ห้องอักษรจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Chinese room)
ปัญญาประดิษฐ์

ศัพท์ปัญญาประดิษฐ์

GOFAI
การค้นหาในปริภูมิสถานะ
การวางแผนอัตโนมัติ
การค้นหาเชิงการจัด
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
การแทนความรู้
ระบบอิงความรู้
Connectionism
ข่ายงานประสาทเทียม
ชีวิตประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์แบบกระจาย
การเขียนโปรแกรมเชิงพันธุกรรม
ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม
ปัญญากลุ่ม
Artificial beings
Bayesian methods
เครือข่ายแบบเบย์
การเรียนรู้ของเครื่อง
การรู้จำแบบ
ระบบฟัซซี
ตรรกศาสตร์คลุมเครือ
ฟัซซีอิเล็กทรอนิกส์
Philosophy
ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม
สำนึกประดิษฐ์
การทดสอบทัวริง

ข้อคิดเห็นว่าด้วยห้องอักษรจีน (อังกฤษ: the Chinese room argument) เสนอว่า ไม่ว่าจะออกแบบโปรแกรมให้ซับซ้อนเพียงใด ก็ไม่สามารถสร้าง "จิต" (mind) "เจตจำนง" (intentionality) หรือ "ความตื่นรู้" (consciousness) ให้เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์ได้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์นั้นจะสามารถตอบสนองได้เหมือนมนุษย์มาก หรือตอบสนองได้ด้วยลักษณะที่ดูมีความฉลาดอย่างมากเพียงใดก็ตาม ข้อถกเถียงนี้ได้รับการเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชื่อ John Searle ในบทความเรื่อง "Minds, Brains, and Programs" ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Behavioral and Brain Sciences เมื่อ ค.ศ. 1980 ซึ่งต่อมาได้รับการวิเคราะห์ต่อยอดอย่างกว้างขวาง ใจความสำคัญของข้อถกเถียงนี้คือการทดลองทางความคิดที่เป็นที่รู้จักในชื่อ ห้องอักษรจีน (อังกฤษ: the Chinese room)[1]

ข้อถกเถียงนี้มุ่งเป้าเพื่อต่อต้านมุมมองแบบ functionalism และ computationalism ของปรัชญาว่าด้วยจิต ซึ่งมองว่าจิตนั้นแท้จริงก็คือระบบที่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้จากสัญลักษณ์ และโดยเฉพาะยิ่งกว่านั้นคือเป็นการต่อต้านการมีอยู่ของสิ่งที่ Searle เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (strong AI)

John Searle ผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการทดลองทางความคิดว่าด้วยห้องอักษรจีน

การทดลองทางความคิดว่าด้วยห้องอักษรจีน[แก้]

การทดลองทางความคิดของ Searle กำหนดเงื่อนไขพื้นฐานดังนี้ ให้สมมติว่าการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ก้าวหน้าไปถึงขั้นที่สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่ประพฤติตัวได้เสมือนว่ามีความเข้าใจภาษาจีน มันสามารถรับคำสั่งอินพุตเป็นภาษาจีน แล้วสามารถอาศัยเงื่อนไขตามโปรแกรมคอมพิวเตอร์จนสามารถผลิตคำตอบออกมาเป็นอักษรจีนอีกตัวหนึ่งได้ สมมติต่ออีกว่าคอมพิวเตอร์นี้ทำงานนี้ได้ดีมากจนสามารถผ่านการทดสอบของทัวริงได้ กล่าวคือ สามารถโน้มน้าวให้มนุษย์ผู้รู้ภาษาจีนเชื่อได้ว่าคำตอบนี้มาจากมนุษย์ผู้รู้ภาษาจีนจริงๆ ไม่ว่าจะถามคำถามใดๆ ไป คอมพิวเตอร์นี้จะสามารถให้คำตอบที่เหมาะสมออกมาได้ทุกครั้ง เหมือนกับที่มนุษย์ผู้รู้ภาษาจีนคนหนึ่งจะโต้ตอบพูดคุยกับมนุษย์ผู้พูดภาษาจีนอีกคนหนึ่ง

คำถามของ Searle คือ เครื่องจักรนี้ "เข้าใจ" ภาษาจีน โดยแท้จริง หรือไม่ หรือมันเพียงแต่ "จำลอง" ความสามารถในการเข้าใจภาษาจีน เขาเรียกภาวะที่เข้าใจภาษาจีนว่า "ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม" และภาวะที่จำลองความเข้าใจภาษาจีนว่า "ปัญญาประดิษฐ์แบบอ่อน"

เพื่อลองหาคำตอบของปัญหานี้ Searle ได้เสนอว่า สมมติว่าข้าพเจ้าอยู่ในห้องปิดห้องหนึ่ง แล้วมีหนังสือภาษาอังกฤษที่บันทึกรายละเอียดของโปรแกรมดังกล่าวเอาไว้อย่างครบถ้วน ให้ดินสอ ปากกา ยางลบ แฟ้มเอกสาร และอุปกรณ์อื่นๆ เพียงพอต่อความต้องการ เขาสามารถจะรับกระดาษที่เขียนตัวอักษรจีนมาจากช่องประตู เปิดตำราและคำนวณตามเงื่อนไขของโปรแกรม และย่อมจะสามารถได้คำตอบเป็นตัวอักษรจีนขึ้นมาได้ ถ้าคอมพิวเตอร์ตามเงื่อนไขนี้สามารถผ่านการทดสอบของทัวริงได้ เขาซึ่งทำตามเงื่อนไขของโปรแกรม ก็ย่อมจะคำนวณให้ได้คำตอบที่ผ่านการทดสอบของทัวริงได้อย่างไม่ต่างกัน

Searle ถือว่าการทดลองนี้บ่งบอกว่า ไม่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญใดๆ ระหว่างบทบาทของคอมพิวเตอร์กับตัวเขาในการทดลองนี้ ทั้งคอมพิวเตอร์และตัวเขาต่างปฏิบัติตามเงื่อนไขของโปรแกรมตามลำดับขั้นตอน จนได้ผลออกมาเป็นพฤติกรรมที่อาจถูกแปลผลได้ว่าเป็นการสนทนาของผู้มีสติปัญญา ทั้งที่จริงแล้ว Searle ไม่อาจเข้าใจการสนทนานั้นได้เลย เช่นนี้เขาจึงถือเป็นข้อถกเถียงว่า ไม่อาจถือได้ว่าคอมพิวเตอร์ในเรื่องนี้เข้าใจการสนทนานั้นได้เช่นกัน

Searle อ้างต่ออีกว่า เมื่อเครื่องจักรไม่มี "ความเข้าใจ" (หรือ "เจตจำนง") จึงไม่อาจถือได้ว่าสิ่งที่เครื่องจักรนั้นทำ คือ "การคิด" และเมื่อไม่มีการคิด ก็ถือว่าไม่มี "จิตใจ" ในความหมายโดยทั่วไป ดังนั้นเขาจึงสรุปต่อไปว่า "ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม" ไม่มีอยู่จริง

อ้างอิง[แก้]

  1. Roberts, Jacob (2016). "Thinking Machines: The Search for Artificial Intelligence". Distillations. 2 (2): 14–23. สืบค้นเมื่อ 17 February 2017.