ข้ามไปเนื้อหา

กระรอกสวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระรอกสวน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Rodentia
วงศ์: Sciuridae
สกุล: Callosciurus
สปีชีส์: C.  erythraeus
ชื่อทวินาม
Callosciurus erythraeus
(Pallas, 1779)
ชนิดย่อย
  • C. e. atrodorsalis
  • C. e. bartoni
  • C. e. bhutanensis
  • C. e. bonhotei
  • C. e. castaneoventris
  • C. e. erythraeus
  • C. e. erythrogaster
  • C. e. flavimanus
  • C. e. gloveri
  • C. e. gordoni
  • C. e. griseimanus
  • C. e. harringtoni
  • C. e. hendeei
  • C. e. hyperythrus
  • C. e. intermedius
  • C. e. michianus
  • C. e. ningpoensis
  • C. e. pranis
  • C. e. rubeculus
  • C. e. schanicus
  • C. e. siamensis
  • C. e. sladeni
  • C. e. styani
  • C. e. thai
  • C. e. thaiwanensis
  • C. e. zimmeensis
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Callosciurus cinnamomeiventris (Swinhoe, 1862)
  • Callosciurus cucphuongis Dao Van Tien, 1965
  • Callosciurus dabshanensis Xu & Chen, 1989
  • Callosciurus gongshanensis Wang, 1981
  • Callosciurus griseopectus (Blyth, 1847)
  • Callosciurus quinlingensis Xu & Chen, 1989
  • Callosciurus tsingtauensis (Hilzheimer, 1906)
  • Callosciurus wuliangshanensis Li & Wang, 1981

กระรอกสวน หรือ กระรอกท้องแดง (อังกฤษ: Pallas's squirrel, Red-bellied squirrel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Callosciurus erythraeus) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง เป็นกระรอกขนาดกลาง มีขนาดเล็กกว่ากระรอกหลากสี (C. finlaysonii) เล็กน้อย ทั่วไปลำตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียว ลำตัวส่วนล่างขนสีน้ำตาลแดง, ส้ม หรือสีเหลืองนวล แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ถึง 20 ชนิดย่อย บางชนิดย่อยมีปื้นสีดำบริเวณหลังส่วนท้าย หางเป็นพวงสวยงาม มีสีแถบสีเนื้อจาง ๆ สลับดำ บางชนิดย่อยปลายหางมีสีดำ บางชนิดย่อยปลายหางเป็นสีอ่อน มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 20-26 เซนติเมตร ความยาวหาง 20 เซนติเมตร

กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ ภูฏาน อินเดีย จีน ประเทศไทย ลาว เวียดนาม คาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย ปจนถึงเอเชียตะวันออกอย่างไต้หวัน ญี่ปุ่น

กระรอกสวนกินผลไม้และลูกไม้ต่าง ๆ เป็นอาหารรวมถึงสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ อย่างแมลงและหนอน หากินและอาศัยเป็นหลักบนต้นไม้ พบได้ในหลายพื้นที่ทั้งสวนสาธารณะและเมืองใหญ่[2] นับเป็นกระรอกที่พบได้มากและบ่อยที่สุดในประเทศไทย พบมากตามสวนผลไม้หรือสวนมะพร้าว มักถูกกำจัดหรือจับมาขายเพราะทำลายพืชผล จัดเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่ง ตามปกติจะอาศัยและหากินตามลำพัง เวลาหากินจะเป็นเวลากลางวัน สามารถแทะกินเปลือกไม้เปลือกแข็งหรือผลไม้เปลือกแข็งได้[3]

นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง หากเลี้ยงตั้งแต่เล็ก ๆ ขณะยังไม่หย่านม จะเชื่องกับผู้เลี้ยง ถูกนำไปเป็นสัตว์เลี้ยงในหลายประเทศ จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น และไม่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทยแต่ประการใด[4] [2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Duckworth, J. W., Timmins, R. J. & Molur, S. (2008). Callosciurus erythraeus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 6 January 2009.
  2. 2.0 2.1 Stuyck, Baert, Breyne & Adriaens (2010). Invasion history and control of a Pallas squirrel Callosciurus erythraeus population in Dadizele, Belgium. Instituut voor Natuur- en Bosonderzoek
  3. "กระรอกท้องแดง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-12-12.
  4. สัตว์ป่าคุ้มครอง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Callosciurus erythraeus ที่วิกิสปีชีส์