ทีโบน (วงดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก T-Bone)
ทีโบน
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงเร็กเก้
สกา
อัลเทอร์เนทีฟ
ช่วงปีพ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงมูเซอร์ เรคคอร์ดส
วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์
โซนี่ มิวสิก
หัวลำโพง ริดดิม
เรนโบว์ โปรดักชั่นส์
สมาชิกเจษฎา ธีระภินันท์
นครินทร์ ธีระภินันท์
อริญญ์ ปานพุ่ม
พิรศุษม์ พัฒนะจินดารักษ์
พิสุทธ์ ประทีปะเสน
ธีรัช เลาห์วีระพานิช
สฤษฎ ตันเป็นสุข
ณัฐพล มานิกัมปิลไล
ชญาณี มหาศรี
อดีตสมาชิกวิชญ วัฒนศัพท์
ภานุ กันตะบุตร
สุภัค ใจเพ็ชร
ธรรมนูญ ทัศโน - (เสียชีวิต)
นรเทพ มาแสง
ธนบูรณ์ เทพบุตร
เคนจู นากาจิมะ
โอฬาร มโนไพบูลย์
เว็บไซต์www.tboneska.com www.facebook.com/tboneska www.facebook.com/tboneska.th

ทีโบน (อังกฤษ: T- BONE) เป็นกลุ่มวงดนตรีสัญชาติไทยแนวเพลง เร็กเก้-สกา และเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่บุกเบิกแนวเพลงนี้ในไทย มีเพลงที่ได้รับความรู้จักอย่างมากได้แก่ เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม [1] สมาชิกของวง ทีโบน มีทั้งหมด 9 คน[2]

ประวัติ[แก้]

ทีโบน เริ่มต้นวงยุคแรกจากการเล่นประจำที่ร้านบลูมูน และร้านบลูยีนส์ โดยชื่อวง ‘ทีโบน’ นั้นนำมาจากป้ายชื่อยีห้อของกางเกงยีนส์ที่ แก๊ป-เจษฎา ธีระภินันท์ ออกแบบขาย ต่อมาทีโบนได้ไปแจมเล่นอะคูสติกกับ โอ๋ (ธีร์ ไชยเดช) ที่ร้านแซ็กโซโฟน ซึ่งเล่นมาจนถึงวันนี้นับเป็นเวลาร่วม 20 กว่าปีแล้ว และด้วยประโยค “สนใจมาเป็นซูปเปอร์สตาร์มั้ย?” คำชวนแบบทีเล่นทีจริงจาก จิก (ประภาส ชลศรานนท์) ที่มองเห็นความสามารถของวงนี้ และชักชวนให้ทีโบนเข้ามาอยู่ในวงการเป็นศิลปินออกเทปทำงานด้วยกัน จึงทำให้เกิด ‘ทีโบน’ ชุดแรกขึ้นมา

จากอัลบั้มชุดแรกของทีโบนนั้นได้มีเพลงฮิตอย่าง ‘เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม’ เกิดขึ้นมาประดับวงการทำให้วงทีโบนเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ต่อมาทีโบนออกอัลบั้มชุดที่ 2 ‘คุณนายสะอาด’ และเมื่อจบอัลบั้มชุดที่ 3 ‘เล็ก ชิ้น สด’ ที่มีเพลงเพราะอย่าง ‘แรงดึงดูด’ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เมื่อเปิ้ล (เจ้าของเสียงร้องในเพลง ‘เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม’) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และทีโบนก็หมดสัญญากับทางค่ายมูเซอร์ และวอร์นเนอร์ มิวสิก จึงได้ย้ายมาอยู่กับ โซนี่ มิวสิก แทน ต่อมาทีโบนทำอัลบั้มชุดที่ 4 ‘กอด’ โดยมีเพลงดังอย่าง ‘ดาวตก’ ‘กอด’ ‘กลิ่น’ และอัลบั้มชุดพิเศษเพลงอะคูสติก 5 เพลงชื่ออัลบั้ม “เบาหวาน” นั่นคือผลงานทั้งหมดของทีโบนที่เป็นสตูดิโออัลบั้มจริงๆ

หลังจากออกจากค่ายโซนี่ มิวสิก ทีโบนก็มาสร้างค่ายเพลงของตัวเองในชื่อ หัวลำโพง ริดดิม แล้วออกอัลบั้มชุด ‘Live!’ กับซีดีบันทึกการแสดงสดเพียงเท่านี้ แต่สมาชิกในวงยังมีผลงานเดี่ยวของตัวเอง อาทิ แก๊ป ทีโบน กับซิงเกิล GA-PI DUBKITCHEN และ หนุ่ม ทีโบน กับซิงเกิล NUM T-BONE XXX เป็นต้น โหน่งได้ทำวงดนตรีในแนว electronic lounge music ในนาม The Photo Sticker Machine ถึงแม้ว่าสมาชิกในวงจะมีผลงานออกมา แต่วงทีโบนยังรวมตัวเล่นดนตรีกันอย่างเหนียวแน่น และเมื่อเปิดการแสดงครั้งใดวงทีโบนก็ยังได้รับการสนับสนุนจากแฟนเพลงอย่างสม่ำเสมอ ไม่เคยขาด

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ทีโบนร่วมแสดงในเทศกาลดนตรีกลางแจ้ง Glastonbury ที่อังกฤษ และในกลางปี พ.ศ. 2549 ทีโบนได้ไปร่วมแสดงคอนเสิร์ตในเทศกาลดนตรี Womad ที่ประเทศสิงคโปร์

อัลบั้ม Enjoy Yourself เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 5 ถัดจากอัลบั้มที่ 4 ถึง 8 ปี ซาวนด์มีความสดของการเป็นวงทีโบน เพลงในอัลบั้มนี้จะอัดสด และการโซโล่ทุกไลน์เป็นการอิมโพรไวส์ (improvise)

โดยในปี พ.ศ. 2555 วงทีโบนได้ปล่อยอัลบั้ม Bone in da House ซึ่งเป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่หกซึ่งห่างหายไปถึงหกปี โดยปล่อยซิงเกิ้ล 3 อัลบั้ม หินกลิ้ง , มาลัยยอดรัก และหน้าบาน และได้ปล่อยอัลบั้มเต็มกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งได้รับความสนใจจากแฟนเพลงจำนวนมากโดยอัลบั้มนี้ได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์จากอังกฤษ Mike Pelanconi หรือ Prince Fatty และได้ตำนานเร้กเก้จากจาไมก้า Dennis Alcapone มาร่วมขับร้องในเพลง Skarit และได้ Horseman, Bubblers มาร่วมร้อง ในเพลง Big Jam อัลบั้มนี้บันทึกเสียงทั้งในประเทศไทยและอังกฤษ[3]

สมาชิกของวง[แก้]

ผลงาน[แก้]

อัลบั้ม[แก้]

  • จังหวะนี้ใจดีเข้ากระดูกดำ (พ.ศ. 2535)
    1. คนหน้าลิง
    2. สมาคมเชื้อโรคแห่งประเทศไทย
    3. เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม
    4. กระป๋องออเครสตร้า
    5. มือ
    6. วณิพกพเนจร
    7. สีเดียว
    8. บูชายัญ
    9. จากป่าแด่สีบ
    10. ไม่อ้วกก็บุญแล้ว
  • คุณนายสะอาด (พ.ศ. 2536)
    1. เราทำทั้งหมด
    2. คุณนายขอเอี่ยว
    3. กุหลาบดำ
    4. ดุ่ย ดุ่ย
    5. ปลายดาว
    6. แล้วใครจะตอบ
    7. น้ำ-น้ำตา
    8. น้ำค้าง
    9. เช้าวันจันทร์
    10. ความชัดเจนในคืนดาวดับ
    11. ฝุ่นตลบ
  • เล็ก ชิ้น สด (พ.ศ. 2537)
    1. เรื่องกลับหัว
    2. ไม่ต้อง
    3. ไม่งอง
    4. เสียดาย
    5. มัจจุราช(remix)
    6. พิภพมัจจุราช
    7. โต๋-ล่ง-ตง
    8. ใจลอย
    9. นางนวล
    10. แรงดึงดูด
  • กอด (พ.ศ. 2540)
    1. กลิ่น
    2. ดาวตก
    3. ทะเลและเวลา
    4. กอด
    5. คำถาม
    6. รอ
    7. ภาพลวงตา
    8. คิดถึงลมหนาว
    9. Sun
    10. บ้าน
    11. T-BONE
  • Enjoy Yourself (พ.ศ. 2548)
    1. One Love วันรัก
    2. King of Trombone
    3. มนต์รักเพลงสกา Ska Lover
    4. นวด
    5. Like'U
    6. Bongoman ออดบวช
    7. ปรารถนา
    8. สยามเมืองยิ้ม
    9. Ska Rider
    10. T-bone comes to Glastonbury
    11. Thai Massage
  • Bone in da House (พ.ศ. 2555)[4][5][6][7]
    1. หินกลิ้ง (Like a Rolling Stone)
    2. มาลัย ยอดรัก (My Sweet Malai)
    3. Skarit feat. Dennis Alcapone
    4. หน้าบาน (Smiley Face)
    5. Caravan of luv
    6. พันหนึ่งราตรี (Arabian Nights)
    7. Big Jam feat. Horseman & Prince Fatty
    8. ไม่รู้
    9. Don Juan on da Beach
    10. Bone in da House

อีพีและซิงเกิล[แก้]

คอนเสิร์ต[แก้]

  1. T-BONE/Alive
  2. TBone เหนือเมฆ

อ้างอิง[แก้]

  1. "โลกเร๊กเก้ของ 'แก๊ป ที-โบน'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-11.
  2. ถนนคนเพลง : BONE IN DA HOUSE ลงมือทำ นำสู่ความสำเร็จ[ลิงก์เสีย]
  3. 7 ปีที่รอคอย T-BONE ได้ฤกษ์คลอด อัลบั้มกุมภาพันธ์นี้! - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  4. “ทีโบน” เนื้อๆเน้นๆ ข้นเข้ม...เต็มอิ่ม/บอน บอระเพ็ด[ลิงก์เสีย]
  5. อัลบั้ม bone in da house ในไอทูนส์
  6. เมื่อจุดอิ่มตัวมาถึง...ทีโบน[ลิงก์เสีย]
  7. ทีโบน พิถิพิถันทำเพลงเรกเก้ใส่อัลบั้ม bone in da house

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]