กะหล่ำปลี
กะหล่ำปลี | |
---|---|
กะหล่ำปลี ไม่ทราบชนิดพันธุ์ | |
ชนิด | Brassica oleracea |
กลุ่มพันธุ์ปลูก | Capitata Group |
ต้นกำเนิด | เมดิเตอร์เรเนียน, คริสต์ศตวรรษที่ 1 |
สมาชิกกลุ่มพันธุ์ปลูก | หลากหลาย |
กะหล่ำปลี หรือ กะหล่ำใบ เป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด Brassica oleracea L. var. capitata ในวงศ์ Cruciferae มีสัณฐานกลม ส่วนใหญ่สีเขียว แต่สีอื่นก็มี อาทิ ขาวและม่วง มีถิ่นกำเนิดอยู่แถวเมดิเตอเรเนียน ต่อมาแพร่กระจายทั่วไป แขนงที่งอกใหม่จากต้นกะหล่ำปลีหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว เรียกว่า ยอดผัก หรือ ผักแขนง[1]
ที่มาของชื่อ
[แก้]ชื่อของกะหล่ำปลี คำว่ากะหล่ำ เพี้ยนมาจากภาษาไหหลำคือ "芥藍" และคำว่าปลี จากภาษาแต้จิ๋วคือ "璃" ภาษาจีนกลางเรียกว่า เจวี่ยนซินช่าย (จีน: 卷心菜; พินอิน: Juăn-xīn-cài) และภาษาจีนไถวานเรียกว่าเกาลี่ช่าย (จีน: 高麗菜; พินอิน: Gāo-lì-cài)
สายพันธุ์
[แก้]แยกได้เป็นสามสายพันธุ์[2] คือ
- กะหล่ำปลีขาว เช่น พันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต และพันธุ์ โกลเดน เอเคอร์
- กะหล่ำปลีม่วง หรือกะหล่ำปลีแดง ใบเป็นสีแดงทับทิม ขึ้นดีในที่อากาศหนาวเย็น
- กะหล่ำปลีใบย่น ผิวใบหยิกย่น ต้องการอากาศหนาวเย็นพิเศษ
สารอาหาร
[แก้]ในกะหล่ำปลีมีสารเอส-เมทิลเมไธโอนีน (S-methylmethionine, SMM) สามารถรักษาโรคกระเพาะอาหารและมีสารกอยโตรเจนที่ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก[3] นอกจากนั้นยังพบว่ามีสารต้านมะเร็งโดยเฉพาะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้[2] มีการวิจัยพบกะหล่ำปลีใช้ประคบเต้านมลดปวดแก้นมคัดแม่หลังคลอด[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "แขนงกะหล่ำปลี". บ้านสวนพอเพียง. 21 พฤศจิกายน 2010.
- ↑ 2.0 2.1 สรจักร ศิริบริรักษ์. "เภสัชโภชนา :กะหล่ำปลีเพื่อชีวิต". กระทรวงสาธารณสุข. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มิถุนายน 2008. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2008.
- ↑ กองบรรณาธิการ (มกราคม 2001). "กะหล่ำปลีช่วยรักษาโรคกระเพาะ". ใกล้หมอ. Vol. 25 no. 1. p. 18.
- ↑ "พบ "กะหล่ำปลี" ลดปวดเต้านม-แก้นมคัดแม่หลังคลอด". healthcorners.com. 10 กันยายน 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกะหล่ำปลี", กรมวิชาการเกษตร, 14 มิถุนายน 2010
- James John Howard Gregory, "Cabbages and Cauliflowers: How to Grow Them", Project Gutenberg