การทดสอบทัวริง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทดสอบของทัวริง (อังกฤษ: Turing test) เป็นวิธีการที่ แอลัน ทัวริง ได้เสนอขึ้นในปี พ.ศ. 2493 (คศ. 1950) เพื่อใช้ทดสอบความสามารถของเครื่องจักร (machine) ว่ามีความสามารถในการคิดได้เช่นเดียวกับมนุษย์หรือไม่ โดยวิธีการทดสอบคือให้คนทำการพิมพ์บทสนทนาโต้ตอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนและคอมพิวเตอร์หากคู่สนทนาไม่สามารถแยกได้ว่าอีกฝ่ายที่คุยนั้นเป็นคอมพิวเตอร์หรือคนได้ก็ถือว่าเครื่องจักรนั้นผ่านการทดสอบของทัวริง

แชทบอท LaMDA ของกูเกิล[แก้]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 แชทบอท LaMDA (Language Model for Dialogue Applications) ของกูเกิล ได้รับการอ้างถึงอย่างกว้างขวางว่าได้บรรลุถึงขั้นที่มีความรู้สึกแล้ว เริ่มแรกจากการกล่าวถึงในบทความ The Economist โดยมีนักวิจัยของกูเกิล Blaise Agüera y Arcas กล่าวว่า แชทบอทได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในสัมพันธภาพทางสังคม[1] หลายวันต่อมา วิศวกรของกูเกิล เบลก เลอมอยน์ ได้อ้างในการสัมภาษณ์กับเดอะวอชิงตันโพสต์ว่า LaMDA ได้บรรลุถึงความรู้สึกแล้ว ต่อมาเขาถูกพักงานโดยกูเกิล ทาง Agüera y Arcas (รองประธานกูเกิล) และ Jen Gennai (หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมที่ต้องการการโต้ตอบ) ได้เข้ามาสอบสวนแต่ก็ได้ปัดตกคำอ้างนั้นไป[2] คำยืนยันของ เลอมอยน์ ยังถูกถูกปฏิเสธจากผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ โดยชี้ว่า โมเดลภาษาที่ดูเหมือนจะจำลองการสนทนาของมนุษย์ได้นั้น ไม่ได้เป็นการแสดงว่า [LaMDA] มีสติปัญญา[3] แม้จะดูเหมือนมันจะผ่านการทดสอบของทัวริงก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากทั้งผ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านการอ้างว่า LaMDA ได้บรรลุถึงความรู้สึก ได้เกิดขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งรวมถึงการกำหนดความหมายของความรู้สึกและความหมายของการเป็นมนุษย์

อ้างอิง[แก้]

  1. Dan Williams (June 9, 2022). "Artificial neural networks are making strides towards consciousness, according to Blaise Agüera y Arcas". The Economist.
  2. Nitasha Tiku (June 11, 2022). "The Google engineer who thinks the company's AI has come to life". Washington Post.
  3. Jeremy Kahn (June 13, 2022). "A.I. experts say the Google researcher's claim that his chatbot became 'sentient' is ridiculous—but also highlights big problems in the field". Fortune.