ข้ามไปเนื้อหา

ม่าจ้อโป๋

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Mazu (goddess))
ความเชื่อและจารีตประเพณีม่าจ้อโป๋ *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
เทวรูปม่าจ้อโป๋ในมณฑลกวางตุ้ง
ประเทศ จีน
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง00227
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2552 (คณะกรรมการสมัยที่ 4)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ม่าจ้อโป๋ (ฮกเกี้ยน: 媽祖婆), ม่าโจ้ว (แต้จิ๋ว: 媽祖), ไฮตังม่า (แต้จิ๋ว: 海東媽) หรือ มาจู่ (จีน: 媽祖) หรือ เทียนโหวเซี้ยบ้อ (แต้จิ๋ว: 天后圣母) เป็นเทวีแห่งทะเลตามคติศาสนาชาวบ้านจีน เป็นที่เคารพนับถือในหมู่ชาวฮกเกี้ยน ชาวแต้จิ๋ว และชาวจีนโพ้นทะเลที่ประกอบอาชีพประมงและเดินเรือ

มาจ้อโป๋เป็นเทพที่ได้รับการสักการะในช่วงต้นศตวรรษที่ 10 ในช่วงราชวงศ์ซ่ง ปัจจุบันการนับถือมาจ้อโป๋มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก โดยมีศาลเจ้ามาจ้อโป๋มากถึง 3,000 แห่ง และถือว่าเป็นเทพที่ได้รับการนับถือมากที่สุดของไต้หวันอีกด้วย โดยถือว่าเป็นความเชื่อหรือศาสนาพื้นถิ่นของไต้หวัน มีการก่อตั้งเป็นสมาคมขึ้นมา โดยผู้ที่เคารพนับถือจะมีพิธีกรรมเดินทางแสวงบุญด้วยเท้า ตั้งแต่เวลากลางดึก พร้อมกับขบวนแห่เทวรูปของมาจ้อโป๋ไปตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นระยะเวลานานถึง 9 วัน เชื่อกันว่าเมื่อขบวนแห่ของมาจ้อโป๋ผ่านมาถึงที่ไหน ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นั่นจะได้รับความสงบสุข ความสามัคคีในครอบครัว ตลอดจนความสำเร็จในชีวิต และในพิธีกรรมนี้ยังมีการจัดเลี้ยงอาหารไปตลอดทางอีกด้วย

ในประเทศไทย ม่าจ้อโป๋ มักจะถูกเข้าใจผิดในหมู่ชาวไทยว่าคือเจ้าแม่ทับทิม ความจริงแล้วเจ้าแม่ทับทิมคือจุ้ยบ้วยเนี้ย (水尾聖娘) เทวีอีกองค์หนึ่งที่ถือว่าเป็นเทพแห่งท้องทะเลหรือการเดินเรือเช่นเดียวกัน จุ้ยบ้วยเนี้ยเป็นที่นับถือของชาวไหหลำ ในขณะที่ม่าจ้อโป๋เป็นที่นับถือของชาวฮกเกี้ยนและชาวแต้จิ๋ว ซึ่งในอดีตยุคที่ยังมีการค้าขายกันระหว่างไทยกับจีนด้วยเรือสำเภา ชาวไหหลำจะเดินทางมาถึงประเทศไทยในช่วงต้นปี คือ ราวเดือนมกราคม เนื่องจากเกาะไหหลำนั้นมีทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ประเทศไทยกว่า และจะทำการสักการะบูชาจุ้ยบ้วยเนี้ย เมื่อชาวฮกเกี้ยนและแต้จิ๋วเดินทางมาถึงจะอยู่ในราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม เนื่องจากมณฑลกวางตุ้งและมณฑลฝูเจี้ยนตั้งอยู่ในแผ่นดินใหญ่ซึ่งไกลกว่า และก็ทำการสักการะม่าจ้อโป๋ด้วยเช่นกัน จึงทำให้เกิดความสับสนระหว่างเทพีทั้งสอง อีกทั้งเครื่องประดับยังใกล้เคียงกันอีกด้วย คือ เป็นเครื่องทรงสีแดง ทั้งนี้เกิดจากฝีมือช่างที่เกิดในประเทศไทย[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หน้า 13 ประชาชื่น, ศาลเจ้าแม่หม่าโจ้วไม่ใช่เจ้าแม่ทับทิม. "เล้ง 1919 (LHONG 1919) ท่าเรือ ย้อนเวลาสู่ประวัติศาสตร์ไทย-จีน" โดย ธนะธัช ตังคะประเสริฐ: มติชนปีที่ 40 ฉบับที่ 14495: วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560