ข้ามไปเนื้อหา

นีกอลา กรูแอฟสกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Nikola Gruevski)
นีกอลา กรูแอฟสกี
Никола Груевски
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ประธานาธิบดียอร์ช อิวานอฟ
ก่อนหน้าโซราน เซฟ
นายกรัฐมนตรีคนที่ 6 แห่งประเทศมาซิโดเนีย
ดำรงตำแหน่ง
27 สิงหาคม พ.ศ. 2549 – 18 มกราคม พ.ศ. 2559
ประธานาธิบดีบรังกอ เซอร์แวงกอฟสกี
ยอร์แก อีวานอฟ
ก่อนหน้าวลาดอ บุชกอฟสกี
ถัดไปแอมิล ดีมีตรีแอฟ
รัฐมนตรีกระทรวงการคลังประเทศมาซิโดเนีย
ดำรงตำแหน่ง
27 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – 11 มกราคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีLjubčo Georgievski
ก่อนหน้าBoris Stojmenov
ถัดไปPetar Gosev
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1970-08-31) 31 สิงหาคม ค.ศ. 1970 (54 ปี)
สกอเปีย, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
พรรคการเมืองVMRO-DPMNE
คู่สมรสซูซานนา อาบีทิน่า (สมรส 2001–2005)
โบกิกา กรูฟสกา (สมรส 2007)
บุตร2 คน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเห่งบิโตลา
มหาวิทยาลัยแห่งสกอเปีย

นีกอลา กรูแอฟสกี (มาซิโดเนีย: Никола Груевски - Грујо ; เกิด 31 สิงหาคม ค.ศ. 1970) เป็นนักการเมืองชาวมาซิโดเนีย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาซิโดเนียตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2549 จนถึงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 และอยู่ในพรรคการเมือง VMRO-DPMNE (ВМРО–ДПМНЕ) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีลืบโค โจกีเอฟสกี จนถึงเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2545[1]

อาชีพทางการเมือง

[แก้]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

[แก้]

รัฐบาลภายใต้การนำของลืบโค โจกีเอฟสกี ได้ขายบริษัทมาเกดอนสกี เทเลกอม ให้กับบริษัท Matáv ของฮังการี และขายโรงกลั่นน้ำมัน OKTA ให้กับบริษัทเอลีนิกา เปเตรไลอาของกรีซ นีกอลา กรูแอฟสกียังดำเนินการปฏิรูปทางการเงิน รวมถึงการปฏิรูประบบการชำระเงินและภาษีมูลค่าเพิ่ม 18% โดยกำหนดให้ต้องมีใบเสร็จรับเงินสำหรับหน่วยธุรกิจของมาซิโดเนียทั้งหมด ซึ่งเป็นโครงการที่ออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับการหลีกเลี่ยงภาษี

ผู้นำพรรค

[แก้]
นีกอลา กรูแอฟสกี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฮิลลารี คลินตัน ที่วอชิงตัน ดี.ซี.

นีกอลา กรูแอฟสกี เป็นผู้นำของพรรคชาตินิยม VMRO- DPMNE หลังจากที่ VMRO-DPMNE พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งรัฐสภา พ.ศ. 2545 ก็เกิดความขัดแย้งภายในพรรคช่วงหนึ่ง กรูแอฟสกีเป็นผู้นำที่สนับสนุนสหภาพยุโรป และเขาได้รับเลือกให้เป็นผู้นำพรรคหลังจากที่ลืบโค โจกีเอฟสกีลาออกจากตำแหน่ง หลังจากที่ลืบโค โจกีเอฟสกี ออกจาก VMRO-DPMNE เขาก็ตั้งพรรคของตัวเอง (ВMPO–Народна Партија) แต่ VMRO-DPMNE ยังสามารถรักษาผู้สนับสนุนพรรคส่วนใหญ่เอาไว้

นายกรัฐมนตรี

[แก้]

พรรค VMRO-DPMNE ชนะการเลือกตั้งรัฐสภาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 และเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2549 กรูแอฟสกีได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น รัฐบาลของเขามีบุคคลใหม่ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัย 30 ปีเศษ มาแทนที่คนรุ่นเก่าในกระทรวงสำคัญและตำแหน่งอื่น ๆ ผลจากการเลือกตั้งกรูแอฟสกีมีความโดดเด่นจากการเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในยุโรปคนแรกที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1970[2]

รางวัลและการยอมรับ

[แก้]

การยอมรับ

[แก้]

รางวัล

[แก้]
  • รางวัล เวียนนา อิโคโนมิก ฟอรัม – สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติและระดับภูมิภาค (2011)[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Konstantin Testorides (15 มกราคม 2016). "Macedonia premier to step down under Western-brokered deal". Associated Press.
  2. "Who's your daddy? - The youngest political leaders around the world". The Economist. 3 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2010.
  3. "Gruevski receives highest award of Shtip, "St. Nicholas"". Meta.mk. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2017.
  4. Осветени конаците Горни и Источен Палат. Бигорски манастир (ภาษามาซิโดเนีย). 26 เมษายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 เมษายน 2015.
  5. "PM Gruevski recipient of Vienna Economic Forum award". Влада на Република Македонија. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


ก่อนหน้า นีกอลา กรูแอฟสกี ถัดไป
Vlado Bučkovski นายกรัฐมนตรีมาซิโดเนีย
(ค.ศ. 2006 – 2016)
Emil Dimitriev
Boris Stojmenov รัฐมนตรีกระทรวงการคลังประเทศมาซิโดเนีย
(ค.ศ. 1999–2002)
Petar Gosev