โทโมยูกิ ยามาชิตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Tomoyuki Yamashita)
โทโมยูกิ ยามาชิตะ
山下 奉文
ผู้ว่าการทหารญี่ปุ่นแห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน ค.ศ. 1944 – 2 กันยายน ค.ศ. 1945
กษัตริย์สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ
ก่อนหน้าชิเงโนริ คุโรดะ
ถัดไปเลิกล้มตำแหน่ง
(อย่างเป็นทางการโดยมานูเอล โรฮัส ในฐานะประธานาธิบดีฟิลิปปินส์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885(1885-11-08)
โอโตโยะ จังหวัดโคจิ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946(1946-02-23) (60 ปี)
โลสบาโญส จังหวัดลากูนา เครือจักรภพแห่งฟิลิปปินส์
สาเหตุการเสียชีวิตการแขวนคอ
ที่ไว้ศพสุสานทามะไรเอ็ง ฟูจู โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
คู่สมรสฮิซาโกะ นากายามะ (สมรส 1916–1946)
บุตรไม่มี
บุพการี
  • ซากิชิ ยามาชิตะ (บิดา)
  • ยู (มารดา)
รางวัลเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวทองคำ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์
ชื่อเล่นพยัคฆ์แห่งมาลายา
เดรัจฉานแห่งบาตาอัน[1]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ญี่ปุ่น
สังกัด กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประจำการค.ศ. 1905–1945
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองทัพที่ 25
กองทัพสนามที่ 1
กองทัพสนามที่ 14
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
สงครามแปซิฟิก

พลเอก โทโมยูกิ ยามาชิตะ (ญี่ปุ่น: 山下奉文; อังกฤษ: Tomoyuki Yamashita) บ้างเรียก โทโมบูมิ ยามาชิตะ[2]) เป็นนายพลแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยามาชิตะเป็นผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นระหว่างการทัพมาลายาและยุทธการที่สิงคโปร์ ด้วยความสำเร็จในการพิชิตมลายาและสิงคโปร์ใน 70 วัน ทำให้เขาได้รับนามสมญา พยัคฆ์แห่งมาลายา ถึงขนาดที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิล ที่เรียกการล่มสลายของสิงคโปร์ต่อประเทศญี่ปุ่นว่าเป็น "ภัยพิบัติที่เลวร้ายที่สุด" และ "การยอมจำนนครั้งใหญ่ที่สุด" ในประวัติศาสตร์การทหารของอังกฤษ[3] ยามาชิตะได้รับมอบหมายให้คุ้มครองฟิลิปปินส์จากกองกำลังพันธมิตรที่จะมาถึงภายหลังในสงคราม และในขณะที่ไม่สามารถหยุดการรุกคืบของพันธมิตร เขาสามารถที่จะยึดครองส่วนหนึ่งของเกาะลูซอนได้จนกระทั่งหลังการยอมจำนนของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945

หลังสงคราม ยามาชิตะถูกกล่าวหาสำหรับอาชญากรรมสงครามที่กระทำโดยทหารภายใต้คำสั่งของเขาในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองฟิลิปปินส์เมื่อปี ค.ศ. 1944 ในการพิจารณาคดี ยามาชิตะถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานความทารุณจากกองทัพของเขา แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าเขาเป็นผู้อนุมัติหรือแม้แต่รู้จักพวกเขา และโดยแท้จริงแล้วความโหดร้ายหลายอย่างเกิดขึ้นจากกองกำลังที่ไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งของเขา ยามาชิตะถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอเมื่อปี ค.ศ. 1946 การพิจารณาคดีต่อยามาชิตะ ถือตามผู้บัญชาการที่ต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามแทนผู้ใต้บังคับบัญชา ตราบเท่าที่ผู้บังคับบัญชาไม่ได้พยายามค้นหาและหยุดยั้งพวกเขาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมาเป็นที่รู้จักในฐานะมาตรฐานยามาชิตะ

หมายเหตุ[แก้]

  1. Marouf Hasian, In the Name of Necessity: Military Tribunals and the Loss of American Civil Liberties, University of Alabama Press, 2012, p. 286 (chapter 7, note 6). "Contemporary writers sometimes called Yamashita the "Beast of Bataan." See "The Philippines: Quiet Room in Manila," Time, November 12, 194.5, 21."
  2. [1] Virtual International Authority File
  3. Churchill, Winston (2002). Churchill, Winston (2002). The Second World War. London: Pimlico. ISBN 9780712667029.

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]