ข้ามไปเนื้อหา

โรซา ลุคเซิมบวร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Rosa Luxemburg)
โรซา ลุคเซิมบวร์ค
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 มีนาคม ค.ศ. 1871
ซามอชช์, วิสทูลาแลนด์, จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต15 มกราคม ค.ศ. 1919(1919-01-15) (47 ปี)
เบอร์ลิน, สาธารณรัฐไวมาร์
สัญชาติเยอรมัน
ศาสนาไม่มีศาสนา
(เดิม ศาสนายูดาห์)
พรรคการเมืองพรรคกรรมาชีพ, พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยแห่งราชอาณาจักรโปแลนด์และลิทัวเนีย, พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี, พรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระแห่งเยอรมนี, พันธมิตรสปาตาคัส, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี
คู่อาศัยเลโอ โยกีเฮส
คู่สมรสกุสทัฟ ลือเบ็ค
ญาติเอลีอัช ลุคเซิมบวร์ค (พ่อ)
ลีเนอ เลอเวินชไตน์ (แม่)
วิชาชีพนักปฏิวัติ

โรซา ลุคเซิมบวร์ค (เยอรมัน: Rosa Luxemburg; โปแลนด์: Róża Luksemburg; 5 มีนาคม ค.ศ. 1871[1] – 15 มกราคม ค.ศ. 1919) เป็นชาวโปแลนด์ที่เป็นนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ นักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ และนักเคลื่อนไหวต่อต้านสงคราม และนักปฏิวัติสังคมนิยมซึ่งได้กลายเป็นพลเมืองสัญชาติเยอรมัน เมื่ออายุ 28 ปี เธอได้เป็นสมาชิกของพรรคสังคมประชาธิปไตยในราชอาณาจักรโปแลนด์และลิทัวเนีย (SDKPiL), พรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD), พรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระเยอรมนี (USPD) และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี (KPD)

ในปี ค.ศ. 1915 ภายหลังจากพรรค SPD ได้สนับสนุนเยอรมันในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เธอและคาร์ล ลีบค์เน็คท์ร่วมกันก่อตั้งสันนิบาติสปาร์ตาคัส (Spartakusbund) โดยมีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านสงคราม ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นพรรค KPD ในช่วงการปฏิวัติพฤศจิกายน เธอได้ร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า Die Rote Fahne ("ธงสีแดง") ซึ่งเป็นสื่อหลักสำคัญของขบวนการสปาตาคิสต์

เธอได้พิจารณาว่าการก่อการกำเริบสปาตาคิสต์ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1919 นับเป็นความผิดพลาด[2] แต่ก็ได้สนับสนุนให้เป็นเหตุการณ์ที่เปิดเผย รัฐบาลของพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมที่มีเสียงข้างมากของฟรีดริช เอเบิร์ทได้ทำการกวาดล้างการก่อกบฏและสปาร์ตาคุสบูนด์โดยส่งกองกำลังไฟร์คอรพ์ (กลุ่มกองกำลังกึ่งทหารที่รัฐบาลให้การสนับสนุนซึ่งประกอบไปด้วยทหารผ่านศึกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) ทหารไฟร์คอรพ์ได้เข้าจับกุมและประหารชีวิตอย่างรวบรัดต่อลุคเซิมบวร์คและลีบค์เน็คท์ ในช่วงการก่อกบฏ ร่างของลุคเซิมบวร์คถูกโยนลงในคลองลันด์เวร์ (Landwehr) ในกรุงเบอร์ลิน

เนื่องจากเธอได้ชี้ให้เห็นถึงคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อทั้งพวกเลนินลิสต์และโรงเรียนประชาธิปไตยสังคมปานกลางของสังคมนิยม ลุคเซิมบวร์คได้มีการตอบรับค่อนข้างสับสนในหมู่นักวิชาการและนักทฤษฏีของการเมืองฝ่ายซ้าย[3] อย่างไรก็ตาม ลุคเซิมบวร์คและลีบค์เน็คท์ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางในฐานะมรณสักขีพยานคอมมิวนิสต์โดยเยอรมนีตะวันออกที่มีระบอบคอมมิวนิสต์[4] สำนักงานสหพันธรัฐเพื่อการคุ้มครองรัฐธรรมของเยอรมันได้จดบันทึกว่า การเคารพบูชาต่อโรซา ลุคเซิมบวร์คและคาร์ล ลีบค์เน็คท์ได้เป็นประเพณีที่สำคัญของพวกเยอรมันฝ่ายซ้ายสุดโต่ง[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Luxemburg biography at marxists.org
  2. Frederik Hetmann: Rosa Luxemburg. Ein Leben für die Freiheit, p. 308
  3. Leszek Kołakowski ([1981], 2008), Main Currents of Marxism, Vol. 2: The Golden Age, W. W. Norton & Company, Ch III: "Rosa Luxemburg and the Revolutionary Left"
  4. Gedenken an Rosa Luxemburg und Karl Liebknecht – ein Traditionselement des deutschen Linksextremismus (PDF). BfV-Themenreihe. Cologne: Federal Office for the Protection of the Constitution. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 December 2017.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Verfassungsschutz2