กลุ่มอาการขาดไอโอดีนแต่กำเนิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Congenital iodine deficiency syndrome)
กลุ่มอาการขาดไอโอดีนแต่กำเนิด
ชื่ออื่นเครทินิสม์ (Cretinism)
ภาพถ่ายบุคคลโดย Eugène Trutat แสดงผู้ป่วยด้วยอาการเครทินิสม์
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการกอยเตอร์, ปัญญาอ่อน, การเจริญเติบโตหยุดชะงัก, หมัน, ผมร่วง

กลุ่มอาการขาดไอโอดีนแต่กำเนิด (อังกฤษ: congenital iodine deficiency syndrome) หรือ สภาพแคระโง่ (อังกฤษ: cretinism) เป็นโรคที่พบตั้งแต่กำเนิดอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีพัฒนาการล่าช้าอย่างรุนแรงทั้งทางกายและทางสติปัญญา เป็นผลจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ระหว่างที่มารดาตั้งครรภ์ ซึ่งมักเกิดจากการได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยตั้งแต่กำเนิด[1][2]

อาการและอาการแสดง[แก้]

การขาดไอโอดีนจะทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่า คอพอก บางรายอาจมีอาการตัวเตี้ยรุนแรงจนเห็นได้ที่อายุหนึ่งปี เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่อาจมีส่วนสูงสุดท้ายอยู่ที่ประมาณ 100-160 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับความรุนแรง แพทย์ และปัจจัยพันธุกรรมอื่นๆ อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ได้แก่ ผิวหนังหนา ผมร่วง ลิ้นใหญ่ ท้องโต[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Cretinism". merriam-webster.com. Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 5 October 2019. a usually congenital condition marked by physical stunting and intellectual disability and caused by severe hypothyroidism
  2. William C. Shiel. "Medical Definition of Cretinism". medicinenet.com. MedicineNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11. สืบค้นเมื่อ 5 October 2019. Cretinism: Congenital hypothyroidism (underactivity of the thyroid gland at birth), which results in growth retardation, developmental delay, and other abnormal features.
  3. Councilman, W. . (1913). "One". Disease and Its Causes. United States: New York Henry Holt and Company London Williams and Norgate The University Press, Cambridge, USA.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก