เกาะทั้งเจ็ดของบอมเบย์
เกาะทั้งเจ็ดของบอมเบย์ (seven islands of Bombay) เป็นอาณานิคมโปรตุเกสในอินเดีย ที่ตั้งอยู่นอกชายฝั่งของอินเดีย ซึ่งต่อมาได้ส่งมอบให้กับอังกฤษเป็นสินสอดของ Catherine of Braganza เจ้าหญิงแห่งโปรตุเกส เมื่ออภิเษกสมรสกับพระเจ้าชารลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปี 1661 เกาะเล็กน้อนต่าง ๆ เคยเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมืองและอาณาจักรพื้นถิ่น เช่น จักรรวรรดิสิลหรา (Silhara dynasty) และ รัฐสุลต่านคุชราต ก่อนจะถูกรุกรานโดยจักรวรรดิโปรตุเกส ในปี 1534 ต่อมาพระเจ้าชารลส์ที่ 2 ทรงให้บริเวณนี้เช่าโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ในปี 1668 ด้วยอัตรา 10 ปอนด์ต่อปี เกาะทั้งเจ็ดนี้รวมเข้าด้วยกันเป็นแผ่นดินเดียวเมื่อปี 1845[1] ด้วยการถมทะเล รวมถึงเกาะอื่น ๆ คือ โตรมเบย์ (Trombay) และ ซอลเซตต์ เกาะเหล่านี้ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ทางใต้ของมุมไบ]
เกาะทั้งเจ็ดนั้นดั้งเดิมประกอบไปด้วย
- เกาะบอมเบย์ (Isle of Bombay)
- โกลาบา (Colaba)
- เกาะของสตรีสูงวัย (Old Woman's Island) หรือ โกลาบาน้อย (Little Colaba)
- มหิม (Mahim)
- มสาโคน (Mazagaon)
- ปเรล (Parel)
- วารลี (Worli)
นอกจากเกาะหลักเจ็ดเกาะแล้ว ย้งมีเกาะเล็กเกาะน้อยอื่น ๆ อีก เช่น
- ถ้ำเอลิแฟนตา หรือเกาะฆราบุรี
- เกาะบุทเช่อร์ (Butcher Island)
- มิดเดิ้ลกราวด์ อินเดีย (Middle Ground (India)|Middle Ground)
- หินออยสเตอร์ (Oyster Rock)
- อีสต์กราวด์ (East Ground)
- เกาะครอสส์ (Cross Island)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Bombay: History of a City". The British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-25. สืบค้นเมื่อ 20 October 2014.