รอย ออร์บิสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Roy Orbison)
รอย ออร์บิสัน
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดรอย เคลตัน ออร์บิสัน
เกิด23 เมษายน ค.ศ. 1936(1936-04-23)
เวอร์นอน รัฐเท็กซัส, สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต6 ธันวาคม ค.ศ. 1988(1988-12-06) (52 ปี)
เฮนเดอร์สันวิลล์ รัฐเทนเนสซี, สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงร็อก, ร็อกแอนด์โรล, ร็อกอะบิลลี, คันทรี, ป็อป
อาชีพนักดนตรี, นักแต่งเพลง
ช่วงปี1954 - 1988
ค่ายเพลงซันเรคเคิร์ด, โมนิวเมนต์เรคเคิร์ด, เอ็มจีเอ็มเรคเคิร์ด, ลอนดอนเรคเคิร์ด, เมอร์คิวรีเรคเคิร์ด, อะไซลัมเรคเคิร์ด, พอลีแกรม, เวอร์จินเรคเคิร์ด
เว็บไซต์royorbison.com
รอย ออร์บิสัน ในชุดขาว(กลาง) ขณะแสดงสดในปี 1976
ออร์บิสันขณะกำลังแสดงคอนเสิร์ตในนครนิวยอร์ก ปี 1987

รอย เคลตัน ออร์บิสัน (อังกฤษ: Roy Kelton Orbison) (23 เมษายน ค.ศ. 19366 ธันวาคม ค.ศ. 1988)[1] หรือเจ้าของฉายา "เดอะบิ๊กโอ" (The Big O) เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักในฐานะเสียงสูงนุ่มแบบแบร์ริโทน ผู้มีเสียงอันทรงพลังและมีองค์ประกอบของเสียงซับซ้อน ในช่วงระหว่างปี 1960 จนถึง 1964 มีเพลงถึง 22 เพลงได้ติดท็อปบิลบอร์ด 40 ที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่างเช่นเพลง "Only the Lonely," "In Dreams," "Oh, Pretty Woman," "Crying," "Running Scared," และ "You Got It"

การมีเสียงอันทรงพลัง เร่าร้อน และซับซ้อนในการประพันธ์ของออร์บิสัน จึงมักได้รับคำสรรเสริญจากนักวิจารณ์ว่าดนตรีเขาเหมือน "การร้องโอเปรา" จึงให้ฉายาเขาว่า "เดอะคารูโซออฟร็อก" (the Caruso of Rock).[2][3] นักวิชาการด้านดนตรีได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเสียงร้องของเขาว่า ออร์บิสันมีช่วงระดับเสียงตั้งแต่ 3 หรือ 4 ไปจนแตะถึงระดับ 8[4] ในขณะที่นักดนตรีชายที่เล่นเพลงในแนวร็อกแอนด์โรล ในช่วงปี 1950 และ 1960 ซึ่งมักจะถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของความเข้มแข็งเป็นหลัก แต่เพลงของออร์บิสันกลับถ่ายทอดมาด้วยความเบา คล้ายเสียงของคนสิ้นหวัง เขายังเป็นที่จดจำในฐานะการแสดงสดที่ยืนนิ่งดูโดดเดี่ยว และสวมชุดและแว่นกันแดดดำเสมอ ทำให้บรรยากาศภาพลักษณ์เขาดูลึกลับ

ออร์บิสันเกิดและเติบโตที่เท็กซัส เริ่มร้องเพลงในแนวร็อกอะบิลลีและคันทรีในสมัยเรียนมัธยม เขาได้เซนต์สัญญากับค่ายซันเรคเคิร์ดส์ (Sun Records) ในปี 1965 ซึ่งเป็นค่ายดนตรีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น แต่เขาประสบความสำเร็จกับค่ายโมนิวเมนต์เรคเคิร์ดส์ ในช่วงต้นยุค 60 ชื่อเสียงของเขาได้หายไปในช่วงยุค 70 แต่ก็กลับมาโด่งดังอีกครั้งจากการเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ "บลูเวลเวตต์" Blue Velvet (1986) อย่าง "In Dreams" ซึ่งบันทึกเสียงไว้ตั้งแต่ปี 1963 ในปี 1988 เขาได้เป็นสมาชิกของวงรวมศิลปิน "วิลเบรีส์" (Wilburys) ประกอบด้วย จอร์จ แฮร์ริสัน บ็อบ ดิลลัน ทอม เพตตี และเจฟฟ์ ลินน์ ในปี 1988 ขณะออกอัลบั้ม "มิสเตอร์รีเกิร์ล" (Mystery Girl) ได้เพียงเดือนเดียว ออร์บิสันก็ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจ รวมอายุได้ 52 ปี ในช่วงที่เขากำลังโด่งดังอย่างขีดสุด ซึ่งอัลบั้มนี้สามารถไต่บิลบอร์ด 200 ได้อันดับ 5 และชาร์ทอังกฤษได้ถึงอันดับ 2[5]

ออร์บิสันได้รับการเชิดชูสู่ "ร็อกและโรลฮอลออฟเฟม" ในปี 1987 ในหัวข้อ "แนชวิลล์ซองไรเทอร์ฮอลออฟเฟม" ในปีเดียวกัน และ "ซองไรเทอร์สฮอลออเฟม" ในปี 1989 นิยสารโรลลิงสโตน จัดอันดับให้เขาอยู่ในอันดับ 37 ในหัวข้อ "ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" และอันดับ 13 ในหัวข้อ "100 นักร้องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[6] ในปี 2002 บิลบอร์ดได้ใส่ชื่อออร์บิสันในอันดับที่ 74 ในหัวข้อ "600 ศิลปินที่ได้รับการจดบันทึก"[7] ในปี 2014 ออร์บิสันได้รับเลือกให้เข้าสู่ "อเมริกันป๊อปมิวสิกฮอลออฟเฟม"

ผลงานสตูดิโออัลบั้ม[แก้]

ปี อัลบั้ม อันดับชาร์ท การรับรอง ค่ายLabel
US US Country CAN CAN Country สมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงของสหรัฐ (US) สมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงของแคนาดา (CAN)
1961 Roy Orbison at the Rock House ซัน
Lonely and Blue โมนิวเมนต์
1962 Crying 21
1963 In Dreams 35
1965 Orbisongs 136
There Is Only One Roy Orbison 55 เอ็มจีเอ็ม
1966 The Orbison Way 128
The Classic Roy Orbison
1967 Roy Orbison Sings Don Gibson
The Fastest Guitar Alive Original Soundtrack
Cry Softly Lonely One
1969 Roy Orbison's Many Moods
1970 Hank Williams the Roy Orbison Way
The Big O ลอนดอน
1972 Roy Orbison Sings เอ็มจีเอ็ม
Memphis
1973 Milestones
1976 I'm Still in Love with You เมอร์คิวรี
1977 Regeneration โมนิวเมนต์
1979 Laminar Flow อะไซลัม
1985 Class of '55
(ร่วมกับ เจอร์รี ลี ลูวิส, จอห์นนี แคช และ คาร์ล เพอร์คินส์)
15 โพลีแกรม
1987 In Dreams: The Greatest Hits 95 ทอง เวอร์จิน
1988 Traveling Wilburys Vol. 1
(ร่วมกับวงวิลเบรีส์)
3 3 3× แพลตตินัม 6× แพลตตินัม Wilbury Records
1989 Mystery Girl 5 17 4 20 แพลตตินัม 3× แพลตตินัม เวอร์จิน
1992 King of Hearts 179 61 เวอร์จิน
2015 One of the Lonely Ones ยูนิเวอร์ซัล

รางวัล[แก้]

แกรมมี[8]

    • นักร้องคันทรีคู่หรือกลุ่มที่ดีที่สุด (Best Country Performance Duo or Group) (1980), ร่วมกับ เอ็มมีโลว แฮร์ริส (Emmylou Harris)
    • บันทึกเสียงแนวสโปเคนเวิร์ดหรือไม่ใช่ดนตรีที่ดีที่สุด (Best Spoken Word or Non-Musical Recording) (1986), ร่วมกับ เจอร์รี ลี ลูวิส, จอห์นนี แคช, คาร์ล เพอร์คินส์, แซม ฟิลิปส์, ริค เนลสัน และชิปส์ โมแมน
    • บันทึกเสียงคันทรีร่วมดีที่สุด (Best Country Vocal Collaboration) (1988), ร่วมกับ เค.ดี. แลง
    • การแสดงร็อกพร้อมกับเสียงร้องดีที่สุดเป็นคู่หรือกลุ่ม (Best Rock Performance by a Duo or Group with Vocal) (1989), ร่วมกับวิลเบรีส์
    • การแสดงเสียงแนวป็อปดีที่สุด สำหรับชาย (Best Pop Vocal Performance, Male) (1990)
    • รางวัลประสบความสำเร็จในช่วงชีวิต (Lifetime Achievement Award) (1998)
  • ร็อกและโรลฮอลออฟเฟม (1987)[9]
  • แนชวิลล์ซองไรเทอร์ฮอลออฟเฟม (1987)[10]
  • ซองไรเทอร์สฮอลออเฟม (1989)[11]
  • ดาวบนถนนสายฮอลลีวูดฮอล์ออฟเฟม (2010)[12]
  • อเมริกันป๊อปมิวสิกฮอลออฟเฟม (2014)

อ้างอิง[แก้]

  1. Roy Orbison Biography, hotshotdigital.com
  2. Amburn, p. 97.
  3. Orbison's music and voice have been compared to opera by Bob Dylan, Tom Waits, and songwriter Will Jennings, among others. (Lehman, p. 21.)
  4. O'Grady, Terence J. (February 2000). "Orbison, Roy", American National Biography Online. Retrieved on May 20, 2009
  5. Roberts, David (2006). British Hit Singles & Albums (19th ed.). London: Guinness World Records Limited. pp. 408–409. ISBN 1-904994-10-5.
  6. 100 Greatest Singers of All Time: Roy Orbison เก็บถาวร 2015-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Rolling Stone website (2009). Retrieved on October 3, 2011.
  7. Whitburn (2002), p. 524.
  8. Grammy Award Winners (Past winner search=Roy Orbison), Grammy.com. Retrieved on May 30, 2009.
  9. Roy Orbison, Rock and Roll Hall of Fame (2007). Retrieved on May 21, 2009.
  10. Roy Orbison เก็บถาวร 2011-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Nashville Songwriters Hall of Fame (2008). Retrieved on May 30, 2009.
  11. Roy Orbison เก็บถาวร 2009-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Songwriters Hall of Fame website (2009). Retrieved on May 30, 2009.
  12. Roy Orbison given Hollywood Walk of Fame star BBC News (January 30, 2010). Retrieved on January 31, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]