ข้ามไปเนื้อหา

เดอะ มาร์เชียน กู้ตาย 140 ล้านไมล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก The Martian (film))
เดอะ มาร์เชียน กู้ตาย 140 ล้านไมล์
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับริดลีย์ สก็อตต์
บทภาพยนตร์ดรูว์ ก็อดดาร์ด
สร้างจากThe Martian
โดย แอนดี เวียร์
อำนวยการสร้าง
  • ไซมอน คินเบิร์ก
  • ริดลีย์ สก็อตต์
  • ไมเคิล เชเฟอร์
  • อะดิตยา ซูด
  • มาร์ก ฮัฟแฟม
นักแสดงนำ
กำกับภาพดาเรียส โวลสกี
ตัดต่อเปียโตร สคาเลีย
ดนตรีประกอบแฮร์รี เกร็กสัน-วิลเลียมส์
บริษัทผู้สร้าง
  • สก็อตต์ฟรีโปรดักชันส์
  • คินเบิร์กฌอนรา
  • ทีเอสจี เอ็นเทอร์เทนเมนท์
ผู้จัดจำหน่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
วันฉาย11 กันยายน 2015 (TIFF)
30 กันยายน 2015
(สหราชอาณาจักร)
1 ตุลาคม 2015 (ไทย)[1]
2 ตุลาคม 2015 (สหรัฐอเมริกา)
ความยาว141 นาที[2]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
ทำเงิน630.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

เดอะ มาร์เชียน กู้ตาย 140 ล้านไมล์ (อังกฤษ: The Martian) เป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ กำกับโดยริดลีย์ สก็อตต์ เขียนบทโดยดรูว์ ก็อดดาร์ด โดยดัดแปลงจากนวนิยายเรื่อง เหยียบนรกสุญญากาศ เขียนโดยแอนดี เวียร์[5] นำแสดงโดย แม็ตต์ เดม่อน, เจสซิกา แชสเตนและไมเคิล เพ็นยา

ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายครั้งแรกที่งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโตครั้งที่ 40[6] และออกฉายที่สหราชอาณาจักรในวันที่ 30 กันยายน 2015[7] สำหรับประเทศไทย เข้าฉายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2015

เรื่องย่อ

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2035[8][9] ลูกเรือของยานเอรีส III กำลังสำรวจที่ราบ Acidalia Planitia บนดาวอังคาร ซึ่งเป็นภารกิจวันที่ 18 จากทั้งหมด 31 วันบนดาวอังคาร พวกเขาพบกับพายุฝุ่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับยานได้จึงตัดสินใจยกเลิกภารกิจ ระหว่างการอพยพ นักบินอวกาศ มาร์ก วัทนีย์ถูกชิ้นส่วนยานกระแทกจนกระเด็นหายไป เมื่อไม่พบสัญญาณชีพของวัทนีย์ ผู้บัญชาการภารกิจ เมลิสซา ลิวอิส จึงตัดสินใจออกยานเพื่อกลับไปที่ยานเฮอร์มีสที่ลอยอยู่ในวงโคจร

วัทนีย์ฟื้นขึ้นหลังมีสัญญาณเตือนออกซิเจนต่ำ เขาเดินทางไปที่แฮบ ซึ่งเป็นที่อาศัยบนดาวอังคารและทำแผล วัทนีย์เริ่มบันทึกวีดีโอและพบว่าโอกาสที่เขาจะได้รับความช่วยเหลือคือต้องรอให้ลูกเรือยานเอรีส IV มาถึงแอ่ง Schiaparelli ในอีก 4 ปีข้างหน้า วัทนีย์พบว่าเขาจะมีอาหารให้กินอีก 300 วัน จึงใช้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ปลูกพืชจากมูลและดินบนดาวอังคารและผลิตน้ำจากการแยกไฮโดรเจนจากเครื่องยนต์ นอกจากนี้วัทนีย์ยังดัดแปลงรถสำรวจเพื่อใช้เดินทางไปยังจุดหมาย

ด้านผู้อำนวยการภารกิจ วินเซนต์ กาปูร์ ได้ตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียมของดาวอังคารและพบว่าวัทนีย์ยังมีชีวิตอยู่ เขาหารือเรื่องนี้กับผู้ควบคุมการบินของยานเฮอร์มีส มิตช์ เฮนเดอร์สันและผู้อำนวยการนาซา เท็ดดี แซนเดอส์ แต่แซนเดอส์สั่งว่าอย่าเพิ่งบอกเรื่องนี้กับลูกเรือเอรีส III

วัทนีย์ออกไปค้นหายานแพทไฟน์เดอร์และดัดแปลงกล้องเพื่อใช้ติดต่อกับทีมห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น (Jet Propulsion Laboratory หรือ JPL) นาซาแนะนำให้วัทนีย์ดัดแปลงรถสำรวจกับแพทไฟน์เดอร์เพื่อให้ติดต่อได้ง่ายขึ้น เมื่อรู้ว่าทางนาซายังไม่บอกเรื่องที่เขารอดชีวิตกับเพื่อนร่วมงาน วัทนีย์โกรธจัด แซนเดอส์จึงสั่งให้เฮนเดอร์สันบอกเรื่องนี้กับลูกทีมเอรีส III

เฮนเดอร์สันและผู้อำนวยการ JPL บรูซ อิง วางแผนจะส่งยานบรรจุเสบียงไปให้วัทนีย์ที่รอการมาของยานเอรีส IV ด้านวัทนีย์ประสบเหตุแฮบรั่วและระเบิด ทำให้พืชที่ปลูกไว้เสียหาย แซนเดอส์สั่งให้เร่งการผลิตยานบรรจุเสบียงโดยให้ข้ามขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัย ส่งผลให้ยานระเบิดเมื่อถูกปล่อยขึ้น

องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน หรือ CNSA เสนอความช่วยเหลือให้นาซาใช้บูสเตอร์เพื่อขนส่งเสบียงไปยังดาวอังคาร แต่นักพลศาสตร์ดวงดาวของ JPL ริช เพอร์เนลล์ เสนอให้ใช้ความโน้มถ่วงช่วยในการพายานเฮอร์มีสกลับไปที่ดาวอังคาร โดยใช้บูสเตอร์ของ CNSA เติมเสบียงให้เฮอร์มีสแทน แต่แซนเดอส์ปฏิเสธแผนนี้เพราะมีความเสี่ยง เฮนเดอร์สันแอบส่งข้อมูลแผนการนี้ให้ยานเฮอร์มีส ลิวอิสและลูกเรือทุกคนตัดสินใจใช้แผนนี้

วัทนีย์ใช้เวลา 90 วันบนดาวอังคารขับรถสำรวจมาที่จุดนัดพบและดัดแปลงยานที่จะส่งเขาขึ้นไปหายานเฮอร์มีส ด้านลูกเรือยานเฮอร์มีสใช้แรงระเบิดจากการสูญเสียความดันเพื่อช่วยเร่งความเร็วแต่ก็ยังไม่พอ ลิวอิสจึงออกไปนอกยานเพื่อรอรับตัววัทนีย์ เพื่อพบว่าระยะทางยังไม่ถึงที่ต้องการ วัทนีย์เจาะถุงมือของชุดอวกาศเพื่อใช้ขับดันพาเขาไปหาลิวอิส การช่วยเหลือประสบความสำเร็จท่ามกลางความดีใจของคนทั่วโลกที่ได้ชมการถ่ายทอดสด

หลังกลับมาที่โลก วัทนีย์สอนประสบการณ์บนดาวอังคารให้กับนักบินอวกาศรุ่นใหม่ ๆ

นักแสดง

[แก้]

นักบินอวกาศ

[แก้]
Matt Damon
Jessica Chastain
แม็ตต์ เดม่อนและเจสสิกา แชสเทน สองนักแสดงนำในภาพยนตร์

นาซาและนักวิทยาศาสตร์

[แก้]

การผลิต

[แก้]
หุบเขาวาดีรุมในจอร์แดน ใช้เป็นฉากบนดาวอังคาร

ผู้อำนวยการสร้าง ไซมอน คินเบิร์ก เริ่มพัฒนาภาพยนตร์เรื่องนี้หลังจากทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ตกลงที่จะดัดแปลงนวนิยายของแอนดี เวียร์ ในปี 2013 โดยดรูว์ ก็อดดาร์ดรับหน้าที่เขียนบทและกำกับภาพยนตร์ แต่ภายหลัง ริดลีย์ สก็อตต์ได้เข้ามาทำหน้าที่ผู้กำกับแทน โดยมีแม็ตต์ เดม่อนเป็นนักแสดงหลัก การถ่ายทำเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2014 และใช้เวลา 70 วัน สถานที่ส่วนใหญ่ที่ใช้ถ่ายทำคือในฮังการีและจอร์แดน

ความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์

[แก้]

เพื่อความถูกต้องในทางวิทยาศาสตร์ ทางผู้สร้างภาพยนตร์ได้เชิญเจมส์ แอล. กรีน ผู้อำนวยการแผนกวิทยาดาวเคราะห์ของนาซามาเป็นที่ปรึกษาภาพยนตร์[10] โดยกระบวนการที่ตัวละครใช้ผลิตน้ำและการผลิตความร้อนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเทอร์โมอิเล็กตริกไอโซโทปรังสี (radioisotope thermoelectric generator หรือ RTG) นั้นถูกต้องตามความเป็นจริง[11] รวมถึงความเป็นไปได้ที่ตัวละครในภาพยนตร์ใช้มูลและดินบนดาวอังคารในการปลูกพืช และการอุดรอยรั่วบนชุดอวกาศ[12] อย่างไรก็ตาม พายุฝุ่นที่ปรากฏในภาพยนตร์นั้นสร้างความเสียหายได้น้อยมากในความเป็นจริง เนื่องจากความดันบรรยากาศที่ต่ำบนดาวอังคาร[13] นอกจากนี้ ดาวอังคารยังมีภูมิอากาศที่หนาวเย็นกว่าในภาพยนตร์[14]

ริดลีย์ สก็อตต์ ผู้กำกับภาพยนตร์เลือกที่จะไม่แสดงความแตกต่างของแรงโน้มถ่วงบนดาวอังคาร ซึ่งในความเป็นจริงมีค่าน้อยกว่าบนโลก 40%[15]

การตอบรับ

[แก้]

การตอบรับในประเทศไทย

[แก้]

เดอะ มาร์เชียน กู้ตาย 140 ล้านไมล์ ทำรายได้เปิดตัวในประเทศไทย 7.74 ล้านบาท[16] ระหว่างวันที่ 15-21 ตุลาคม 2015 ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 29.43 ล้านบาท[17]

รางวัล

[แก้]

เดอะ มาร์เชียน กู้ตาย 140 ล้านไมล์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ:

  • รางวัล American Association of Retired Persons สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ริดลีย์ สก็อตต์)[18]
  • รางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์แอฟริกัน-อเมริกัน (African-American Film Critics Association) สาขา Top Ten Films[19]
  • รางวัลสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน (American Film Institute) สาขา Top Ten Films[20]
  • รางวัล Art Directors Guild Awards[21]
    • สาขา Contemporary Film (อาร์เธอร์ แม็กซ์)
    • สาขา Best Art Direction (สเตฟาน สเปธ)
  • รางวัลเอ็มไพร์ (Empire Awards) สาขานักแสดงยอดเยี่ยม (แม็ตต์ เดม่อน)[22]
  • รางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 73[23]
    • Best Motion Picture – Musical or Comedy
    • Best Actor – Motion Picture Musical or Comedy
  • โกลเดนเทรเลอร์อะวอดส์[24]
    • สาขา Best Drama
    • สาขา Best Thriller Poster
  • รางวัล Hollywood Film Awards สาขาผู้อำนวยการสร้าง (ริดลีย์ สก็อตต์)[25]
  • รางวัลฮิวโก สาขา Hugo Award for Best Dramatic Presentation[26]
  • รางวัล National Board of Review[27]
    • สาขา Top Ten Films
    • สาขา Best Director (ริดลีย์ สก็อตต์)
    • สาขา Best Actor (แม็ตต์ เดม่อน)
    • สาขา Best Adapted Screenplay (ดรูว์ ก็อดดาร์ด)
  • รางวัลเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปาล์มสปริงส์ (Palm Springs International Film Festival) สาขา Chairman's Award (แม็ตต์ เดม่อน)[28]
  • รางวัลพีเพิลส์ชอยส์ (People's Choice Awards) สาขา Favourite Dramatic Movie[29]
  • รางวัลเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติซานตาบาร์บารา (Santa Barbara International Film Festival) สาขา Artisan Award (อาร์เธอร์ แม็กซ์)[30]
  • รางวัลแซทเทลไลต์ (Satellite Awards) สาขา Best Sound (Editing and Mixing)[31]
  • รางวัลแซทเทิร์น สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[32][33]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Martian - Major Cineplex". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-09-26.
  2. "THE MARTIAN (12A)". British Board of Film Classification. September 16, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ September 16, 2015.
  3. McCarthy, Todd (September 8, 2015). "From 'The Martian' to 'Truth,' Todd McCarthy's 5 Most Tantalizing Titles at TIFF". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ September 10, 2015.
  4. "The Martian (2015)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ April 13, 2016.
  5. "The Martian (เหยียบนรกสุญญากาศ) โดย Andy Weir - Readery". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-26.
  6. "TIFF.net | The Martian - Toronto International Film Festival". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-30. สืบค้นเมื่อ 2015-09-26.
  7. De Semlyen, Phil (August 25, 2015). "Exclusive New Look At Ridley Scott's The Martian". Empire. สืบค้นเมื่อ August 28, 2015.
  8. https://www.yahoo.com/movies/yes-we-now-know-which-year-the-martian-takes-232005009.html
  9. https://www.facebook.com/AndyWeirAuthor/photos/a.463868883712409.1073741828.462962073803090/682817308484231/?type=3&theater
  10. Ordoña, Michael (August 27, 2015). "Will Matt Damon be our new favorite Martian?". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ September 1, 2015.
  11. Cohn, Paulette (August 28, 2015). "The science behind 'The Martian' movie gets a NASA 'thumbs up'". FOX News. สืบค้นเมื่อ September 1, 2015.
  12. Reed Tucker (September 26, 2015). "What 'The Martian' gets right — and wrong — about life on Mars". New York Post. สืบค้นเมื่อ September 27, 2015.
  13. Dorminey, Bruce (August 31, 2015). "Rethinking 'The Martian': Why Dust Storms Wouldn't Sabotage A Real Mars Mission". Forbes. สืบค้นเมื่อ September 1, 2015.
  14. What ‘The Martian’ gets right — and wrong — about life on Mars
  15. Why NASA scientists are excited about Matt Damon film 'The Martian'
  16. รายได้เปิดตัวหนังใหม่ประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2558
  17. รายได้หนังประจำสัปดาห์ 15-21 ตุลาคม 2558
  18. Newcott, Bill. "15th Annual Movies for Grownup Awards". Aarp.org. สืบค้นเมื่อ 2016-04-09.
  19. ‘Straight Outta Compton’ Named Top Film by African-American Film Critics - Variety
  20. "Here Are the AFI AWARDS 2015 Official Selections". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-18. สืบค้นเมื่อ 2015-12-17.
  21. "20th ADG Award Nominated & Winners". ADG.com. สืบค้นเมื่อ 2016-04-09.
  22. Jameson Empire Awards 2016: Star Wars and Mad Max lead the nominations
  23. "Golden Globe Nominations: The Complete List". The Hollywood Reporter. December 10, 2015. สืบค้นเมื่อ December 10, 2015.
  24. "The 17th Annual Golden Trailer Award Nominees". GoldenTrailer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-07. สืบค้นเมื่อ October 27, 2016.
  25. "'Black Mass,' 'Spotlight' honored at Hollywood Film Awards". The Boston Globe. November 2, 2015. สืบค้นเมื่อ December 17, 2015.
  26. "2016 Hugo Awards" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-12-29. สืบค้นเมื่อ 2016-08-24.
  27. "National Board of Review Announces 2015 Winners". Rotten Tomatoes. December 1, 2015. สืบค้นเมื่อ December 1, 2015.
  28. "2016 Palm Springs International Film Festival". psfilmfest.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-22. สืบค้นเมื่อ 2016-04-11.
  29. "People's Choice Awards 2016". Peopleschoice.com. สืบค้นเมื่อ 2016-04-11.
  30. "Variety's Artisans Award Recipients at Santa Barbara Film Festival Announced". Variety.com. 2016-02-06. สืบค้นเมื่อ 2016-04-11.
  31. "Satellite Awards (2015)". International Press Academy. IPA. December 2, 2015. pressacademy.com. สืบค้นเมื่อ December 2, 2015.
  32. "Saturn Award nominations". Saturn Awards. February 24, 2016.
  33. "Saturn Award nominations on YouTube". Saturn Awards. February 24, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]