กปาลิกะ
กปาลิกะเป็นอดีตธรรมเนียมตันตระแต่ไม่ตามปุราณะของลัทธิไศวะ ที่มีต้นกำเนิดในอินเดียยุคกลางระหว่างศตวรรษที่ 7-8[2][3][4][5][6] คำนี้มาจากคำสันสกฤต กปาละ ตรงกับคำว่า กบาล แปลว่า "กะโหลก" ดังนั้น กปาลิกะ แปลว่า "ผู้ถือกะโหลก"[2][3][4][5][6]
กปาลิกะหมายถึงนักพรตลัทธิย่อยของลัทธิไศวะที่ซึ่งโดยธรรมเนียมแล้วเป็นผู้ถือตรีศูลที่มีกะโหลกปักอยู่ข้างบน (ขัฏวางคะ) และใช้กะโหลกมนุษย์เป็นบาตรขอทาน[2][3][4][5][6] บูชาพระไภรวะ ซึ่งเป็นปางดุร้ายของพระศิวะ ผ่านการเลียนแบบพฤติกรรมและลักษณะของพระไภรวะในฐานะการปฏิบัติบูชา[2][2][3][4][5] ใช้เถ้าถ่านจากที่เผาศพป้ายตามร่างกาย,[2][3][4][5][6] ไว้ผมยาวและพันกันยุ่ง[2][3][4][5][6] รวมถึงมีส่วนในพิธีกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น มีเพศสสัมพันธ์กับสตรีในวรรณะล่าง, บูชายัญมนุษย์, ทานทั้งเนื้อสัตว์และสุรา และถวายบูชาด้วยน้ำกาม[2][3][4][5][6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Beer, Robert (2003). The handbook of Tibetan Buddhist symbols. Serindia Publications. p. 102. ISBN 1-932476-03-2. สืบค้นเมื่อ February 3, 2010.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Lorenzen, David N. (2020) [1972]. "Chapter I: Four Śaivite Sects". The Kāpālikas and Kālāmukhas: Two Lost Śaivite Sects. Center for South and Southeast Asia Studies (1st ed.). Berkeley and Los Angeles: University of California Press. pp. XI–XIII, 1–16. doi:10.1525/9780520324947-003. ISBN 9780520324947. OCLC 1224279234.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Barrett, Ronald L. (2008). "Introduction". Aghor Medicine: Pollution, Death, and Healing in Northern India (1st ed.). Berkeley, Los Angeles, and London: University of California Press. pp. 1–28. ISBN 9780520941014. LCCN 2007007627.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Urban, Hugh B. (2007) [2003]. "India's Darkest Heart: Tantra in the Literary Imagination". Tantra: Sex, Secrecy, Politics, and Power in the Study of Religion (1st ed.). Berkeley and Delhi: University of California Press/Motilal Banarsidass. pp. 106–133. doi:10.1525/california/9780520230620.003.0004. ISBN 9780520236561. JSTOR 10.1525/j.ctt1pp4mm.9.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 James G. Lochtefeld (2001). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Volume 1. The Rosen Publishing Group. p. 349. ISBN 978-0-8239-3179-8.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Gavin Flood (2008). The Blackwell Companion to Hinduism. John Wiley & Sons. pp. 212–213. ISBN 978-0-470-99868-7.