ภาษาจีนฮกเกี้ยนสำเนียงไต้หวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Taiwanese Hokkien)
ภาษาฮกเกี้ยนสำเนียงไต้หวัน
臺灣話
Tâi-oân-oē
ประเทศที่มีการพูด ไต้หวัน
ภูมิภาคเอเชีย
จำนวนผู้พูดราว 15 ล้านคนในไต้หวัน; 49 ล้านคน (ภาษาจีนฮกเกี้ยน)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการไม่มี เป็นภาษาประจำชาติของไต้หวัน
ผู้วางระเบียบไม่มี (ในสาธารณรัฐจีน กระทรวงศึกษาธิการและองค์กรเอกชน)
รหัสภาษา
ISO 639-1zh
ISO 639-2chi (B)
zho (T)
ISO 639-3nan

ภาษาจีนฮกเกี้ยนสำเนียงไต้หวัน (อังกฤษ: Taiwanese Hokkien; จีน: 臺灣福建話; พินอิน: Táiwān fújiàn huà) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาไต้หวัน (อังกฤษ: Taiwanese; จีน: 臺灣話; พินอิน: Táiwān huà; ไต้หวัน: Tâi-oân-oē; หรือ จีน: 臺語; พินอิน: Tái yǔ; ไต้หวัน: Tâi-gí) เป็นภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยนซึ่งใช้โดยราว ๆ ร้อยละเจ็ดสิบของประชากรในสาธารณรัฐจีน (ประเทศไต้หวัน) จัดเป็นสำเนียงย่อยของภาษาจีนฮกเกี้ยนที่เรียก ฮกโล (Hoklo) และเป็นภาษาประจำชาติไต้หวัน อย่างไรก็ดี ภาษาราชการของสาธารณรัฐจีน คือ ภาษาจีนสำเนียงกลางซึ่งใช้รูปแบบการเขียนแตกต่างจากสำเนียงกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) เพราะชาวไต้หวันยังใช้ตัวอักษรจีนดั้งเดิมซึ่งเรียก อักษรจีนตัวเต็ม ส่วนจีนแผ่นดินใหญ่ปรับปรุงระบบตัวอักษรให้เขียนง่ายขึ้นเรียก อักษรจีนตัวย่อ

ไวยากรณ์[แก้]

ใกล้เคียงกับภาษาจีนสำเนียงทางใต้เช่นภาษาฮากกาการเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม เช่นเดียวกับภาษาจีนกลาง แต่สามารเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยาได้เมื่อเป็นรูปถูกกระทำและเติมอนุภาคของคำ ตัวอย่างเช่นประโยค "ฉันจับคุณ" คำที่เก่ยวข้องคือ: goá ("ฉัน" ในรูปประธานและกรรม), phō ("จับ"), lí ("คุณ").

  • ประธาน-กริยา-กรรม (แบบมาตรฐาน) : เป็น: Goá phō lí. ("ฉันจับคุณ")
  • ประธาน-kā- กรรม-กริยา เป็น Goá kā lí phō, ความหมายเปลี่ยนไปเล็กน้อยคือ "ฉันเข้าถึงคุณและจับ"
  • กรรม- hō•- ประธาน-กริยา (รูปถูกกระทำ) : เป็น Lí hō• goá phō ความหมายเปลี่ยนไปเล็กน้อยเป็นรูปถูกกระทำคือ "คุณยอมให้ตัวของคุณถูกจับโดยฉัน" หรือ "คุณทำให้ตัวคุณถูกฉันจับได้"

ด้วยวิธีนี้จะทำให้สร้างประโยคที่ซับซ้อนขึ้นได้ เช่น Goá kā chúi hō• lí lim ("ฉันให้น้ำแก่คุณเพื่อดื่ม ": chúi หมายถึง "น้ำ"; lim หมายถึง "ดื่ม").

การจัดจำแนก[แก้]

ภาษาไต้หวันเป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาอมอยที่เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาจีนฮกเกี้ยน และเป็นส่วนหนึ่งของภาษาจีนหมิ่นและภาษาจีน การเป็นภาษาหรือสำเนียงของภาษาไต้หวันขึ้นกับมุมมองทางการเมือง ภาษาจีนหมิ่นเป็นภาษาเดียวของภาษาจีนที่ไม่ได้มาจากภาษาจีนยุคกลางโดยตรง บางครั้งจึงยากที่จะหาอักษรจีนที่เหมาะสมสำหรับคำศัพท์ในภาษาจีนฮกเกี้ยน และเป็นเหตุผลหนึ่งทำให้ผู้พูดภาษานี้เข้าใจกับผู้พูดภาษาจีนกลางหรือผู้พูดภาษาจีนสำเนียงอื่นๆได้ยาก

ผู้พูดภาษาไต้หวันทั้งหมดเกือบจะถือว่าเป็นผู้พูดภาษาอมอยด้วย ความผันแปรทางด้านพื้นที่ภายในภาษาไต้หวัน อาจจะติดตามย้อนกลับไปสู่ความแตกต่างของภาษาอมอยในมณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้ ภาษาไต้หวันมีคำยืมจากภาษาญี่ปุ่นและกลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา ในปัจจุบันได้มีการทำงานวิจัยเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของคำศัพท์พื้นฐานในภาษาไต้หวันกับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและตระกูลภาษาขร้า-ไท

ผู้พูดภาษาจีนฮกเกี้ยน ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลฝูเจี้ยน และต่อมาบางส่วนได้อพยพไปสู่ไต้หวัน งานเขียนเกี่ยวกับละครที่ตีพิมพ์ในสมัยราชวงศ์หมิงเมื่อราว พ.ศ. 2103 เป็นส่วนหนึ่งของงานที่มีการรู้จักในช่วงแรกๆ แต่รูปแบบของภาษาแบบนี้ส่วนใหญ่เลิกใช้แล้ว

รากศัพท์[แก้]

งานศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์สมัยใหม่ประมาณว่าคำศัพท์ 75 – 90% ของคำศัพท์ในภาษาไต้หวันมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีนอื่นๆ ตัวอย่างเช่น cháu หมายถึงวิ่ง ในภาษาไต้หวัน ส่วนในภาษาจีนกลาง zou หมายถึงเดิน นอกจากนั้น phin หมายถึงจมูก (ภาษาจีนกลาง bi) แต่หมายถึงได้กลิ่นได้ด้วย แต่ก็มีบางคำที่มีความหมายแตกต่างไปจากภาษาจีนอื่นๆทั้งหมด

ความใกล้ชิดกับภาษาญี่ปุ่นทำให้มีคำยืมจากภาษาญี่ปุ่น แม้ว่าจะมีจำนวนน้อย แต่ใช้บ่อยเพราะเป็นศัพท์ในสังคมสมัยใหม่เช่นคำว่า oo-to-bái มาจากภาษาญี่ปุ่น ootobai ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษอีกต่อหนึ่ง และ pháng มาจากภาษาญี่ปุ่น pan (ขนมปัง) ที่มาจากภาษาโปรตุเกสอีกต่อหนึ่ง มีการยืมหน่วยทางไวยากรณ์จากภาษาญี่ปุ่นเช่น te_k (จาก teki) และ ka ซึ่งพบในภาษาไต้หวันที่พูดโดยผู้สูงอายุ ภาษาไต้หวันไม่มีรูปพหูพจน์ที่แท้จริง เช่นเดียวกับภาษาจีนอื่นๆ

ภาษาจีนมีสรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์สองคำคือการรวมผู้ฟังและไม่รวมผู้ฟัง เช่น goán = พวกเราไม่รวมคุณ ในขณะที่ lán = พวกเรารวมคุณด้วย คำว่า lán ยังใช้เพื่อแสดงความสุภาพ การแบ่งแยกนี้เป็นลักษณะทั่วไปของกลุ่มภาษาจีน-ทิเบต

อักษรและการออกเสียง[แก้]

ภาษาไต้หวันไม่มีการเขียนเป็นของตนเองก่อนพุทธศตวรรษที่ 14 ผู้พูดภาษาไต้หวันใช้อักษรจีน ระบบการเขียนที่ใช้อักษรละตินที่เรียกว่าเป่อ่วยยี (POJ) ได้พัฒนาขึ้นขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 24 ปัจจุบันนี้ ผู้พูดภาษาไต้หวันนิยมเขียนด้วยอักษรจีน โดยใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ของภาษาจีนกลาง

อักษรจีนหรืออักษรฮั่น[แก้]

โดยส่วนใหญ่ผู้พูดภาษาไต้หวันใช้อักษรที่มีลักษณะของอักษรฮั่นหรืออักษรจีน โดยยืมอักษรที่มีเสียงคล้ายกัน

อักษรละติน[แก้]

ข่าวโบสถ์ไต้หวัน สิ่งพิมพ์ฉบับแรกที่เขียนด้วยภาษาไต้หวันใช้อักษรเป่อ่วยยี

ในบางครั้งภาษาไต้หวันเขียนด้วยอักษรละติน ตามการออกเสียงเรียกอักษรเป่อ่วยยี พัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยมิชชันนารีนิกายเพรสไบทีเรียนและปรับปรุงโดยมิชชันนารีนิกายนี้ที่เป็นชาวไต้หวัน ระบบอื่นๆที่ใช้ภาษาละตินได้แก่ อักษรสัทศาสตร์ภาษาไต้หวัน (TLPA) ภาษาไต้หวันสมัยใหม่ (MTL) และโฟซิสไดบูอัน (PSDB)

ในการเขียนแบบเป่อ่วยยีมีตัวอักษร 24 ตัวรวมทั้ง ts ซึ่งใช้แสดงเสียง /ch/ มีเครื่องหมายแสดงเสียงนาสิกและวรรณยุกต์ ใน พ.ศ. 2549 คณะกรรมการภาษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐจีนได้เสนอการเขียนแบบการออกเสียงแบบโรมันสำหรับภาษาไต้หวัน โดยรวมแบบเป่อ่วยยีกับ TLPA การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเปลี่ยนจาก ts เป็น ch และ tsh เป็น chh

อักษรคานะ[แก้]

พจนานุกรมภาษาไต้หวัน-ญี่ปุ่น เขียนด้วยอักษรคานะ

ภาษาไต้หวันเคยเขียนด้วยอักษรคานะแบบญี่ปุ่นเมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น รัฐบาลก๊กมินตั๋งเคยเสนอการเขียนแบบ Bopomofo

ในคอมพิวเตอร์[แก้]

ภาษาจีนฮกเกี้ยนได้ลงทะเบียนใน RFC 3066 เป็น zh-min-nan ภาษาไต้หวันใช้รหัสว่า zh-min-nan-TW

เปรียบเทียบการเขียนภาษาไต้หวัน[แก้]

Vowels
IPA a ap at ak ã ɔ ɔk ɔ̃ ə o e i ɪɛn
เป่อ่วยยี a ap at ak ah aⁿ ok oⁿ o o e eⁿ i ian eng
Revised TLPA a ap at ak ah aN oo ok ooN o o e eN i ian ing
TLPA a ap at ak ah ann oo ok oonn o o e enn i ian ing
BP a ap at ak ah na oo ok noo o o e ne i ian ing
MLT a ab/ap ad/at ag/ak aq/ah va o og/ok vo ø ø e ve i ien eng
DT a āp/ap āt/at āk/ak āh/ah ann/aⁿ o ok onn/oⁿ or or e enn/eⁿ i ian/en ing
คานะไต้หวัน アア アア オオ オオ オオ ヲヲ エエ エエ イイ
จู้อินแบบใส่เพิ่ม ㄚㆴ ㄚㆵ ㄚㆶ ㄚㆷ ㆦㆶ ㄧㄢ ㄧㄥ
ไถหลัว a ap at ak ah ann oo͘ ok onn o o e enn i ian ing
ตัวอย่าง (จีนตัวเต็ม)













ตัวอย่าง (จีนตัวย่อ)













Vowels
IPA ɪk ĩ ai au am ɔm ɔŋ ŋ̍ u ua ue uai uan ɨ (i)ũ
อักษรเป่อ่วยยี ek iⁿ ai aiⁿ au am om m ong ng u oa oe oai oan i (i)uⁿ
Revised TLPA ik iN ai aiN au am om m ong ng u ua ue uai uan ir (i)uN
TLPA ik inn ai ainn au am om m ong ng u ua ue uai uan ir (i)unn
BP ik ni ai nai au am om m ong ng u ua ue uai uan i n(i)u
MLT eg/ek vi ai vai au am om m ong ng u oa oe oai oan i v(i)u
DT ik inn/iⁿ ai ainn/aiⁿ au am om m ong ng u ua ue uai uan i (i)unn/uⁿ
คานะแบบไต้หวัน エク イイ アイ アイ アウ アム オム オン ウウ ヲア ヲエ ウウ ウウ
จู้อินแบบใส่เพิ่ม ㄧㆶ ㄨㄚ ㄨㆤ ㄨㄞ ㄨㄢ
ไถหลัว ik inn ai ainn au am om m ong ng u ua ue uai uan i iunn
ตัวอย่าง (อักษรจีนตัวเต็ม)














ตัวอย่าง (อักษรจีนตัวย่อ)














พยัญชนะ
IPA p b m t n l k ɡ h tɕi ʑi tɕʰi ɕi ts dz tsʰ s
อักษรเป่อ่วยยี p b ph m t th n nng l k g kh h chi ji chhi si ch j chh s
Revised TLPA p b ph m t th n nng l k g kh h zi ji ci si z j c s
TLPA p b ph m t th n nng l k g kh h zi ji ci si z j c s
BP b bb p bb d t n lng l g gg k h zi li ci si z l c s
MLT p b ph m t th n nng l k g kh h ci ji chi si z j zh s
DT b bh p m d t n nng l g gh k h zi r ci si z r c s
อักษรคานะแบบไต้หวัน パア バア パ̣ア マア タア タ̣ア ナア ヌン ラア カア ガア カ̣ア ハア チイ ジイ チ̣イ シイ ザア サ̣ サア
จู้อินแบบใส่เพิ่ม ㄋㆭ
ไถหลัว p b ph m t th n nng l k g kh h tsi ji tshi si ts j tsh s
ตัวอย่าง (อักษรจีนตัวเต็ม)




















ตัวอย่าง(อักษรจีนตัวย่อ)




















วรรณยุกต์
ชื่อวรรณยุกต์ ระดับหยิน
陰平(1)
Yin rising
陰上(2)
Yin departing
陰去(3)
Yin entering
陰入(4)
ระดับหยาง
陽平(5)
Yang rising
陽上(6)
Yang departing
陽去(7)
Yang entering
陽入(8)
High rising
(9)
Neutral tone
(0)
IPA a˥˧ a˨˩ ap˩
at˩
ak˩
aʔ˩
a˧˥ a˥˧ ap˥
at˥
ak˥
aʔ˥
a˥˥
อักษรเป่อ่วยยี a á à ap
at
ak
ah
â á ā a̍p
a̍t
a̍k
a̍h
  --a
Revised
TLPA
TLPA
a1 a2 a3 ap4
at4
ak4
ah4
a5 a2 (6=2) a7 ap8
at8
ak8
ah8
a9 a0
BP ā ǎ à āp
āt
āk
āh
á ǎ â áp
át
ák
áh
   
MLT
af ar ax ab
ad
ag
aq
aa aar a ap
at
ak
ah
  ~a
DT a à â āp
āt
āk
āh
ǎ à ā ap
at
ak
ah
á å
อักษรคานะแบบไต้หวัน
(normal vowels)
アア アア アア


アア アア アア


   
อักษรคานะแบบไต้หวัน
(สระนาสิก)
アア アア アア


アア アア アア


   
จู้อิน ㄚˋ ㄚᒻ ㄚㆴ
ㄚㆵ
ㄚㆶ
ㄚㆷ
ㄚˊ ㄚˋ ㄚ⊦ ㄚㆴ̇
ㄚㆵ̇
ㄚㆶ̇
ㄚㆷ̇
   
ไถหลัว a á à ah â á ā a̍h    
ตัวอย่าง
(อักษรจีนตัวเต็ม)






ตัวอย่าง
(อักษรจีนตัวย่อ)






สัทศาสตร์เชิงสังคม[แก้]

ความผันแปรในแต่ละบริเวณ[แก้]

ในไต้หวัน สำเนียงไทนานทางใต้ของไต้หวันเป็นสำเนียงหลัก สำเนียงอื่น ๆ ได้แก่ สำเนียงทางเหนือ สำเนียงภาคกลางและสำเนียงตามแนวชายฝั่งทางเหนือ ลักษระที่แตกต่างไปของสำเนียงตามแนวชายฝั่งคือการใช้สระ ‘uiⁿ’ แทนที่ ng สำเนียงทางเหนือแตกต่างไปโดยไม่มีเสียงวรรณยุกต์เสียงที่ 8 สำเนียงกลางเพิ่มเสียงสระ [ɨ] หรือ [ø]ซึ่งอยู่ระหว่าง i และ u

อิทธิพล[แก้]

ประชาชนส่วนใหญ่ในไต้หวันพูดทั้งภาษาจีนกลางและภาษาไต้หวันทำให้มีอิทธิพลระหว่างกัน มีประชากรในไต้หวันประมาณ 20 - 30% ไม่สามารถพูดภาษาไต้หวันได้เลย ในขณะเดียวกันมีชาวไต้หวันประมาณ 10 - 20% ส่วนใหญ่เกิดก่อน พ.ศ. 2493 ไม่สามารถพูดภาษาจีนกลางได้เลย ชาวฮากกาในไต้หวันประมาณ 1/2 หนึ่งพูดภาษาไต้หวันได้ มีหลายครอบครัวที่เป็นเลือดผสมระหว่างฮากกา ฮกโล และชาวพื้นเมือง มีชาวไต้หวันจำนวนมากที่สามารถเข้าใจภาษาไต้หวันได้ดีกว่าการพูดภาษาไต้หวัน

โดยทั่วไปประชาชนจะใช้ภาษาจีนกลางในสถานะที่เป็นทางการ และใช้ภาษาไต้หวันในสถานะที่ไม่เป็นทางการ ภาษาไต้หวันจะใช้มากในเขตชนบท และใช้ภาษาจีนกลางมากในเขตเมือง คนอายุมากมีแนวโน้มใช้ภาษาไต้หวัน ในขณะที่วัยรุ่นมีแนวโน้มใช้ภาษาจีนกลาง สื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ ละครใช้ภาษาไต้หวัน ส่วนงานที่เป็นเอกสารใช้ภาษาจีนกลาง การสื่อสารทางการเมืองใช้ภาษาไต้หวันและภาษาจีนกลาง

ศิลปะและกวีนิพนธ์[แก้]

Chhit-jī-á เป็นการเขียนกวีนิพนธ์ของภาษาไต้หวัน แต่ละวรรคมี 7 พยางค์ และมีรูปแบบเฉพาะสำหรับการแสดงละครเรียก koa-á-hì และหุ่นกระบอกแบบไต้หวันเรียก Pò͘-tē-hì

การแปลไบเบิล[แก้]

สำเนาของการแปลไบเบิลเป็นภาษาอมอยของ Barclay
ไบเบิลภาษาไต้หวันรูปแบบต่าง ๆ บนซ้าย, แบบToday’s Taiwanese ; บนขวา, ไบเบิลปกแดง; ล่าง, ฉบับแปลของ Barclay
จากหนังสือไบเบิลปกแดง

เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ การแปลไบเบิลเป็นภาษาไต้หวันมีลำดับขั้นของการจัดมาตรฐานภาษาและการออกเสียง การแปลไบเบิลเป็นภาษาอมอยหรือภาษาไต้หวันด้วยการออกเสียงแบบเป่อ่วยยีโดยมิชชันนารีที่เข้ามาอยู่ในไต้หวัน James Laidlaw Maxwell ส่วนที่เป็นพันธสัญญาใหม่เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2416 ส่วนพันธสัญญาเก่าเผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2427

การแปลไบเบิลรุ่นต่อมาดำเนินการโดย Thomas Barclay ทั้งในมณฑลฝูเจี้ยนและไต้หวัน[1][2] ภาคพันธสัญญาใหม่แปลเป็นภาษาไต้หวันโดยสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2459 การแปลทั้งสองภาคเป็นภาษาไต้หวันโดยใช้การออกเสียงแบบเป่อ่วยยีสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2473 และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2476 และได้ปริวรรตเป็นรูปที่ใช้อักษรจีนใน พ.ศ. 2539 [3]

การตีพิมพ์ไบเบิลปกแดงซึ่งใช้การออกเสียงแบบเป่อ่วยยี ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2516 โดยใช้ศัพท์สมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนกลาง การแปลเป็นภาษาไต้ไหวันโดยใช้รูปแบบอักษรโรมันปัจจุบันของไต้หวันตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2551[4] เฉพาะพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเก่ากำลังจัดพิมพ์[5]

การเมือง[แก้]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 การใช้ภาษาไต้หวันร่วมกับสำเนียงอื่น ๆ ของภาษาจีนที่ไม่ใช่ภาษาจีนกลางถูกควบคุมโดยรัฐบาลก๊กมินตั๋งทั้งการใช้ในโรงเรียนและสื่อออกอากาศ การจำกัดถูกยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2533 เนื่องมีกระแสการสร้างความสำคัญของท้องถิ่น ภาษาจีนกลางยังคงเป็นภาษาสำคัญในโรงเรียน แต่ภาษาไต้หวันจะถูกสอนในโรงเรียนในฐานะภาษาแม่ ซึ่งเลือกได้ระหว่างภาษาไต้หวัน ภาษาฮากกา และภาษาของชาวพื้นเมือง การรณรงค์ให้ใช้ภาษาไต้หวันมากกว่าภาษาจีนกลางเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการไต้หวันเอกราชในอดีต แต่ความเชื่อมโยงระหว่างการเมืองกับภาษาในปัจจุบันลดน้อยลง ผลทางการเมืองของการใช้ภาษาไต้หวันมีทั้งเพื่อการเรียกร้องเอกราช และความเป็นหนึ่งเดียวกันของไต้หวัน การใช้ภาษาไต้หวันเพื่อการเรียกร้องเอกราชได้ลดลงเพราะต้องการความร่วมมือจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่และชาวฮากกา

อ้างอิง[แก้]

  1. "本土聖經" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2008-07-14.
  2. "書評『聖經--台語漢字本』" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-07-14.
  3. 台語信望愛: 《當上帝開嘴講台語》: 4.1.4 《台語漢字本》
  4. PeoPo: 現代台語新約羅馬字聖經 出版感謝e話
  5. 台灣聖經公會 (The Bible Society of Taiwan) : 台語聖經

หนังสือและสื่ออื่น ๆ[แก้]

(หนังสือเกี่ยวกับภาษาไต้หวันที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษมีจำกัด ส่วนใหญ่เป็นภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมัน)

ตำราและพจนานุกรมภาษาอังกฤษ
  • Yeh, Chieh-Ting; Lee, Marian (2005), Harvard Taiwanese 101, Tainan: King-an Publishing, ISBN 957-29355-9-3 Format: Paperback and CDs
  • Su-chu Wu, Bodman, Nicholas C.: Spoken Taiwanese with cassette (s), 1980/2001, ISBN 0-87950-461-7 or ISBN 0-87950-460-9 or ISBN 0-87950-462-5
  • Campbell, William: Ē-mn̂g-im Sin Jī-tián (Dictionary of the Amoy Vernacular). Tainan, Taiwan: Tâi-oân Kàu-hoē Kong-pò-siā (Taiwan Church Press, Presbyterian Church in Taiwan). June 1993 (First published July 1913).
  • Iâu Chèng-to: Cheng-soán Pe̍h-oē-jī (Concise Colloquial Writing). Tainan, Taiwan: Jîn-kong (an imprint of the Presbyterian Church in Taiwan). 1992.
  • Tân, K. T: A Chinese-English Dictionary: Taiwan Dialect. Taipei: Southern Materials Center. 1978.
  • Maryknoll Language Service Center: English-Amoy Dictionary. Taichung, Taiwan: Maryknoll Fathers. 1979.
  • Klöter, Henning. Written Taiwanese. Wiesbaden: Harrassowitz, 2005. ISBN 3-447-05093-4.
หนังสือภาษาญี่ปุ่น
  • 樋口 靖: 台湾語会話, 2000, ISBN 4-497-20004-3 (Good and yet concise introduction to the Taiwanese language in Japanese; CD: ISBN 4-497-20006-X)
  • 趙 怡華: はじめての台湾語, 2003, ISBN 4-7569-0665-6 (Introduction to Taiwanese [and Mandarin]; in Japanese).
  • 鄭 正浩: 台湾語基本単語2000, 1996, ISBN 4-87615-697-2 (Basic vocabulary in Taiwanese 2000; in Japanese).
  • 趙 怡華, 陳 豐惠, たかお かおり, 2006, 絵でわかる台湾語会話. ISBN 978-4-7569-0991-6 (Conversations in Taiwanese [and Mandarin] with illustrations; in Japanese).
อื่น ๆ
บทความและสื่ออื่น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เกี่ยวกับภาษา
พจนานุกรม
ทางการศึกษา
อื่น ๆ