กระจกหกด้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระจกหกด้าน
ประเภทสารคดีสั้น
พัฒนาโดยบริษัท ทริลเลี่ยนส์ แอนด์ ทรีไลอ้อนส์ จำกัด
บรรยายโดยสุชาดี มณีวงศ์
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องMannheim Steamroller
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดDancing Flames
ประเทศแหล่งกำเนิด ไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างสุชาดี มณีวงศ์
ความยาวตอน15 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7
ออกอากาศ1 สิงหาคม พ.ศ. 2526 (40 ปีก่อน) (2526-08-01)

กระจกหกด้าน เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีสั้น ในช่วงแรกกระจกหกด้านจะออกอากาศทุกเย็นวันจันทร์วันอังคาร เวลา 16:00–16:15 น. ย้ายเวลาออกอากาศไปเป็นพฤหัสบดี – ศุกร์ เวลา 11:15–11:30 น. ย้ายเวลาออกอากาศไปเป็นพุธ – พฤหัสบดี เวลา 15:45–16:00 น. ย้ายเวลาออกอากาศไปเป็นศุกร์ เวลา 17:45–18:00 น. ย้ายเวลาออกอากาศไปเป็นเสาร์ เวลา 16:15–16:30 น. ปัจจุบัน ย้ายเวลาออกอากาศไป เป็นวันพุธ เวลา 12:45-13:00 น. ทางช่อง 7HD เริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2526 และรายการกระจกหกด้านจะเป็นรายการสารคดีสั้นที่ออกอากาศยาวนานกว่า 40 ปี และกระจกหกด้านออกอากาศสารคดีสั้นวันละ 15 นาทีและ[1][2][3] นับเป็นรายการสารคดีที่มีระดับความนิยมสูงสุด[4] ชื่อรายการ กระจกหกด้าน มาจากคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ว่า คนเราทุกวันนี้ ดีแต่ส่องกระจกด้านหน้าแต่เพียงด้านเดียว ให้เอากระจกหกด้านมาส่องเสียบ้าง แล้วจะเห็นเอง

สารคดีสั้นทุกชุดของรายการ นางสุชาดี มณีวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทผู้ผลิตรายการ รับหน้าที่บรรยายและคัดสรรข้อมูลที่นำมาผลิต นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ยังมีการเปิดเว็บไซต์ที่รวบรวมสารคดีที่ออกอากาศไปแล้ว โดยแบ่งเป็น 6 หมวดหมู่ ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตและสิ่งแวดล้อม อาหารและโภชนาการ สุขภาพและวิทยาศาสตร์ บุคคลและสังคม รวมถึงปกิณกะสาระคติ

นับตั้งแต่การออกอากาศเป็นครั้งแรกมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพลงประกอบธีมเปิดของรายการใช้เพลง Dancing Flames ของวง Mannheim Steamroller โดยภายหลังยังคงใช้เพลง Dancing Flames มาใส่จังหวะในแนวอินเดียแต่ยังคงแนวทำนองเดิมไว้ แต่มีการเปลี่ยนแปลงภาพกราฟิกซึ่งขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการ

ต่อมาในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558 รายการ กระจกหกด้าน ได้เพิ่มรายการใหม่ ในรูปแบบสมัยใหม่ (รวมถึงภาพ เสียง และกราฟิกแบบสมัยใหม่) เพื่อได้สาระอีกส่วนหนึ่ง ในชื่อ กระจกหกด้านบานใหม่[5]

รางวัล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส (1 สิงหาคม 2018). "1 สิงหาคม 2526 กระจกหกด้านที่สะท้อนสิ่งต่างๆ มาแล้ว 35 ปี". The Standard.
  2. "กระจกหกด้าน" ตอน "ส่องทัศน์สะท้อนไทย". krajokhokdan. 6 สิงหาคม 2013 – โดยทาง ยูทูบ.
  3. "กระจกหกด้าน" ตอน "3 ทศวรรษ ส่องทัศน์สะท้อนไทย". krajokhokdan. 8 มกราคม 2014 – โดยทาง ยูทูบ.
  4. นนท์ สิริสิงห (มกราคม 2009). "27 ปี กระจกหกด้าน ตำนานสารคดีสั้น". นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์. p. 102. ISSN 1685-4810.
  5. pigabyte (7 กันยายน 2015). ""กระจกหกด้าน" Rebranding โฉมใหม่ ไฉไลกว่าเดิม เสริมความสนุกมุกล้นจอ!". Marketing Oops!.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]