ภาษาฟินิเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Phoenician language)
ภาษาฟินิเชีย
𐤃𐤁𐤓𐤉𐤌𐤟𐤊𐤍𐤏𐤍𐤉𐤌
dabarīm Kana`nīm
ประเทศที่มีการพูดเคยใช้พูดใน เลบานอน, ตูนีเซีย, ทางใต้ของ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คาบสมุทรไอบีเรีย, มอลตา, ทางใต้ของ ฝรั่งเศส, ไซปรัส, เกาะซิซิลี, และตามแนวชายฝั่งและเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
สูญแล้วพัฒนาไปเป็น ภาษาปูนิก เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรฟินิเชีย
รหัสภาษา
ISO 639-2phn
ISO 639-3phn

ภาษาฟินิเชีย เป็นภาษาที่มีจุดกำเนิดในชายฝั่งที่เรียก "Pūt" ในภาษาอียิปต์โบราณ "คานาอัน" ในภาษาฟินิเชีย ภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก และเรียก "ฟินิเชีย" ในภาษากรีกและภาษาละติน เป็นภาษากลุ่มเซมิติกสาขาคานาอัน ใกล้เคียงกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก บริเวณดังกล่าวปัจจุบันอยู่ในเลบานอนและซีเรีย และอิสราเอลทางตอนเหนือ เป็นที่รู้จักจากจารึกต่าง ๆ ในบิบลอสและหนังสือที่เขียนด้วยภาษาต่าง ๆ

จารึกภาษาฟินิเชียเก่าสุดพบในบิบลอส อายุราว 457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งพบทั้งใน เลบานอน ซีเรีย อิสราเอล ไซปรัส เกาะซิซิลี ตูนีเซีย โมร็อกโก แอลจีเรีย มอลตา และที่อื่น ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรีย การถอดความภาษาฟินิเชียใช้ความรู้ภาษาฮีบรูเป็นพื้นฐาน

สัทวิทยา ไวยากรณ์ และคำศัพท์[แก้]

การจำแนกสำเนียงต่าง ๆ ของภาษาฟินิเชียทำได้ยากเพราะการเขียนไม่แสดงเครื่องหมายสระ เครื่องหมายสระเริ่มปรากฏในยุคท้าย ๆ ก่อนจะเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรที่มีพื้นฐานคล้ายอักษรกรีกหรืออักษรละติน ความคล้ายคลึงระหว่างภาษาฟินิเชียกับภาษาใกล้เคียงคือมีการยกเสียงสระสูงขึ้น เช่น ā เป็น ū (และภาษาฮีบรู ō) , เช่น rūs "หัว" (ภาษาฮีบรู ראש rôš) การยกเสียงสระนี้พบในภาษาอียิปต์โบราณด้วย โดยมีหลักฐานจากภาษาคอปติก

ในด้านไวยากรณ์ ภาษาฟินิเชียยังมีการลงท้ายการก คำศัพท์บางคำต่างไปเช่นมีคำกริยา KN "เป็น อยู่ คือ" (เช่นเดียวกับภาษาอาหรับ) และ P‘L "ทำ” และใช้ bal "ไม่" (ภาษาอราเมอิก/ฮีบรู lō < *lā‘)

อ้างอิง[แก้]

  • Krahmalkov Charles R (2001) : A Phoenician-Punic Grammar (Handbook of Oriental Studies, Section 1, Vol. 54) ; Brill Publishing (Leiden, Boston & Köln) ; ISBN 90-04-11771-7