สงครามฝรั่งเศสและอินเดีย
สงครามฝรั่งเศสและอินเดีย | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเจ็ดปี | |||||||||
แผนที่แสดงถึงเขตการรบของสงคราม | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
| |||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
กำลัง | |||||||||
ทหารประจำการและทหารอาสา 42,000 นาย (กำลังสูงสุด ณ ค.ศ. 1758)[1] | ทหารประจำการ 10,000 นาย (นับรวม ทรูปเดอลาเทอร์รา และ ทรูปเดอลามารีนกำลังสูงสุด ณ ค.ศ. 1757)[2] | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
| ไม่ทราบ |
สงครามฝรั่งเศสและอินเดีย (อังกฤษ: French and Indian War; ค.ศ. 1754–1763) เป็นสงครามระหว่างอาณานิคมบริติชอเมริกาฝ่ายหนึ่ง และอาณานิคมนูแวลฟร็องส์อีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่อาณานิคมทั้งสองต่างก็ได้รับการสนับสนุนทางทหารจากประเทศแม่และพันธมิตรชาวพื้นเมือง ในช่วงต้นสงครามนั้นอาณานิคมฝรั่งเศสมีประชากรประมาณ 60,000 คน ในขณะที่ประชากรในอาณานิคมของบริเตนใหญ่มีจำนวนกว่า 2 ล้านคน[4] ฝรั่งเศสผู้มีจำนวนน้อยกว่าจึงต้องหันไปพึ่งชาวพื้นเมือง
บรรดาชาติยุโรปประกาศสงครามต่อกันใน ค.ศ. 1756 เป็นเวลาสองปีหลังจากสงครามฝรั่งเศสและอินเดียได้เริ่มขึ้น และหลายฝ่ายต่างมองว่าสงครามดังกล่าวเป็นแค่เขตการรบหนึ่งของ สงครามเจ็ดปี ที่ดำเนินไปทั่วโลกระหว่าง ค.ศ. 1756–63 ในขณะที่สงครามฝรั่งเศสและอินเดียกลับถูกมองว่าเป็นสงครามแยกต่างหากในสหรัฐ โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในยุโรปแต่ประการใด[5] ชาวแคนนาดาเชื้อสายฝรั่งเศสเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามแห่งการพิชิต (Guerre de la Conquête)[6][7]
ชาวอาณานิคมบริเตนได้รับการสนับสนุนหลายครั้งจากชนเผ่าอิโรคว็อยซ์ คาทอว์บาและเชอโรคี ส่วนฝรั่งเศสได้รับการสนับสนุนจากชนเผ่าที่เป็นสมาชิกของสมาพันธรัฐวาบานาคี ชาวอเบนาคี ชาวมิกแมก ชาวอัลกอนควิน ชาวเลนาเป ชาวโอจิบวา ชาวโอดาวา ชาวชอว์นี และชาวไวยดอต[8] การปะทะเกิดขึ้นตามแนวพรมแดนแดนของอาณานิคมนูแวลฟร็องส์และอาณานิคมของบริเตนเป็นหลัก ตั้งแต่อาณานิคมเวอร์จิเนียทางใต้ ไปจนจรดเกาะนิวฟันด์แลนด์ทางเหนือ สงครามมีสาเหตุมาจากปัญหาทางพรมแดนที่จุดบรรจบ (Confluence) ระหว่างแม่น้ำแอลลิเกนีและแม่น้ำโมนังกาฮีลา เรียกว่าสามง่ามโอไฮโอ และเป็นที่ตั้งป้อมดูว์แคนเนอร์ของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังจะกลายเป็นที่ตั้งของเมืองพิตต์สเบิร์ก ปัญหาดังกล่าวนำไปสู่การใช้กำลัง คือ ยุทธการจูมอนวิลล์เกลน ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1754 ซึ่งเหล่าทหารอาสาเวอร์จิเนียภายใต้การบังคับบัญชาของจอร์จ วอชิงตัน ในวัย 22 ปี ซุ่มโจมตีหน่วยลาดตระเวนฝรั่งเศส[9]
ใน ค.ศ. 1755 ผู้ว่าการอาณานิคมหกรัฐได้เข้าพบกับพลเอกเอ็ดเวิร์ด แบรดด็อก ผู้บังคับบัญชาของกองทัพบริเตนที่พึ่งมาถึงทวีปอเมริกาได้ไม่นาน เพื่อวางแผนโจมตีฝ่ายฝรั่งเศสจากสี่ทิศทาง ไม่มีครั้งใดเลยที่ประสบความสำเร็จ และความพยายามครั้งสำคัญ โดยแบรดด็อกกลายเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ แบรดด็อกพ่ายแพ้ในยุทธการที่แม่น้ำโมนังกาฮีลา ในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1755 และเสียชีวิตลงในอีกไมกี่วันให้หลัง ปฏิบัติการทางทหารของบริเตนตามแนวชายแดนของอาณานิคมเพนซิลเวเนียและอาณานิคมนิวยอร์ก ระหว่าง ค.ศ. 1755–57 ไม่ประสบความสำเร็จ อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุรวมกัน เช่น การบริหารจัดการที่ย่ำแย่ การแตกแยกจากภายใน หน่วยลาดตระเวนแคนนาดาที่มีประสิทธิภาพ การโจมตีจากทหารกองประจำการของฝรั่งเศสและพันธมิตรชาวพื้นเมือง ใน ค.ศ. 1755 ฝ่ายบริเตนสามารถเข้ายึดครองป้อมบัวร์จูร์ ที่ตั้งอยู่บนชายแดนซึ่งแยกโนวาสโกเชียออกจากอะคาดี และได้ทำการขับไล่ชาวอะคาดี (ค.ศ. 1755–64) หลังจากนั้นไม่นาน ผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดฝ่ายบริเตน วิลเลียม เชอร์ลีย์ ออกคำสั่งให้เนรเทศชาวอะคาดี โดยไม่รอแนวทางจากประเทศแม่ ชาวอะคาดีทั้งที่เป็นเชลยศึกและประกาศสวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ต่างถูกขับไล่ ชาวพื้นเมืองก็ถูกขับไล่เช่นกัน เพื่อเป็นการเปิดทางให้ผู้ตั้งถิ่นฐานจากนิวอิงแลนด์[10]
รัฐบาลอาณานิคมบริติชในโนวาสโกเชียล่มสลายลงหลังจากการทัพที่ล้มเหลวติดต่อกันหลายครั้งใน ค.ศ. 1757 ซึ่งรวมไปถึง การทัพหลุยส์บวรก์และการล้อมป้อมวิลเลียมเฮนรี ซึ่งภายหลังจากศึกครั้งหลังนี้ยังมีการทรมานและสังหารหมู่ชาวอาณานิคมโดยชนพื้นเมืองด้วย หลังจากที่วิลเลียม พิตต์ ผู้พ่อ ขึ้นสู่อำนาจ เขาได้ทำการเพิ่มทรัพยากรทางทหารของบริเตนใหญ่ในอาณานิคม ในขณะที่ฝรั่งเศสไม่ต้องการเสี่ยงส่งขบวนยุทธภัณฑ์ขนาดใหญ่ไปช่วยสนับสนุนกองกำลังในนูแวลฟร็องส์ที่มีจำนวนจำกัด โดยหันไปรวบรวมกำลังเพื่อต่อกรกับปรัสเซีย และพันธมิตรซึ่งเข้าร่วมสงครามเจ็ดปีในยุโรป การสู้รบในโอไฮโอยุติลงใน ค.ศ. 1758 ด้วยชัยชนะของฝ่ายบริติช–อเมริกันในโอไฮโอคันทรี ระหว่าง ค.ศ. 1758 และ 1760 กองทัพบริติชดำเนินการทัพเพื่อเข้ายึดครองแคนาดาของฝรั่งเศส พวกเขาสามารถเข้ายึดครองอาณานิคมโดยรอบได้สำเร็จ และท้ายที่สุดก็สามารถเข้ายึดครองเมืองคิวเบกได้ใน ค.ศ. 1759 ในปีถัดมาฝ่ายบริติชก็ได้รับชัยชนะในการทัพมอนทรีออล โดยที่ฝรั่งเศสยินยอมมอบแคนาดาให้บริเตนใหญ่ตามเงื่อนไขในสนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1763)
ฝรั่งเศสยังส่งมอบดินแดนของตนทางตะวันออกของแม่น้ำมิสซิสซิปปีให้กับบริเตนใหญ่ ร่วมไปถึงถ่ายโอนลุยเซียนา ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี ให้กับสเปนผู้เป็นพันธมิตร เพื่อเป็นการชดเชยฟลอริดาที่สเปนเสียแก่บริเตนใหญ่ (สเปนจำต้องยกฟลอริดาให้กับบริเตนเพื่อแลกเอาฮาวานา กลับคืนมา) ทำให้ดินแดนอาณานิคมทางฝรั่งเศสทางตอนเหนือของทะเลแคริบเบียนเหลือเพียงเกาะแซ็งปีแยร์และมีเกอลงเท่านั้น สงครามครั้งนี้ยังช่วยยืนยันสถานะของบริเตนในฐานะเจ้าอาณานิคมรายใหญ่ในอเมริกาตอนเหนือ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Brumwell, pp. 26–31, documents the starting sizes of the expeditions against Louisbourg, Carillon, Duquesne, and West Indies.
- ↑ Brumwell, pp. 24–25.
- ↑ Clodfelter, M. (2017). Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492–2015 (4th ed.). Jefferson, North Carolina: McFarland. ISBN 978-0786474707, p 122
- ↑ Gary Walton; History of the American Economy; page 27
- ↑ M. Brook Taylor, Canadian History: a Reader's Guide: Volume 1: Beginnings to Confederation (1994) pp 39–48, 72–74
- ↑ "Seven Years' War". เดอะแคนาเดียนเอนไซโคลพีเดีย. สืบค้นเมื่อ October 7, 2019.: 1756–1763
- ↑ "The Siege of Quebec: An episode of the Seven Years' War", Canadian National Battlefields Commission, Plains of Abraham website
- ↑ Hall, Richard (2016). "The Causes of the French and Indian War and the Origins of the 'Braddock Plan': Rival Colonies and Their Claims to the Disputed Ohio". Atlantic Politics, Military Strategy and the French and Indian War: 21–49. doi:10.1007/978-3-319-30665-0_2. ISBN 978-3-319-30664-3.
- ↑ Peyser. Jacques Legardeur de Saint-Pierre: Officer, Gentleman, Entrepreneur. Michigan State University Press. p. 221.
- ↑ Eccles, France in America, p. 185