กระทรวงสิ่งแวดล้อม (ญี่ปุ่น)
環境省 คันเกียวโช | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
เขตอำนาจ | ญี่ปุ่น |
สำนักงานใหญ่ | อาคารรัฐบาลกลางหมายเลข 5, 1-2-2 คาซูมิงาเซกิ เขตชิโยดะ โตเกียว 100-8975 ประเทศญี่ปุ่น |
ต้นสังกัดหน่วยงาน | รัฐบาลญี่ปุ่น |
เว็บไซต์ | http://www.env.go.jp |
กระทรวงสิ่งแวดล้อม (ญี่ปุ่น: 環境省; โรมาจิ: Kankyō-shō) เป็นกระทรวงระดับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลญี่ปุ่น มีอำนาจหน้าที่ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก การควบคุมมลพิษ และการรักษาธรรมชาติ กระทรวงสิ่งแวดล้อมก่อตั้งใน ค.ศ. 2001 จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมระดับอนุคณะรัฐมนตรีที่จัดตั้งใน ค.ศ. 1971 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมเป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีและได้รับเลือกโดยนายกรัฐมนตรีซึ่งมักเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[1][2]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 ยูริโกะ โคอิเกะ ที่จะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมในอนาคต ประดิษฐ์ผ้าฟูโรชิกิ รูปแบบใหม่เพื่อส่งเสริมการใช้ผ้าในยุคสมัยใหม่[3]
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011 คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นอนุมัติแผนการจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบพลังงานใหม่ภายใต้กระทรวงสิ่งแวดล้อม[4] และหน่วยงานนโยบายนิวเคลียร์ที่ก่อตั้งในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2012[5]
คูลบิซ
[แก้]กระทรวงสิ่งแวดล้อมริเริ่มการรณรงค์คูลบิซในฤดูร้อน ค.ศ. 2005 เพื่อช่วยลดการใช้ไฟฟ้าโดยจำกัดการใช้เครื่องปรับอากาศและอนุญาตให้นักงานสวมเครื่องแบบที่เป็นทางการน้อยลง ไอเดียนี้ได้รับการเสนอโดยว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม ยูริโกะ โคอิเกะ ภายใต้นายกรัฐมนตรี จุนอิจิโร โคอิซูมิ
ซูเปอร์คูลบิซ
[แก้]ภายหลังจากเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่งถูกปิดลงเนื่องด้วยเหตุผลความปลอดภัยทำให้เกิดการขาดแคลนพลังงาน เพื่ออนุรักษ์พลังงานนั้น รัฐบาลได้แนะนำให้ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 28 องศาเซลเซียส การปิดคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ใช้ เรียกร้องให้ปรับเวลาทำงานให้เช้าขึ้น และใช้วันหยุดเพื่อการเดินทางพักผ่อนในหน้าร้อนให้มากขึ้นกว่าปกติ รัฐมนตรีจึงได้จัดการรณรงค์ซูเปอร์คูลบิซ[6] เพื่อส่งเสริมให้พนักงานสวมใส่เสื้อผ้าที่เย็นสบายพอสำหรับความร้อนของหน้าร้อนภายในสำนักงาน อนุญาตให้มีการสวมเสื้อโปโลและรองเท้าผ้าใบ ขณะที่กางเกงยีนสีขาวและรองเท้าแตะนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์จำเพาะ[7] โดยวันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันที่การรณรงค์โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมนั้นเริ่มขึ้นพร้อมด้วยการโฆษณาบนหนังสือพิมพ์เต็มหน้าและรูปภาพของข้าราชการกระทรวงสวมเสื้อโปโลและเสื้อหลากสีคาริยูชิของโอกินาวะนั่งอยู่ประจำที่โต๊ะ[8] มีจัดการการรณรงค์นี้อีกครั้งใน ค.ศ. 2012[9] และ ค.ศ. 2013[10]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kankyō-shō" [Ministry of the Environment]. Nihon Kokugo Daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 56431036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-31.
- ↑ "Ministry of Environment". Encyclopedia of Japan. Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 56431036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-31.
- ↑ "Minister Koike created the "Mottainai Furoshiki" as a symbol of Japanese culture to reduce wastes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-16. สืบค้นเมื่อ 2022-04-24.
- ↑ "Cabinet approves plan to set up new nuclear watchdog" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Today. 2011-08-15. สืบค้นเมื่อ 2022-04-24.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Nuclear Regulation Authority index Retrieved on September 22, 2012
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 2019-07-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) Japan's Ministry of the Environment Official Super Cool Biz 2011 Campaign site (ในภาษาญี่ปุ่น) - ↑ "BBC: Japan promotes 'Super Cool Biz' energy saving campaign" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). BBC. 2011-06-01. สืบค้นเมื่อ 2022-04-24.
- ↑ "Super Cool Biz" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Japan Times. 2011-06-12. สืบค้นเมื่อ 2022-04-24.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-19. สืบค้นเมื่อ 2019-07-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) Japan's Ministry of the Environment Official Super Cool Biz 2012 Campaign site (ในภาษาญี่ปุ่น) - ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-14. สืบค้นเมื่อ 2019-07-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) Japan's Ministry of the Environment Official Super Cool Biz 2013 Campaign site (ในภาษาญี่ปุ่น)