ภาพเคลื่อนไหวติดตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Motion aftereffect)
คลิปตัวอย่างที่สร้างภาพลวง หลังจากดูมันแล้ว ให้จ้องดูที่อื่นนิ่ง ๆ ต่อ

ภาพเคลื่อนไหวติดตา หรือ ผลหลังจากเห็นการเคลื่อนไหว (อังกฤษ: motion aftereffect, MAE) เป็นภาพลวงตาที่ประสบหลังจากมองสิ่งเร้าทางตาซึ่งกำลังเคลื่อนที่ด้วยตาที่มองนิ่ง ๆ สักระยะหนึ่ง (จากเป็นสิบ ๆ มิลลิวินาทีจนเป็นนาที ๆ) แล้วต่อจากนั้นหันไปจ้องวัตถุที่อยู่นิ่ง ๆ สิ่งเร้าที่อยู่นิ่ง ๆ ซึ่งมองต่อมา จะดูเหมือนกำลังเคลื่อนไปทางตรงกันข้ามกับวัตถุแรกซึ่งเคลื่อนที่จริง ๆ เป็นปรากฏการณ์ที่เชื่อว่า เป็นผลของการปรับตัวทางประสาทต่อการเคลื่อนไหว

ตัวอย่างที่อาจเกิดจริง ๆ ก็คือ ถ้าดูน้ำตกประมาณนาทีหนึ่ง แล้วดูหินข้าง ๆ ที่อยู่นิ่ง ๆ หินจะดูเหมือนกำลังเคลื่อนที่ขึ้นข้างบนอย่างน้อย ๆ การเคลื่อนที่ขึ้นที่เป็นภาพลวงเป็นภาพเคลื่อนไหวติดตา ตัวอย่างนี้เรียกเป็นภาษาอังกฤษโดยเฉพาะว่า waterfall illusion (ภาพลวงตาเหตุน้ำตก)

อีกตัวอย่างก็คือ เมื่อมองตรงกลางวงก้นหอยที่กำลังหมุนเป็นเวลาหลายวินาที ก้นหอยอาจจะดูหมุนเข้าในหรือหมุนออกนอก ต่อมาเมื่อมองอะไรที่อยู่นิ่ง ๆ มันก็จะหมุนกลับไปในทิศตรงกันข้าม ตัวอย่างนี้เรียกในภาษาอังกฤษโดยเฉพาะว่า spiral aftereffect (ผลหลังจากเห็นก้นหอย)

คำอธิบาย[แก้]

การตอบสนองของนิวรอนต่อการเคลื่อนไหวหนึ่ง ๆ จะลดลงหลังจากได้สิ่งเร้าอย่างคงยืน นี่เป็นการปรับตัวของประสาท (neural adaptation) แต่การปรับตัวก็จะลดการทำงานพื้นฐานของนิวรอนเมื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่อยู่นิ่ง ๆ ด้วย[1][2][3]

ทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า การรับรู้วัตถุนิ่ง ๆ เช่น ก้อนหินข้าง ๆ น้ำตก จะเข้ารหัสเป็นความสมดุลระหว่างการตอบสนองทางพื้นฐานของนิวรอนต่อการเคลื่อนที่ไปในทุก ๆ ด้าน และการปรับตัวของนิวรอนต่อการเคลื่อนที่ด้านลงจะลดการตอบสนองพื้นฐาน แล้วทำให้เสียความสมดุลโดยเข้ารหัสเป็นการเคลื่อนที่ขึ้น

ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า นิวรอนที่ตอบสนองในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศที่ปรับตัว จะเร้าได้ง่ายขึ้น[4] เพราะนิวรอนที่ตอบสนองต่อทิศแรก จะปรับตัวโดยเพิ่มขั้ว (hyperpolarize) เนื่องจากได้สะสมไอออนโซเดียมและแคลเซียมในเซลล์ (โดยเป็นส่วนของกระบวนการตอบสนอง) เป็นเวลานาน และทำให้เกิดความไม่สมดุลนอกเซลล์ด้วย ซึ่งเพิ่มความเร้าได้ของเนื้อเยื่อในสมอง ความไม่สมดุลจะกระจายออกโดยการแพร่ไอออน (ionic diffusion) ผ่านปริภูมินอกเซลล์โดยมีเซลล์เกลียเป็นตัวช่วยอำนวย ซึ่งทำให้นิวรอนที่ตอบสนองต่อทิศตรงกันข้ามทำงานแม้เมื่อมีสิ่งเร้าที่อยู่นิ่ง ๆ เพราะนิวรอนเหล่านี้ไม่ได้เพิ่มขั้วเพราะความไม่สมดุลภายในเซลล์ แต่กลับถูกล้อมรอบด้วยความไม่สมดุลนอกเซลล์ที่กดดันให้ลดขั้ว (คือให้ทำงาน) คำอธิบายนี้ได้การสนับสนุนทางการทดลอง ซึ่งแสดงการเร้าได้ง่ายขึ้นของนิวรอนเมื่อมีการปรับตัวทางประสาทต่อการเคลื่อนไหว[5][6]

ประวัติ[แก้]

ประมาณ พ.ศ. 193 อาริสโตเติลได้รายงานการเคลื่อนไหวที่เป็นภาพลวงหลังจากการมองดูการเคลื่อนไวเป็นเวลานาน แต่เขาไม่ได้ระบุทิศทางของการเคลื่อนไหวทั้งจริงและลวง[7] ต่อมาในปี 2363 นักกายวิภาคชาวเช็ก ยัน เอวังเกลิสตา ปูร์กิเญ ได้กำหนดปรากฏการณ์นี้อย่างละเอียด เมื่อสังเกตเห็นมันหลังจากมองดูการเดินสวนสนามของทหาร[8]

ต่อมาในปี 2377 จึงมีผู้รายงานภาพติดตาเหตุน้ำตกหลังจากเห็นมันที่น้ำตกในประเทศสกอตแลนด์[9] ตามนักวิชาการผู้หนึ่ง[10] คำภาษาอังกฤษว่า waterfall illusion (ภาพติดตาเหตุน้ำตก) ได้บัญญัติขึ้นในปี 2423[11]

ส่วนนักวิชาการพวกหนึ่งแสดงว่า[12] บทความที่ละเอียดมากที่สุดเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ได้เขียนในปี 2454[13]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. doi:10.1073/pnas.1101141108
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  2. Srinivasan, MV; Dvorak, DR (1979). "The waterfall illusion in an insect visual system". Vision Research. 19: 1435–1437.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Barlow, H.B; Hill, R.M. (1963). "Evidence for a physiological explanation of the waterfall illusion". Nature. 200: 1345–1347.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Bajaj, K (2013). Visual motion aftereffect in an excitable brain tissue: Explaining the waterfall illusion. ISBN 978-93-5126-149-0.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Petersen, S. E; Baker, J. F; Allman, J. M. (1985). "Direction-specific adaptation in area MT of the owl monkey". Brain Research. 346: 146–150.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Tootell, RB; Reppas, JB; Dale, AM; Look, RB; Sereno, MI; Malach, R; Brady, TJ; Rosen, BR (1995). "Visual motion aftereffect in human cortical area MT revealed by functional magnetic resonance imaging". Nature. 375: 139–141.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. Aristotle (350 B.C.). Parva Naturalia. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. Purkinje, J. E. (1820). "Beiträge zur näheren Kenntniss des Schwindels aus heautognostischen Daten". Medicinische Jahrbücher des kaiserlich-königlichen österreichischen Staates. 6: 79–125.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. Addams, R (1834). "An account of a peculiar optical phenomenon seen after having looked at a moving body". London and Edinburgh Philosophical Magazine and Journal of Science. 5: 373–374.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Verstraten, F. A. J. (1996). "On the ancient history of the direction of the motion aftereffect". Perception. 25: 1177–1188.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Thompson, P (1880). "Optical illusions of motion". Brain. 3: 289–298.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. doi:10.1068/p4304ed
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  13. Wohlgemuth, A (1911). "On the after-effect of seen movement" (PDF). British Journal of Psychology Monograph Supplement: 1–117.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Mather, G., Verstraten, F., & Anstis, S. (1998). The motion aftereffect: A modern perspective. Cambridge, Mass: MIT Press

เว็บไซต์[แก้]