แคว้นกาสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Kingdom of Kashi)
แคว้นกาสี
Kingdom of Kashi

แคว้นกาสี และแคว้นอื่นๆใน ยุคพระเวท ปลาย
แคว้นกาสี และแคว้นอื่นๆใน ยุคพระเวท ปลาย
Kashi and other Mahajanapadas in the Post Vedic period.
Kashi and other Mahajanapadas in the Post Vedic period.
เมืองหลวงพาราณสี
ศาสนา
ศาสนาฮินดู
พระพุทธศาสนา
ศาสนาเชน
การปกครองราชาธิปไตย
ถัดไป
Kosala

แคว้นกาสี (อังกฤษ: Kingdom of Kashi) เป็นอาณาจักรโบราณของประเทศอินเดีย มีเมืองหลวง คือ พาราณสี อาณาเขตด้านหลังล้อมรอบด้วย แม่น้ำวรุณ และแม่น้ำอาสี เป็นหนึ่งในมหาชนบท 16 แคว้น รัฐใหญ่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของอินเดียเมื่อต้นศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตศักราช อาณาจักรกาสีใหญ่กว่าพาราณสี พรมแดนด้านตะวันออกสุดคือแม่น้ำซอน ซึ่งเป็นพรมแดนด้านตะวันตกของ แคว้นมคธ ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของ Eastern UP ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพาราณสีในปัจจุบันและทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นมคธ ปัจจุบัน พาราณสีมีฐานะเป็นจังหวัด หรือเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของรัฐอุตตรประเทศ ซึ่งมีลัคเนาว์ เป็นเมืองหลวง เป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีการคมนาคมติดต่อกับเมืองอื่น ๆ ทั้งทางเครื่องบิน รถยนต์ และรถไฟ อยู่ห่างจากเดลีโดยทางรถไฟ 763 กิโลเมตร จากกัลกัตตา 678 กิโลเมตร จากบอมเบย์ 1,495 กิโลเมตร จากปัฏนา 229 กิโลเมตรและจาก คยา 220 กิโลเมตร

ใน นิทานชาดก กล่าวถึงเมืองพาราณสีว่าเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องความเจริญรุ่งเรืองและความมั่งคั่ง[1] เรื่องราวเหล่านี้บอกถึงการแข่งขันทางความเจริญรุ่งเรืองที่ยาวนานระหว่างอาณาจักรกาสีและอาณาจักรใกล้เคียง อาทิเช่น แคว้นโกศล และบางครั้งแคว้นกาสีเองก็เกิดความขัดแย้งกับ แคว้นอังคะ และ แคว้นมคธ ในอดีต แคว้นกาสีเคยเป็นหนึ่งในรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในอินเดียตอนเหนือ[1] จนกระทั่งกษัตริย์พรหมทัตแห่งแคว้นกาสี สามารถเอาชนะแคว้นโกศลได้ ในช่วงสมัยพุทธกาล แคว้นกาสีถูกรวมเข้ากับแคว้นโกศลโดยกษัตริย์กังสะ[2] จึงทำให้ชาวกาสี พร้อมด้วยชาวโกศล และชาววิเทหะ เป็นชนชาติที่กล่าวถึงในตำราพระเวทและดูเหมือนจะเป็นพันธมิตรกันอย่างใกล้ชิด

พระโคตมพุทธเจ้า เริ่มประกาศพระพุทธศาสนา ที่แคว้นกาสีเป็นที่แรก โดย ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ อยู่ที่แคว้นกาสีนี้ ปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ เป็นเขตชานเมืองพาราณสี อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร ในสมัยโน้น ระยะทางจากพุทธคยาถึงสารนาถ (คือจากอุรุเวลาเสนานิคมถึงอิสิปตนะมฤคทายวัน) มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ว่า 18 โยชน์ พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศคำสอนของพระองค์เป็นครั้งแรกที่นี่ ทรงได้พระสาวกองค์แรกถึงองค์ที่ 60 ที่นี่ ทรงเริ่มงานประกาศพระศาสนาด้วย การส่งพระสาวกรุ่นแรก 60 ท่านดังกล่าว ซึ่งเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ให้แยกย้ายกันไปยังที่ต่าง ๆ จากที่นี่

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Singh, Upinder (2008). A history of ancient and early medieval India: from the Stone Age to the 12th century. Pearson Education. pp. 258–262. ISBN 9788131711200.
  2. https://sreenivasaraos.com/tag/history-of-kashi/