กู๋หว่าไจ๋ 5 ฟัดใหญ่เมืองตะลึง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Young and Dangerous 5)
กู๋หว่าไจ๋ 5 ฟัดใหญ่เมืองตะลึง
กำกับหลิว เหว่ยเฉียง
เขียนบทแมนเฟรด หว่อง
อำนวยการสร้างแมนเฟรด หว่อง
นักแสดงนำเจิ้ง อี้เจี้ยน
เฉิน เสี่ยวชุน
ซู ฉี
อเล็กซ์ ม่าน
หลิว สงเหยิน
เฉิน กาล็อค
ว่าน จือเหลียง
เจอร์รี่ แลมป์
พอล ชุน
แอนโทนี่ หว่อง
กำกับภาพแอนดริว เลา
ดนตรีประกอบเฉิน กวองวิง
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายGolden Harvest Pictures
สหมงคลฟิล์ม
วันฉาย22 มกราคม ค.ศ. 1998
ความยาว114 นาที
ประเทศฮ่องกง
ภาษาจีน
ก่อนหน้านี้กู๋หว่าไจ๋ 4 อันธพาลกวนเมือง
ต่อจากนี้เกิดมาเป็นเจ้าพ่อ

กู๋หว่าไจ๋ 5 ฟัดใหญ่เมืองตะลึง (อังกฤษ: Young and Dangerous 5, จีนตัวย่อ: 98古惑仔之龙争虎斗; จีนตัวเต็ม: 98古惑仔之龍爭虎鬥) เป็นภาพยนตร์ฮ่องกงที่ออกฉายในปี ค.ศ. 1998 กำกับโดย แอนดริว เลา ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 5 ในภาพยนตร์ชุด กู๋หว่าไจ๋

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

ในภาคนี้เรื่องราวกล่าวถึงการต่อยตีของเด็กหนุ่มวัยรุ่น มาเป็นความขัดแย้งของรุ่นใหญ่ การต่อสู้แย่งชิงอำนาจที่ดูราวกับเป็นการต่อสู้ทางการเมือง ห้าวหนาน ต้องเจอมือดีจากตงซิ่งคนใหม่ "ซือถูห้าวหนาน" คนชื่อเดียวกับเขา ที่ขอท้าทายอำนาจเหนือย่านถงหลอวาน ด้วยการจัดแข่งขันมวยเดิมพันขึ้นมา

งานสร้างภาพยนตร์[แก้]

เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญกับหนังภาค 5 "กู๋หว่าไจ๋ ฟัดใหญ่เมืองตะลึง" เมื่อไม่มีบทบาทของ ไก่ป่า ในภาคนี้ แต่ในด้านเรื่องราวก็ยังคงวนเวียนอยู่กับศัตรูตัวใหม่ ๆ สถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ความสนุกเริ่มลดลง และภาพรวมของหนังดูจะเข้าข่าย "ตัน" เสียแล้ว

กู๋หว่าไจ๋ มักจะถูกปรามาสว่าไม่ได้ให้อะไรกับคนดู มากกว่าการฉายภาพฉาบฉวยของตัวละครนักเลงวัยรุ่นหนุ่มหล่อแต่งตัวดีมีรสนิยม, ทำผมเท่ห์ มีสาวสวย ๆ อยู่รายล้อม แต่ตลอดทั้ง 5 ภาคหนังก็แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวละครเพื่อฉายให้เห็นถึงสัจธรรมบางข้อได้อยู่เหมือนกัน

จากอันธพาลที่เอาชนะด้วย หมัด, มีด หรือปืน ไปสู่โลกแห่งความเป็นผู้ใหญ่ที่ความขัดแย้งมีอะไรซับซ้อนมากกว่านั้น โดยเฉพาะในยุคที่เงินทองเริ่มหายาก เหล่านักเลงต้องดิ้นรน ไปสู่หนทางใหม่ พยายามลงทุนในธุรกิจ แต่สุดท้ายการต่อสู้ในสนามที่แปลกใหม่ ก็ยิ่งมีแต่จะเสียเปรียบ งานนี้ ห้าวหนาน และพวกแทบจะเอาตัวไม่รอดเพราะโดนหลอกลวงมามาก เช่นเดียวกับเพื่อนจาก หงซิ่งหลาย ๆ คนที่ต้องแย่เพราะเศรษฐกิจตกต่ำ เงินขาดมือ สถานการณ์เลวร้ายกว่าตอนโดนคู่อริวิ่งถือมีดพร้าเข้าใส่เสียอีก

แม้จะไม่ได้นำเสนออะไรที่ลึกซึ้งมากมาย แต่หนังก็สะท้อนความเป็นจริงบางอย่างออกมาได้ โดยเฉพาะบรรยากาศของฮ่องกงหลังกลับคืนสู่การปกครองของจีน ความไม่มั่นใจกับระบบการปกครองใหม่ แต่ถ้าจะนับความสนุก, ความลื่นไหลดูมันส์แล้ว ก็ถือว่าเป็นรองภาคอื่น ๆ อยู่ เพราะเนื้อหาของภาพยนตร์ไม่ได้ใหม่พอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรได้มากนัก สุดท้ายรายได้ก็เริ่มลงลดลง และปีต่อ ๆ ไปก็ไม่ได้มี "กู๋หว่าไจ๋" มาให้ดูกันปีต่อปีอีกต่อไป[1]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]