ข้ามไปเนื้อหา

Wiki Loves Monuments

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Wiki Loves Monuments
Logo of Wiki Loves Monuments
เริ่มต้น1 กันยายน
สิ้นสุด30 กันยายน
ช่วงปี3
ประเดิมพ.ศ. 2553
ผู้เข้าร่วมนักถ่ายรูป
จัดโดยสมาชิกประชาคมวิกิพีเดีย

Wiki Loves Monuments (WLM) เป็นการแข่งขันประกวดภาพถ่ายในระดับนานาชาติประจำปี ในเดือนกันยายน โดยสมาชิกประชาคมวิกิพีเดีย ผู้เข้าร่วมจะถ่ายถ่ายภาพโบราณสถานและมรดกโลกในพื้นที่ของตน และอัปโหลดเข้าสู่วิกิมีเดียคอมมอนส์ วัตถุประสงค์ของการแข่งขันนี้คือเพื่อเน้นสถานที่สำคัญของประเทศที่เข้าร่วม การแข่งขัน Wiki Loves Monuments ครั้งแรกจัดเมื่อ พ.ศ. 2553 ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปีที่ต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอื่นในยุโรป นอกจากนั้นกินเนสต์บุกส์ ยังได้บันทึกว่า Wiki Loves Monuments ในพ.ศ. 2554 ได้ทำลายสถิติโลกในฐานะเป็นการแข่งขันประกวดภาพถ่ายที่ใหญ่ที่สุด[1] ใน พ.ศ. 2555 มีประเทศเข้าร่วมนอกเหนือจากในทวีปยุโรป รวมแล้ว 35 ประเทศ[2]

ประวัติ

[แก้]
35 ประเทศที่เข้าร่วมใน พ.ศ. 2555
48 ประเทศที่เข้าร่วมใน พ.ศ. 2556
ภาพให้ข้อมูลแสดงการทำงานของอาสาสมัครที่แปลหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปสู่หมวดหมู่ของภาพที่ถูกต้อง และสะสมภาพที่ค้นพบใหม่เข้าไปสู่รายชื่อที่มีอยู่ งานส่วนใหญ่เป็นงานที่ทำด้วยมือดดยผู้ชื่นชอบมรดกเหล่านี้แต่บางส่วนก็เป็นงานกึ่งอัตโนมัติด้วยกระบวนการที่จะแจ้งต่ออาสาสมัคร

การแข่งขัน WLM ครั้งแรกเพื่อ "Rijksmonuments" (ภาษาดัตช์หมายถึง อนุสรณ์สถานแห่งชาติ) ทำให้นักถ่ายภาพเสาะหาสถานที่ที่เป็นมรดกแห่งชาติดัตช์ คำว่า Rijkmonuments รวมทั้งสิ่งก่อสร้างและวัตถุที่ได้รับการจดจำเพราะความสวยงาม ความเป็นวิทยาศาสตร์ และหรือมีความสำคัญทางวัฒนธรรม บางสถานที่ เช่น Drenthe Noordeinde Royal Palace The Hague และบ้านตามคลองในอัมสเตอร์ดัมเป็นส่วนหนึ่งของภาพมากกว่า 12,500 ภาพที่ส่งเข้ามาในการแข่งขันครั้งแรก[3]

ความสำเร็จนี้ทำให้เกิดความสนใจในประเทศในยุโรปอื่นๆ และด้วยความร่วมมือกับวันมรดกโลกยุโรป มี 18 ประเทศเข้าร่วมในการแข่งขัน พ.ศ. 2554[4][5] มีการอัปโหลดภาพทั้งสิ้นเกือบ 170,000 กินเนสต์บุกส์ได้บันทึกว่าการแข่งขันครั้งนี้เป็นการประกวดภาพถ่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีภาพจำนวน 168,208 ภาพที่อัปโหลดมาที่วิกพีเดียคอมอนส์ มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 5,000 คน[1]

ใน พ.ศ. 2555 การแข่งขัน Wiki Loves Monuments มีผู้เข้าร่วมอย่างเป็นทางการมากกว่า 30 ประเทศและเขตพื้นที่ทั่วโลกได้แก่ อันดอร์รากับคาตาโลเนีย อาร์เจนตินา ออสเตรีย เบลารุส เบลเยียม แคนาดา ชิลี โคลัมเบีย สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโทเนีย ฝรั่งเศส เยอรมัน กานา อินเดีย อิสราเอล อิตาลีเคนยา ลักเซมเบิร์ก เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปานามา ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โรมาเนีย รัสเซีย เซอร์เบีย สโลวีเนีย สเปน แอฟริกาใต้ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ยูเครน และสหรัฐอเมริกา ภาพของ Tomb of Safdarjung จากเดลฮี ชนะการประกวด ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 350,000 คน[6][7]

กติกาการประกวด

[แก้]

กติกาพื้นฐานของการประกวดนี้ค่อนข้างเรียบง่ายสำหรับทั้งผู้จัดงานและนักถ่ายภาพ กรรมการของประเทศที่เข้าร่วมการประกวดจะต้องส่งรายชื่อแหล่งอนุสรณ์สถานหรือโบราณคดีที่มีหมายเลขรหัสประจำเพื่อใช้ในการแข่งขัน นักถ่ายภาพสามารถถ่ายภาพและอัปโหลดภาพระหว่าง 1 กันยายน ถึง 30 กันยายน เข้าสู่วิกิมีเดียคอมมอนส์โดยใช้รหัสประจำสถานที่เป็นตัวช่วยในการอัปโหลดและบ่งชี้ว่าภาพที่อัปโหลดเป็นส่วนหนึ่งของการประกวด การอัปโหลดนี้ นักถ่ายภาพจะต้องสร้างบัญชีผู้ใช้เพื่อให้สามารถติดตามผู้ชนะมารับรางวัลได้ ภาพที่อัปโหลดจะถ่ายเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอัปโหลดขึ้นใหม่สู่วิกิมีเดียคอมมอนส์ในช่วงเวลาที่กำหนด และต้องใช้สัญญาอนุญาตเสรีภายใต้ CC-BY-SA 3.0 (หรือสัญญาอนุญาตอื่นที่สอดคล้องกันและผ่อนปรนกว่า เข่น CC-by หรือ CC-0)[8]

รายชื่อ

[แก้]

ภาพที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการประกวดได้ต้องมีคุณค่าเชิงสารานุกรม ดังนั้นรายชื่อของสถานที่ที่ถ่ายภาพได้ต้องมีความสำคัญและได้รับการยอมรับในประเทศที่ถ่ายภาพ โดยปกติจะเป็นรายชื่อที่จัดทำโดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ซึ่งคณะกรรมการจัดงานประจำประเทศนั้นจะได้เลือกรายชื่อที่เหมาะสมมาใช้ในการประกวดแต่ละปี นักถ่ายภาพต้องใช้รหัสประจำสถานที่ และ/หรือ พิกัดภูมิศาสตร์ เพื่อช่วยในการอัปโหลดภาพ อย่างไรก็ดี มีการจัดทำโปรแกรมที่ช่วยเหลือนักถ่ายภาพโดยอัตโนมัติอยู่ จึงอาจไม่ต้องจดจำหมายเลขเหล่านี้ด้วยตนเอง

ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ต้องมีอาสาสมัครยินดีสร้างรายชื่อเหล่านี้ขึ้นและประสานงานการจัดการประกวดในประเทศนั้น อย่างไรก็ดีในบางประเทศไม่สามารถจัดการแข่งขันได้เพราะรายชื่อที่มีอยู่ไม่เหมาะสมกับคุณค่าเชิงสารานุกรม หรือมีข้อจำกัดทางกฎหมายที่ทำให้ไม่อาจเปิดเผยรายชื่อได้ ฯลฯ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Guinness World Records, Largest photography competition, 2012.
  2. Eglash, Ruth (28 August 2012). "Hundreds of cultural sites to be visually documented during "Wiki Loves Monuments event."". Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 15 September 2012.
  3. (ฝรั่งเศส) Virginie Malbos, Le monumental concours de Wikimédia, dans Libération, 9 September 2011, consulted 22 August 2012. "The operation had taken place last year in the Netherlands, and was concluded by the arrival of 12,500 new royalty-free photos."
  4. Bologna su 'Wiki loves monuments' La raccolta delle foto più belle เก็บถาวร 2019-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, dans Il Resto del Carlino, 11 août 2012, consulté le 22 août 2012. "In 2011, the competition has also increased, with the participation of 18 European countries that helped with 170,000 images, and now has the support, among others, the Council of Europe and the European Commission." (อิตาลี)
  5. Chenu, Isabelle (25 September 2011). "Le site Wikipédia aime les monuments" (ภาษาฝรั่งเศส). Radio France Internationale. สืบค้นเมื่อ 22 August 2012. So far, there are 18 European countries participating in the contest.
  6. Phadnis, Renuka (7 December 2012). "Indians win in Wiki mega photo contest". The Hindu. Bangalore, India. สืบค้นเมื่อ 8 December 2012.
  7. "Indian photo wins Wiki Loves Monuments online contest". BBC. 7 December 2012. สืบค้นเมื่อ 8 December 2012.
  8. "About the contest". Wiki Loves Monuments website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-30. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]