ทฤษฎีคาดหวัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Prospect theory)
แดเนียล คาฮ์นะมัน ผู้ได้รับรางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 2002 สำหรับการคิดค้น Prospect theory

ทฤษฎีคาดหวัง[1] (อังกฤษ: Prospect theory) เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral economics) ที่แสดงวิธีที่มนุษย์เลือกระหว่างทางเลือกที่เป็นไปได้ ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงแต่รู้ค่าความน่าจะเป็นของทางเลือก ทฤษฎีกำหนดว่า มนุษย์ตัดสินใจขึ้นอยู่กับค่าความขาดทุน (ผลลบ) หรือผลกำไร (ผลบวก) ที่อาจจะมี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าผลที่ได้โดยที่สุด และมนุษย์ประเมินค่าความขาดทุนและผลกำไรโดยใช้ฮิวริสติกบางอย่าง แบบจำลองนี้เป็นแบบพรรณนา (descriptive) เป็นแบบจำลองของการเลือกการตัดสินใจที่มีในชีวิตจริง ๆ ไม่ใช่เป็นการตัดสินใจที่อาจจะเหมาะสำหรับสถานการณ์มากที่สุด (optimal decision) ทฤษฎีนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1979 และมีการพัฒนาขึ้นอีกในปี ค.ศ 1992 โดยแดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ เป็นแบบจำลองที่มีความแม่นยำทางจิตวิทยามากกว่า expected utility hypothesis (สมมุติฐานอรรถประโยชน์ที่คาดหวัง) ในคำอธิบายดั้งเดิม คำว่า prospect หมายถึง ลอตเตอร์รี่

บทความ "Prospect Theory: An Analysis of Decision under Risk (ทฤษฎีคาดหวัง: การวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง)" (ค.ศ. 1979) ของคาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้ เป็น "บทความตั้งต้นของสาขาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม"[2]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. ธนาภรณ์ อธิปัญญากุล (2012). "ทฤษฎีอรรถประโยชน์คาดหวังและทฤษฎีคาดหวัง: ทัศนคติและพฤติกรรมการตัดสินใจของเกษตรกรที่มีต่อความเสี่ยง" (PDF). Khon Kaen Agr. J. 40: 269–278. สืบค้นเมื่อ 2014-04-07.
  2. Shafir & LeBoeuf 2002.

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

เว็บไซต์