2017[9] นอกจากนี้ รายงานของ องค์การการค้าโลก ที่เผยแพร่ในปี ค.ศ. 2020 ได้กล่าวหารัฐบาลซาอุดีอาระเบียว่าไม่ทำอะไรเพื่อป้องกันการสตรีมรายการของ บีอินสปอตส์ อย่างผิดกฎหมายในซาอุดีอาระเบียผ่านบริการ beoutQ beoutQ ถูกปิดตัวลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019 แต่ได้สร้างความเสียหายทางการเงินอย่างหนักให้กับ บีอิน[3][10]

ดังนั้น ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 Yousef Al-Obaidly - ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ beIN - ได้เขียนอีเมลถึง พรีเมียร์ลีก และสโมสรสมาชิกทั้งหมดเรียกร้องให้มีการสกัดกั้นการครอบงำกิจการของ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด[11] เขายังแนบจดหมายจากที่ปรึกษากฎหมายของ บีอินสปอตส์ สเตฟาน นาธาน โดยกล่าวว่ารัฐบาลราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียได้สนับสนุน beoutQ และรัฐบาลจะกลายเป็นเงาของนิวคาสเซิลหากการเทคโอเวอร์ได้รับการอนุมัติ[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Newcastle takeover completed: Saudi-led consortium end Mike Ashley's 14-year ownership". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 2021-10-07.
  2. 2.0 2.1 "Newcastle United takeover deal worth £300m close". BBC. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  3. 3.0 3.1 "Newcastle takeover could be complicated by WTO ruling on Saudi Arabia". BBC. สืบค้นเมื่อ 2021-08-08.
  4. "Newcastle: Boris Johnson backs calls for Premier League statement on failed takeover". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  5. "Saudi takeover of Newcastle United hinges on lifting blockade on Qatar". Middle East Monitor. สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.
  6. "Explained: What is football's fit and proper person test?". The Athletic. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  7. "Premier League may expand board over diversity targets after announcing 'No Room For Racism' action plan". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 2021-08-25.
  8. "Qatar's beIN sport renews English Premier League contract despite sole opposition". Middle East Monitor. สืบค้นเมื่อ 2021-08-08.
  9. "Saudi Arabia permanently cancels license of Qatar's beIN Sports". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  10. "beoutQ: Notorious pirate is down, but its echo reverberates". Piracy Monitor. สืบค้นเมื่อ 2021-08-08.
  11. "Qatar's beIN demands Premier League blocks Saudi takeover of Newcastle". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 2021-08-08.
  12. "Lawyer's report urges Premier League to block Newcastle takeover". The Times. สืบค้นเมื่อ 2021-08-08.