ข้ามไปเนื้อหา

กุย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Saiga)
กุย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Antilopinae
สกุล: Saiga
Gray, 1843
สปีชีส์: S.  tatarica
ชื่อทวินาม
Saiga tatarica
(Linnaeus, 1766)
ชนิดย่อย[2]
  • S. t. mongolica Bannikov, 1946 (กุยมองโกเลีย; บางครั้งใช้ชื่อว่า S. borealis)
  • S. t. tatarica (Linnaeus, 1766) (กุยธรรมดา)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีเขียว; กุยธรรมดา, สีแดง; กุยมองโกเลีย)
ชื่อพ้อง[3]
รายชื่อ
  • Antilope saiga Pallas, 1766
  • A. scythica Pallas, 1766
  • Capra tatarica Linnaeus, 1766
  • C. sayga Forster, 1768
  • Cemas colus Oken, 1816
  • Ibex imberbis Gmelin, 1760

กุย[4] หรือ ไซกา (อังกฤษ: Saiga antelope, Saiga; จีน: 高鼻羚羊; เกาปี่ หลิงหยาง; ชื่อวิทยาศาสตร์: Saiga tatarica) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Antilopinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae จัดเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับแอนทีโลป

จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Saiga[5][6]

กุย มีความสูงประมาณ 0.6–0.8 เมตร โดยวัดจากไหล่ มีความยาวลำตัว 108–146 เซนติเมตร หางยาว 6–13 เซนติเมตร น้ำหนัก 36–63 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียและมีเขาซึ่งยาว 20–25 เซนติเมตร กุยมีลักษณะเด่นที่สังเกตได้ง่าย คือ จมูกที่มีขนาดใหญ่และยืดหยุ่นได้ มีรูปร่างแปลกเหมือนจมูกของสมเสร็จซึ่งมีหน้าที่ในการอุ่นอากาศหายใจในฤดูหนาวและกรองฝุ่นออกในฤดูร้อน ในฤดูร้อน ขนของกุยจะบางและมีสีเหลืองเหมือนสีอบเชย มีความยาว 18–30 มิลลิเมตร ส่วนในฤดูหนาวจะเปลี่ยนสีเป็นสีขาว ความยาว 40–70 มิลลิเมตร

พบกระจายพันธุ์ในเอเชียกลาง ได้แก่ ไซบีเรียตอนใต้, มองโกเลียตะวันตก และจีนตะวันตกเฉียงเหนือ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง)[1][2][7]

กุยเป็นสัตว์ที่ตื่นตัวตลอดเวลา กินพืชได้หลายชนิดรวมทั้งพืชที่มีพิษ ว่ายน้ำเก่ง และยังสามารถวิ่งได้ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในวันหนึ่งสามารถเดินทางได้ไกล 80–100 กิโลเมตร จะอพยพทุก ๆ ปีในช่วงฤดูใบไม้ผลิขึ้นเหนือเพื่อไปพื้นที่เล็มหญ้าในช่วงฤดูร้อน

ลักษณะจมูก

มีอายุขัยประมาณ 6–10 ปี ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 8 เดือนและตัวผู้เมื่ออายุ 20 เดือน ฤดูผสมพันธุ์ของกุยนั้นเริ่มในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งพวกตัวผู้นั้นจะต่อสู้กันจนตาย เพื่อครอบครองเหล่าตัวเมียที่อยู่ในกลุ่มประมาณ 5–50 ตัว หลังจากหมดฤดูผสมพันธุ์ในปลายเดือนเมษายน กุยตัวผู้ที่เหลือรอดนั้นจะมาร่วมกลุ่มกัน 10–2,000 ตัวเพื่อการอพยพในช่วงฤดูใบไม้ผลิขึ้นเหนือ ส่วนตัวเมียนั้นจะอยู่ที่เดิมและพากันไปหาที่ให้กำเนิดลูก โดยมีระยะเวลาตั้งท้องนาน 140 วัน และในฤดูใบไม้ผลิประมาณปลายเดือนมีนาคม–ต้นเดือนเมษายน จะคลอดลูกครั้งละ 1–2 ตัว ลูกที่เกิดใหม่เริ่มกินใบไม้ได้เมื่ออายุ 4 วัน และจะหย่านมเมื่ออายุได้ 3–4 เดือน

กุยในอดีตถูกล่าเอาเขา ซึ่งเชื่อว่าปรุงเป็นยาจีนได้ และมีราคาซื้อขายที่แพงมากเหมือนนอแรด[8]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 กุยจำนวนมากเริ่มตายจากการเจ็บป่วยด้วยโรคระบาดในสัตว์ลึกลับซึ่งสงสัยว่าเป็นการติดเชื้อพาสเจอร์เรลลา[9] อัตราตายอยู่ที่ร้อยละ 100 เมื่อติดเชื้อ โดยมีการประมาณว่าร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมดของสปีชีส์ตายแล้ว[10] พบซากกว่า 120,000 ซากในปลายเดือนพฤษภาคม โดยมีประชากรทั้งหมดที่ประเมินไว้เพียง 250,000 ตัว[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Mallon, D.P. (2008). Saiga tatarica. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 13 November 2008.Database entry includes justification for why this species is listed as Critically Endangered.
  2. 2.0 2.1 Groves, C.; Grubb, P. (2011). Ungulate Taxonomy. Baltimore, USA: Johns Hopkins University Press. p. 157. ISBN 978-1-4214-0093-8.
  3. Sokolov, V.E. (1974). "Saiga tatarica" (PDF). Mammalian Species (38): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-07-30.
  4. [https://web.archive.org/web/20110926151725/http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-1-search.asp เก็บถาวร 2011-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กุย ๑ น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]
  5. Marcot, J.D. (2007). "Molecular phylogeny of terrestrial artiodactyls". ใน Prothero, D.R.; Foss, S.E. (บ.ก.). The Evolution of Artiodactyls (Illustrated ed.). Baltimore, USA: Johns Hopkins University Press. pp. 4–18. ISBN 978-0-8018-8735-2.
  6. Grubb, P. (2005). "Order Artiodactyla". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 688. ISBN 978-0-8018-8221-0.
  7. "Saiga/mongolian Saiga (Saiga tatarica)". Evolutionarily Distinct and Globally Endangered. Zoological Society of London. สืบค้นเมื่อ 19 December 2012.
  8. Saiga tatarica (อังกฤษ)
  9. "Endangered saiga antelope mysteriously dying in vast numbers in Kazakhstan". The Independent. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-14. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
  10. "Mass deaths hit Kazakhstan's endangered Ice Age antelope species". reuters.com. Reuters. May 27, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-31.
  11. Taylor, Adam. "Kazakhstan's econological mystery". Washington Post. Worldviews. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Saiga tatarica ที่วิกิสปีชีส์