ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Order of the White Lion)
เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ห้าชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2465
ประเทศ เช็กเกีย
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
ผู้สมควรได้รับชาวเช็กเกียและชาวต่างประเทศ
มอบเพื่อผู้กระทำคุณความดีต่อรัฐบาลและประชาชนแห่งสาธารณรัฐเช็ก ทั้งชาวเช็กเกียและชาวต่างชาติ
สถานะยังมีการมอบ

เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว (เช็ก: Řád Bílého lva) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศเช็กเกีย โดยสืบต่อจากเครื่องอิสริยาภรณ์ชื่อเดียวกันในสมัยเชโกสโลวาเกีย[1] โดยเครื่องอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2465 สำหรับชาวต่างประเทศเท่านั้น ก่อนจะมีการแก้ไขกฎหมายให้มีการมอบแก่พลเรือนของเชโกสโลวาเกียในภายหลัง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากกางเขนขุนนางของโบฮิเมียซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และได้มอบแก่ชาวโบฮิเมียไป 37 ราย

ประวัติ

[แก้]

พ.ศ. 2465–2504

[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว ถูกสร้างขึ้นมาภายใต้คำสั่งที่ 243/1920 sb. เมื่อปี พ.ศ. 2465 โดยจะมอบให้กับชาวต่างประเทศเท่านั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ชั้น ต่อมาเมื่อเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ได้นำมามอบให้แก่ชาวเชโกสโลวาเกียที่มีส่วนร่วมในการต่อต้านนาซีเยอรมนีที่เข้ามารุกรานประเทศเชโกสโลวาเกีย และได้สร้างเครื่องเสนาอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาวสำหรับมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ทางทหารต่างหากใน พ.ศ. 2488 โดยได้มอบให้แก่ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ทหารชาวอเมริกัน ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองยังคงมีการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้เรื่อยมา โดยผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ เช เกบารา[2], พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็นต้น

พ.ศ. 2504–2535

[แก้]

เมื่อเชโกสโลวาเกียเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ยังคงมีการมอบเช่นเดิม แต่อยู่ในชั้นที่สองรองจากเครื่องอิสริยาภรณ์เคลเมนต์ ก็อตวอร์ด และปรับเปลี่ยนจำนวนลำดับชั้นของเครื่องอิสริยาภรณ์จากห้าชั้นเหลือเพียงสามชั้นเท่านั้น โดยยังมีการมอบเรื่อยมาจนกระทั่งการแยกตัวของเชโกสโลวาเกียและการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย

พ.ศ. 2537–ปัจจุบัน

[แก้]

หลังการเปลี่ยนผ่านประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย และการแยกตัวของเชโกสโลวาเกีย เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ยังมีการมอบอีกเช่นเคยโดยอยู่ในฐานะเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสาธารณรัฐเช็ก และปรับเปลี่ยนแพรแถบย่อและลักษณะเครื่องอิสริยาภรณ์ใหม่ และเพิ่มจำนวนชั้นเป็นห้าชั้นเช่นเดียวกับสมัยที่เพิ่งสร้างเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ ซึ่งสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้งภายใต้คำสั่งที่ 57/1994 sb. โดยมอบให้กับทั้งชาวเช็กเกียและชาวต่างประเทศที่กระทำคุณประโยชน์และช่วยเหลือกิจการของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเช็ก บางครั้งอาจมีการมอบย้อนหลังการเสียชีวิต ซึ่งเคยมีการมอบย้อนหลังให้แก่วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เมื่อ พ.ศ. 2555[3] และมีการมอบให้แก่นิโกลัส วินตอนชาวเช็กเกียเชื้อสายยิว เมื่อ พ.ศ. 2557[4][5][6]

โดยคำขวัญของเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ คือ Pravda vítězí (ความจริงนำไปสู่ชัยชนะ)[7]

แพรแถบย่อ

[แก้]
แพรแถบย่อของเครื่องอิสริยาภรณ์
สาธารณรัฐเชโกสโลวัก
(พ.ศ. 2465–2504)
สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก
(พ.ศ. 2504–2533)
สหพันธ์สาธารณรัฐเชโกสโลวัก
(พ.ศ. 2533–2535)
สาธารณรัฐเช็ก
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2537)
ชั้นที่ 1
ชั้นที่ 2
ชั้นที่ 3
ชั้นที่ 4
ไม่มี
ชั้นที่ 5
ไม่มี
เหรียญทอง
ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เหรียญเงิน
ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Viz vládní nařízení č. 362/1922 Sb. a předpisy navazující (261/1924 Sb., 120/1930 Sb., 170/1936 Sb., 10/1961 Sb.).
  2. ""Che" Guevara, condecorado por Checoslovaquia". ABC. 29 de octubre de 1960. Consultado el 13 de octubre de 2014.
  3. ČTK. "Seznam osobností vyznamenaných letos při příležitosti 28. října". ceskenoviny.cz. (in Czech)
  4. "White Lion goes to Winton and Winston". The Prague Post. 28 October 2014.
  5. "Sir Nicholas Winton at 105: the man who gave 669 Czech children the 'greatest gift'". The Daily Telegraph. 21 May 2014.
  6. "Nicholas Winton honoured by Czechs for saving children from Nazis". BBC News.
  7. Příloha zákona č. 157/1994 Sb., stanovy Řádu Bílého lva. Dostupné online.