ข้ามไปเนื้อหา

แบล็กแซ็บบาธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Black Sabbath)
แบล็กแซ็บบาธ
แบล็กแซ็บบาธในปี 1970 สมาชิกวง (ซ้ายไปขวา) กีเซอร์ บัทเลอร์, โทนี ไอออมมี, บิล วอร์ด, ออซซี ออสบอร์น
แบล็กแซ็บบาธในปี 1970 สมาชิกวง (ซ้ายไปขวา) กีเซอร์ บัทเลอร์, โทนี ไอออมมี, บิล วอร์ด, ออซซี ออสบอร์น
ข้อมูลพื้นฐาน
รู้จักในชื่อThe Polka Tulk Blues Band, Earth
ที่เกิดแอสตัน เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ
แนวเพลงเฮฟวีเมทัล
ช่วงปีค.ศ. 1968-ปัจจุบัน
ค่ายเพลงVertigo, Warner Bros., I.R.S., Sanctuary
สมาชิกออซซี ออสบอร์น
โทนี อิออมมี
กีเซอร์ บัทเลอร์
อดีตสมาชิกดู รายชื่อสมาชิกของแบล็ค ซับบาธ
เว็บไซต์blacksabbath.com

แบล็กแซ็บบาธ (อังกฤษ: Black Sabbath) เป็นวงดนตรีเฮฟวีเมทัลจากเมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1968 โดยมีสมาชิกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นจำนวนมากถึง 22 คน แต่มีสมาชิกหลักจำนวน 4 คน คือ ออซซี ออสบอร์น โทนี ไอออมมี กีเซอร์ บัทเลอร์ และบิล วอร์ด ซึ่งเป็นสมาชิกตั้งแต่ก่อตั้งวง แบล็กแซ็บบาธ ได้รับการยอมรับว่าเป็นวงดนตรีวงแรก ๆ ในแนวเฮฟวีเมทัล [1] โดยเน้นเสียงกีตาร์ที่มีโทนเสียงโหยหวน และเนื้อร้องที่มี ความหมายแนวสยองขวัญเป็นเอกลักษณ์ ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ขายอัลบั้มได้มากกว่า 15 ล้านแผ่น เฉพาะในสหรัฐอเมริกา [2] และมากกว่า 70 ล้านแผ่นทั่วโลก[3] ผลงานเพลงของแบล็กแซ็บบาธ ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือเพลง "Paranoid" จากอัลบั้มที่สอง ในปี ค.ศ. 1970 ก่อนหน้าที่จะมาเป็นวงเฮฟวี่เมทัล ในปี ค.ศ. 1968 แบล๊ค ซับบาธเล่นดนตรีแนว heavy blues rock มีวงชื่อว่า Earth และเปลี่ยนชื่อเป็น Black Sabbath ในปี 1969[4]เขียนเพลงที่นำชื่อเพลงมาจาก นวนิยายลึกลับของ Dennis Wheatley ชื่อว่า Black Sabbath และนำมาใช้ตั้งเป็นชื่อวงอีกด้วย การเล่นดนตรีของวงแบล็กแซ็บบาธนอกจากจะเล่นดนตรีที่ให้อารมณ์ น่ากลัว ลึกลับ หวาดกลัว แล้วผลงานอัลบั้มต่าง ๆ ยังกล่าวถึงสังคมในสมัยนั้น เรื่องความไม่มั่นคงทางสังคม การทุจริตทางการเมือง และเรื่องยาเสพติด หรือบางเพลงก็กล่าวถึงความน่ากลัวของสงคราม แบล็กแซ็บบาธ ตั้งวงพร้อม ๆ กับ Led Zeppelin และ Deep Purple ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวเพลง เฮฟวี่เมทัล[5] วงแบล็กแซ็บบาธได้เป็น ศิลปินฮาร์ดร็อกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดรองลงมาจาก Led Zeppelin [6]

ออซซี ออสบอร์น มีปัญหาเรื่องการติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก และใช้สารเสพติดจน ทำให้ทางวงต้องไล่ออก ในปี ค.ศ. 1979 หลังจากที่เขาเริ่มทำอัลบั้มเดี่ยวที่ประสบความสำเร็จมากขายกว่า 55 ล้านอัลบั้ม จึงมีคนมาแทนที่ในตำแหน่งนักร้องจากวง Rainbow คือ Ronnie James Dio ในปี ค.ศ 1980-1990และIan Gillan, Glenn Hughes, Ray Gillen Tony Martinตามลำดับ ในปี 1992 Iommi และ Butler ได้เข้าร่วมวง Dio และกลับมารวมตัวกับ ออซซี ออสบอร์น อีกครั้งในปี ค.ศ. 1997 ใน อัลบั้มบันทึกแสดงสด Reunion เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2011 สมาชิกดั้งเดิมของแบล็กแซ็บบาธ ที่แยกวงได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง เพื่อทำอัลบั้มใหม่ และวางแผนทัวร์รอบโลก เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2013 วงแบล็กแซ็บบาธ ได้บันทึกสตูดิโออัลบั้มใหม่ที่ 19 คือ 13 กับมือกลองคนใหม่ Brad Wilk

ประวัติ

[แก้]

ก่อนก่อตั้งวง (1968–69)

[แก้]

หลังจากที่สมาชิกทุกคนลาออกจากวง Mythology ในปี 1968 มือกีตาร์ Tony Iommi และ มือกลอง Bill Ward ตั้งวงดนตรีแนว เฮฟวี บลูร็อก ขึ้นที่ แอสตัน เบอร์มิงแฮม และสมาชิกอีกสองคนคือ มือเบส Geezer Butler และ นักร้องนำ Ozzy Osbourne ก็เข้ามาร่วมวง แล้วจึงตั้งวงที่ชื่อ The Polka Tulk และได้สมาชิกเพิ่มอีกคือ Jimmy Phillips ตำแหน่งมือสไลด์กีตาร์ และ Alan "Aker" Clarke เล่นแซ็กโซโฟน แล้วจึงเปลี่ยนชื่อวงเป็น Earth [7]แต่มีสมาชิกแค่สี่คนโดยไม่มี Phillips และ Clarke [8][9] ในช่วงที่วงใช้ชื่อว่า Earth พวกเขาเขียนเพลงขึ้นมาคือ "The Rebel", "Song for Jim", และ "When I Came Down" เป็นเดโมเทป[10] ในเดือน ธันวาคม 1968 ไอออมมีเข้าร่วมเล่นกับวง Jethro Tull [11]เป็นช่วงสั้น ๆ เพราะพอใจกับทิศทางของวง ไอออมมีจึงกลับมาเล่นกับวง Earth ในช่วง มกราคม 1969 ในขณะที่แสดงอยุ่ที่อังกฤษช่วง 1969 พวกเขาถูกเข้าใจผิดว่าเป็นวง Earth อีกวงที่มีชื่อเดียวกัน พวกเขาจึงเปลียนชื่อวงอีกครั้ง จากการไปดูหนังเรื่อง Black Sabbath เขียนโดย Mario Bava พวกเขาทั้งหมดจึงเริ่มเขียนเพลงชื่อ "Black Sabbath" ได้รับแรงบันดาลมาจากนวนิยายของ Dennis Wheatley [12][13] พวกเขาเปลี่ยนชื่อวงเป็บ แบล็กแซ็บบาธ ในช่วง สิงหาคม 1969 [14] และมุ่งเน้นเขียนเพลงที่เกี่ยวกับเรื่องสยองขวัญ

Black Sabbath และ Paranoid (1970–71)

[แก้]

แบล็กแซ็บบาธ ตกลงเซ็นสัญญากับค่าย Philips Records ในช่วง พฤศจิกายน 1969[15] แล้วเริ่มปล่อยซิเกิลแรกคือ "Evil Woman" (คับเวอร์จากวง Crow) ผ่านบริษัทย่อยของ Philips Fontana Records ในช่วง มกราคม 1970 Black Sabbath บันทึกตอน วันศุกร์13 เดือน กุมภาพันธ์ 1970 อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ด UK Albums Chart และวางขายใน สหรัฐฯ และ แคนาดาโดยค่ายWarner Bros. Records ติดอันดับ 23 ของชาร์ด Billboard 200 ติดชาร์ดนานนับปี[16][17] หลังจากประสบผลสำเร็จจากอัลบั้มแรกพวกเขา ก็เข้าสตูดิโอ เพื่อจะทำอัลบั้มใหม่ช่วง มิถุนายน 1970 ในอัลบั้มใหม่มือชื่อเดิมว่า War Pigs แต่ต้องเปลี่ยนเพราะทางค่ายกลัวว่าจะเป็นการขัดแย้งกับเวียดนามเพราะในช่วงนั้น เกิดสงครามที่เวียดนาม จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Paranoid เปิดอัลบั้มด้วยเพลง "Paranoid" ในเดือนกันยายน 1970 ได้อันดับสี่ของ UK charts [17] และเพลง "Paranoid" ขึ้นอันดับหนึ่งของชาร์ด

Master of Reality และ Volume 4 (1971–73)

[แก้]

ในช่วง กุมภาพันธ์ 1971 แบล็กแซ็บบาธ กลับไปสตูดิโอเพื่อบันทึดอัลบั้มที่สามของพวกเขา หลังจากที่อัลบ้ม Paranoid ประสบความสำเร็จ อัลบั้ม Master of Reality บันทึกเสร็จในเดือน เมษายน 1971 และในเดือนกรกฎาคมก็ปล่อยอัลบั้มวางจำหน่าย หลังจากนั้นอัลบั้มนี้ก็ขึ้นท็อปเท็น ของชาร์ดที่ US และ UK ได้รับรางวัลแพลททินัม ในช่วง 1980s เพลงยอดฮิตจากอัลบั้มนี้คือ "Children of the Grave" และ "Sweet Leaf" [18] หลังจากทัวร์คอนเสิร์ต Master of Reality จบในปี 1972 ในช่วง มิถุนายน 1972 พวกเขาประชุมกันที่ลอสแอนเจลิเพื่อเริ่มต้นการทำงานในอัลบั้มต่อไปของพวกเขาที่ Record Plantแต่เกิดปัญหา ในการบันทึกเพลง "Cornucopia" หลังมีปัญหาเรื่องยาเสพติด [19] พวกเขาจึงบันทึกอัลบั้ม Volume 4 เสร็จช่วง กันยายน 1972 และประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม[20]

Sabbath Bloody Sabbath และ Sabotage (1973–76)

[แก้]

หลังทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม Vol. 4 Black Sabbath กลับไป Los Angeles เพื่อทำอัลบ้มใหม่ ในขณะที่พวกเขาเขียนเพลงอยู่ในห้องอัด ไอออมมี เริ่มแต่งเพลง"Sabbath Bloody Sabbath, " จนเสร็จ อัลับั้มนี้บันทึกที่ มอร์แกนสตูดิโอในลอนดอนโดย Mike Butcher แนวที่เล่นอาจจะเปลี่ยนสไตล์ไปจากเดิม มีการเพิ่มเครื่องสังเคราห์เสียง คีย์บอร์ด เป็นการเปลี่ยนแปลงทิศทางของวงที่ได้ มือคีย์บอร์ด Rick Wakeman จากวง Yes มาช่วยเล่นคีย์บอร์ดให้เพลง Sabbra Cadabra[21] ในเดือน พฤศจิกายน 1973 แบล็กแซ็บบาธได้รับการตอบรับอย่างดีจากอัลบั้ม Sabbath Bloody Sabbath นับเป็นครั้งแรกของพวกเขาที่ได้รับกระแสตอบรับที่ดี [22] อัลบั้มนี้ได้รับรางวัลแผ่นทองคำขาวติดต่อกันจากสหรัฐฯ[23] ติดชาร์ดอันดับที่4ของ UK ชาร์ด และอันดับที่11ในสหรัฐฯ ทางวงเริ่มทัวร์รอบโลกในเดือน มกราคม 1974 เป็นการแสดถึงความสำเร็จที่ถึงจุดสูงสุด ที่งาน California Jam ที่รัฐออนแทรีโอ วันที่ 6 เมษายน 1974 ซึ่งดึงดูดแฟนเพลงได้มากกว่า สองแสนคน

Black Sabbath เริ่มทำงานในอัลบั้มที่หกของพวกเขาใน กุมภาพันธ์ 1975 อัลบั้มนี้แตกต่างจากอัลบั้ม Sabbath, Bloody Sabbath ผลิตโดย Black Sabbath และ Mike Butcher มันคืออัลบั้ม Sabotage ได้เปิดตัวในเดือน กรกฎาคม 1975 อัลบั้มนี้ติด20อันดับในชาร์ดของ อังกฤษและสหรัฐฯ ถึงแม้ซิงเกิล "Am I Going Insane (Radio) " จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ซิงเกิล "Hole in the Sky", และ "Symptom of the Universe"ก็ทำให้เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ฟังได้

Technical Ecstasy และ Never Say Die! (1976–79)

[แก้]

Black Sabbath เริ่มทำงานสำหรับอัลบั้มต่อไปของพวกเขาที่Criteria Studiosที่ ฟลอริด้า ในเดือน มิถุนายน 1976 ได้สมาชิกมาใหม่เล่นในตำแหน่งคีย์บอร์ดคือ Gerry Woodruffe เคยได้ร่วมงานกับวงในอัลบั้ม Sabotage Technical Ecstasy เปิดตัวเมื่อวันที่ 25 กันยายน 1976 ก็พบกันความเห็นที่หลากหลายมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นความเห็นที่ดีเท่าไหร่ ออมิวสิกให้คะแนนอัลบั้มนี้แค่2ดาวเท่านั้น เป็นสิ่งที่น่าตกใจสำหรับวงแบล็กแซ็บบาธ[24] ในเดือน พฤศจิกายน 1977 ในขณะที่ในการฝึกซ้อมสำหรับอัลบั้มต่อไปของพวกเขาเพียงไม่กี่วันก่อนที่จะเข้าสตูดิโอ Ozzy Osbourne ก็ออกจากวงเขาพูด มันเป็นอัลบั้มสุดท้ายของแบล็คซับบาธที่ตกต่ำที่สุด [25] Dave Walker จากวงSavoy Brown จึงเข้ามาร้องแทน ออสบอร์น ในช่วงเดือน ตุลาคม 1977 วงจึงเริ่มงานเพลงใหม่ ในช่วงนั้นเอง ออสบอร์ดเตรียมตัวเพื่อจะเป็นศิลปินเดี่ยว ตั้งวงใหม่ในช่วง เดือนมากราคม 1978 ออสบอร์นก็เกิดเปลี่ยนใจกลับไปร่วมวงกับแบล็กแซ็บบาธ แล้วไปสตูดิโอที่แคนาดาเพิ่มเริ่มทำอัลบั้มใหม่ Never Say Die! อัลบั้มนี้ได้รับการเปิดตัวในช่วง กันยายน 1978 และติดอันดับที่ 12 ในชาร์ดของอังกฤษ และอันดับที่ 6 ในชาร์ดของสหรัฐฯเสียงตอบรับจากอัลบั้มนี้ค้อนข้างเงียบเพราะ สมาชิกของวงมีปัญหาด้านยาเสพติด[26] หลังจากการทัวร์จบ แบล็กซับบาธ ก็กลับไปที่ ลอสแอนเจลิสเพื่อจะทำอัลบั้มใหม่ด้วยแรงกดดันจากค่าย กับนักร้องของวงที่มีปัญหาเรื่องยาเสพติดทำให้ ไอออมมี จึงต้องไล่ ออซซี ออสบอร์น ออก ในปี 1979

Heaven and Hell และ Mob Rules (1979–82)

[แก้]

Sharon Osbourne ลูกสาวของผู้จัดการวง แบล็กแซ็บาธ Don Arden เสนอชื่อนักน้องที่จะมาแทน Ozzy Osbourne คือ Ronnie James Dio จากวง Rainbow ในปี 1979 ดิโอ จึงเข้าร่วมวงอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายนด้วยเสียงร้องที่แตกต่างจาก ออสบอร์นทำให้ภาพพจน์ของวงเปลี่ยนไป แต่ดิโอก็ต้องร้องในแนวเดียวกับ ออซซี อย่างเช่นเพลง "Iron Man" ในช่วง กันยายน 1979 Geezer Butler ลาออกจากวงชั่วคราวและแทนที่โดย Geoff Nicholls จากวง Quartz มาเล่นตำแหน่งเบส ในเดือนพฤศจิกายน พวกเขาไปสตูดิโอเพื่อเริ่มบันทึกอัลบั้มใหม่ บัทเลอร์ก็กลับมาเล่นในช่วงมกราคม 1980และ Nicholls ก็ไปเล่นตำแหน่งคีย์บอร์ด โปรดิวเซอร์โดย Martin Birch กับอัลบั้ม Heaven and Hell วางขายช่วง 25 เมษายน 1980 กว่าทศวรรษที่ผ่านมาหลังจากปล่อยอัลบั้มนี้ ออมิวสิกกล่าวว่า นี้คือผลงานที่มีเสียงร้องที่ดีที่สุด และมีพลัง[27]Heaven and Hell จึงได้อันดับที่9ในชาร์ดของอังกฤษ และอันดับที่28ในสหรัฐฯ เป็นการสร้างยอดขายอันบั้มที่สูง ตั้งแต่ปล่อยอลบั้ม Sabotageในปี1975 อัลบั้มนี้ขายได้ล้านแผ่นในสหรัฐฯ จึงเกิดการทัวร์คอนเสริ์ตรอบโลกครั้งแรกกับ ดิโอ ที่ประเทศเยอรมัน ในวันที่ 17 เมษายน 1980 และการทัวร์ที่สหรัฐฯ ในงาน"แบล็กแอนด์บลู" ที่นิวยอร์ก ในวันที่ 18 สิงหาคม 1980 หลังแสดงที่ มินนีแอโพลิส บิลวอร์ด ก็ออกจากวงเขาพูดว่ามันมันเป็นเรื่องที่ยากถ้าเขาจะแสดงโดยไม่มี ออซซี จึงแทนที่ด้วย Vinny Appice ในตำแหน่งมือกลอง หลังการทัวร์Heaven and Hell จบในเดือน กุมภาพันธ์ 1981 พวกเขากลับไปสตูดิโอเพื่อเขียนอัลบั้มใหม่ เป็นอัลบั้มที่สองที่ Martin Birch เป็นโปรดิวเซอร์และ Ronnie James Dio เป็นนักร้องMob Rulesจึงวางขายในเดือน ตุลาคม 1981 ได้รับการตอบรับอย่างดีจากแฟน ๆ แต่จากนักวิจารณ์ก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่.[28] แต่อย่างไรอัลบั้มนี้ก็ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำ[29] และได้อันดับที่20จากชาร์ดของอังกฤษ หลังจากนั้นดิโอออกจากวงในปี 1982

Born Again (1983–84)

[แก้]

โทนี ไอออมมี และ กีเซอร์ บัทเลอร์ เริ่มออดิชันนักร้องที่จะมาเป็นรุ่นถัดไป คือสมาชิกของวง Samson นิกกี้ มัวร์ และอีกคน เป็นสมาชิกของวงLone Star John Sloman แต่ทั้งสองเห็นว่า Ian Gillan จากวง Deep Purple ควรมาแทน ดิโอ ในเดือนธันวาคม 1982 พวกเขาจึงเริ่มบันทึกอัลบั้มใหม่ที่ The Manor Studio ใน Shipton-on-Cherwell เดือนมิถุนายน 1983 และอดีตมือกลอง Bill Ward ก็กลับมาเล่นให้กับวงอีกครั้ง อัลบั้มBorn Againจึงเสร็จสมบูรณ์ แม้จะได้คำวิจารณ์ในเชิงลบ แต่มันก็ได้อันดับที่4ในชาร์ดของอังกฤษ และที่39ในสหรัฐฯ[30] ถึงแม้บิล วอร์ดจะกลับมาเล่นกลองอีกครั้ง แต่เขาก็ไม่สามารถร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับวงได้เพราะได้รับแรงกดดันจากต้นสังกัด เขาจึงลาออกจากวงอีกครั้ง และแทนที่โดย Bev Bevan

Seventh Star (1984–86)

[แก้]

หลังจบการทัวร์ Born Again tour ในเดือน มีนาคม 1984 เอียน กิลแลนก็กลับมาทำงานอีกครั้ง หลังจาก ที่เขาไปร่วมงานกับ ดีฟ เพอร์เพิล และออกจากวงในภายหลัง พวกเขาเก็บตัวเพื่อซ้อมและเขียนอัลบั้มใหม่ และที่สุดก็บันทึกเทปเดโมกับโปรดิวเซอร์ Bob Ezrin ในเดือนตุลาคม ในช่วงนั้นถือว่าเป็นช่วงที่ตกต่ำของวงเลยทีเดียว.[16] กีเซอร์ บัทเลอร์ มือเบสของวงก็ลาออกเพื่อสร้างวงของตัวเองใหม่ ในเดือนพฤศจิกายน 1984 หลังจากที่ บัทเลอร์ ออกจากวงไปก็เหลือเพียงโทนี ไอออมมี ในวงแบล็กแซ็บาธ เขาเริ่มทำอัลบั้มเดี่ยวกับ Geoff Nicholls มือคีย์บอร์ด ในขณะนั้นเองแบล็กแซ็บบาธ ก็ถูกเชิญให้ไปร่วมแสดงคอนเสิร์ต Live Aid ที่ฟิลาเดลในวันที่ 13 กรกฎาคม 1985[14]เป็นช่วงการกลับมารวมตัวของวง The Who และ Led Zeppelin หลังจากปี 1978[31] เวลาที่เหลือในปีนั้นทางวงได้ใช้มันเพื่อบันทึกอัลบั้มSeventh Star Warner Bros ปฏิเสธให้โทนี ไอออมมีออกอัลบั้มเดี่ยว แต่ให้ใช้ชื่อ แบล็กแซ็บบาธ อัลบั้มนี้จึงออกวางขายในเดือน มกราคม 1986.[32] โทนี ไอออมมีได้รับการยืนยันให้ทำอัลบั้มเดี่ยวภายใต้ชื่อแบล็กแซ็บบาธ และเป็นอัลบั้มของแบล็กแซ็บบาธ

The Eternal Idol, Headless Cross และ TYR (1986–90)

[แก้]

แบล็กแซ็บบาธ เริ่มทำอัลบั้มใหม่ในช่วงตุลาคม 1986 ที่Air Studios ใน Montserrat โปรดิวเซอร์โดย Jeff Glixman ในช่วงบันทึกอัลบั้มก็เกิดปัญหา หลังการประชุมกับ Glixman และแทนที่ด้วย Vic Coppersmith-Heaven และมือเบส Dave Spitz ก็ลาออกเพราะปัญหาส่วนตัว แทนที่ด้วยอดีตมือเบสจากวงเรนโบว์ Bob Daisley แล้วเริ่มเขียนเพลงขึ้มมาใหม่ แต่ก่อนที่จะเขียนเสร็จ Gary Moore ก็กลับมาร่วมงานกับวงอีกครั้ง พร้อมกับ Eric Singer มือกลองคนใหม่ของวง[16] หลังจากที่เกิดปัญหากับโปรดิวเซอร์ทั้งสองคน ทางวงก็กลับไปที่มอร์แกนสตูดิโอในเดือนมกราคม 1987 ได้โปรดิวเซอร์คนใหม่มาร่วมงานคือ Chris Tsangarides ขณะที่ทำงานอยู่ในอังกฤษ นักร้องนำของวง Ray Gillen ก็ออกจากวง และแทนด้วย Tony Martin หลังเกือบปีในการทำอัลบั้ม The Eternal Idol เปิดตัวเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 1987 หลังจากปล่อยอัลบั้มนี้ ออมิวสิกให้ความเห็นว่า โทนี มาติน มีเสียงร้องที่ทรงพลัง สำหรับวง และ สำหรับอัลบั้ม "มีประสิทธิภาพมากกว่าที่ผ่าน ๆ มา" [33] อัลบั้มนี้ได้อันดับที่ 66 จากชาร์ดในอังกฤษ และ 168 จากชาร์ดของ สหรัฐฯ[30] และการโปรโมตอัลบั้มในเยอรมัน อิตาลี ครั้งแรกใน กรีซ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ เพราะไม่มีผู้สนันสนุน การทัวร์ในยุโรปจึงถูกยกเลิก [34] มือเบส Dave Spitz ก็ลาออกจากวงและแทนที่ด้วย Virginia Wolf, หลังจากการโปรโมตอัลบั้ม The Eternal Idol เสร็จ แบล็กแซ็บบาธก็ถูกต้นสังกัด Vertigo Records และ Warner Bros ไล่ออก และจดสัญญากับสังกัดของ I.R.S. Records[14] และเริ่มทำอัลบั้มใหม่ในเดือนสิงหาคม 1988 จากการประสบปัญหาจากอัลบั้ม Eternal Idol โทนี ไอออมมี จึงต้องผลิตอัลบั้มต่อไปด้วยตัวเอง และแล้วอัลบั้ม Headless Cross ก็ปล่อยวางขายในช่วงเดือน เมษายน 1989 และไม่สนความเห็นใด ๆ ของนักวิจารณ์ ในที่สุด ออมิวสิกก็ให้คะแนนอัลบั้มนี้4ดาว และให้ความเห็นว่า"เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดโดยไม่มี ออสซี หรือ ดิโอ".[35] และซิงเกิล"Headless Cross"ก็ได้อันดับ62 และอัลบั้มได้อันดับที่31จากชาร์ดของอังกฤษ ส่วนในสหรัฐฯได้อันดับที่ 115[30] และการทัวร์อัลบั้ม Headless Cross ก็เริ่มในเดือน พฤษภาคม 1989 ที่สหรัฐฯแต่ก็ยกเลิก.[14] และเริ่มทัวร์ในยุโรปในเดือน กันยายน ในเดือน กุมภาพันธ์ 1990 แบล็กแซ็บบาธ กลับไปที่สตูดิโอเพื่อทำอัลบั้ม TYRและออกวางขายวันที่ 6 สิงหาคม 1990 อัลบั้มนี้ติดอันดับ 24 บนชาร์ดของอังกฤษ แต่ไม่ติดอันดับของ Billboard 200 ในสหรัฐฯ[30]

Dehumanizer (1990–92)

[แก้]

หลังจาก Lock Up The Wolves ทัวร์ที่สหรัฐฯในเดือนสิงหาคม 1990 Ronnie James Dio อดีตนักร้องของวงกลับมาร่วมวงพร้อมกับมือเบส Geezer Butler, บัทเลอร์โน้มน้าวให้ไอออมมีให้ไล่ โทนี มาร์ติน และ มือเบส นีล เมอเรย์ ออกจากวง รอนนี เจมส์ ดิโอ และ กีเซอร์ บัทเลอร์ ร่วมวงกับ ไอออมมี และ โคซี โพเวล ในปี 1990 เพื่อทำอัลบั้มใหม่ แต่โคซี ได้รับบาดเจ็บที่สะโพกอัลบั้มใหม่จึงหยุดชะงัก และแทนที่ด้วย Vinny Appice โดยมี Reinhold Mack เป็นโปรดิวเซอร์ อัลบั้ม Dehumanizer จึงเกิดขึ้นหลังเขียนเสร็จก็วางขายในวันที่ 22 มิถุนายน 1992 ในสหรัฐอเมริกามีอัลบั้มได้รับการเปิดตัววันที่ 30 มิถุนายน 1992 โดยค่าย Reprise Records อัลบั้มนี้ติดขึ้นอันดับที่44ใน Billboard 200[16] อัลบั้มนี้ยังมีเพลงที่โดดเด่นคือ "Time Machine" ถูกใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ Wayne's World และการที่แฟนเพลงรู้แนวทางที่แท้จริงของวงทำให้วงได้รับกระแสนิยมที่ดี ดิโอ ลาออกจากวงหลังแสดงที่ แคริฟอเนีย เมื่อวันที่13 พฤศจิกายน 1992 หลังจากนั้นก็แทนที่ด้วยนักร้องจากวง Judas Priest Rob Halford ในช่วงท้ายของการแสดงคอนเสิร์ต[36] ไอออมมี และ บัทเลอร์ ได้ร่วมกับ ออสซี ออสบอร์น และ บิล วอร์ด ตั้งแต่ปี 1985 ในงานLive Aid การแสดงชุดสั้น ๆ กับงานเพลงของแบล็กแซ็บบาธ

Cross Purposes และ Forbidden (1993–96)

[แก้]

Vinny Appice มือกลองก็ลาออกเพื่อไปร่วมวงกับ ดิโอ ในอัลบั้ม Strange Highways และ Angry Machines ไอออมมี และ บัทเลอร์ ขอให้ Bobby Rondinelli มือกลองจากวงเรนโบว์ และ Tony Martin ให้มาเป็นนักร้อง และกลับไปสตูดิโอเพื่อทำอัลบั้มใหม่ ภายใต้แรงกดดันจากต้นสังกัด อัลบั้มที่สิบเจ็ดของพวกเขาก็เสร็จ Cross Purposes ออกวางขายวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1994 ออมิวสิกให้ความเห็นว่า นับจากอัลบั้ม Born again นี่เป็นการบันทึกอัลบั้มที่แท้จริงของพวกเขา[37] และการทัวร์ Cross Purposes ก็เริ่มขึ้นในเดือน กุมภาพันธ์ ที่อังกฤษในช่วงที่วงทัวร์อยู่ที่ Hammersmith Apollo วันที่ 13 เมษายน 1994 อัลบั้ม Cross Purposes Live ก็ถูกปล่อยวางขาย ในเดือน มิถุนายน 1994 บอบบี รอนดินลี มือกลองก็ลาออกและแทนที่ด้วย บิล วอร์ด หลังสิ้นสุดการทัวร์ กีเซอร์ บัทเลอร์ ก็ออกจากวง เพื่อเข้าร่วมวงGZR และปล่อยอัลบั้ม Plastic Planet ในปี 1995 หลังจากนั้น บิล วอร์ด ก็ออกจากวง Neil Murray จึงมาแทนในตำแหน่งมือเบส และ Cozy Powell มาเล่นกลอง และแล้วForbiddenก็วางขายวันที่ 8 มิถุนายน 1995 แต่ไม่ได้ติดอันดับใด ๆ [38][39] แบล็กแซ็บบาธก็เริ่มทัวร์ ในเดือน มิถุนายน 1995 หลังจากนั้น2เดือน Cozy Powell มือกลอง ก็ออกจากวงเพราะปัญหาด้านสุขภาพ Bobby Rondinelli จึงเข้ามาแทนที่ หลังการแสดงที่เอเชียในเดือน ธันวาคม 1995 ไอออมมีก็ห่างหายไป และทำอัลบั้มเดี่ยวกับ Glenn Hughes อดีตนักร้องของวง ในปี 1997 โทนี ไอออมมี กลับไปรวมตัวกับ ออสซี ออสบอร์น หวังจะนำแบล็กแซ็บบาธให้กลับมาเป็นเหมือนอดีตแต่ก็เป็นในระยะสั้น ๆ

รวมตัวกับ ออสซี ออสบอร์น (1997–2006)

[แก้]
Ozzy Osbourne ในปี 2007.

ในฤดูร้อนของปี 1997 โทนี ไอออมมี, กีเซอร์ บัทเลอร์, ออสซี ออสบอร์น รวมตัวกันอีกครั้งในงาน Ozzfest เป็นการทัวร์ของออสบอร์นช่วงเป็นศิลปินเดี่ยว มิค บอร์ดิน มือกลองของออสบอร์นขึ้นเล่นแทน บิล วอร์ด ที่เขาไม่สามารถขึ้นแสดงได้เพราะ บิล วอร์ด ต้องเล่นให้กับวงของตัวเอง[16]ในเดือนธันวาคมปี 1997 สมาชิกทุกคนของวงก็รวมตัวกับ บิล วอร์ด เพื่อทำอัลบั้มบันทึกการแสดงสด Reunionเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 1998 อัลบั้มนี้ขึ้นอันดับที่11ของBillboard 200, [30]และได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำในอังกฤษ[16][40] จากซิงเกิล"Iron Man"ทำให้แบล็กแซ็บบาธได้รางวัลแกรมมี และได้การยอมรับว่าเป็นวงเฮฟวี เมทัลที่ดีที่สุด ไม่นานแบล็กแซ็บบาธก็เริ่มออกทัวร์ในยุโรปในช่วงฤดูร้อนของปี 1998 แต่ก็เกิดปัญหาเมื่อ บิล วอร์ดต้องออกจากวงเพราะปัญหาด้านสุขภาพ และแทนทีด้วย วินนี แอพไพซ์[41] หลังฤดูร้อนผ่านไปก็เริ่มงาน ozzfest อีกครั้ง หลังจากงาน ozzfest โทนี ไอออมมี ก็ออกอัลบั้มเดี่ยวแรกของเขาIommi ในปี 2000 ในขณะเดียวกัน ออสซีก็ออกอัลบั้ม Down to Earth แบล็กแซ็บบาธกลับไปสตูดิโออีกครั้งเพื่อทำอัลบั้มใหม่ โปรดิวเซอร์คือ "Rick Rubin"ในฤดูใบไม้ผลิของปี 2001 [16] แต่ถูกระงับเพราะออสซีต้องกลับไปทำอัลบัมใหม่ของตัวเอง ช่วงฤดูร้อนของปี 2001 [42] ในเดือน มีนาคม 2002 ออสซี ออสบอร์นได้รับรางวัล รางวัลเอ็มมี จากรายการโทรทัศน์ของตัวเองThe Osbournes ในช่วงเวลานั้นแบล็กแซ็บบาธยังคงเว้นว่างจากการทำอัลบั้มแต่ก็ยังมีงาน ozzfestในปี 2004 และ 2005

The Dio Years และ วง Heaven & Hell (2006–10)

[แก้]

ในขณะที่ออสบอร์ทำอัลบั้มเดียวของตัวเอง"Black Rain" ในปี2006 ค่ายRhino Records ก็ออกอัลบั้มBlack Sabbath: The Dio Years รวบรวมเพลงจากช่วงที่เคยร่วมงานกับRonnie James Dio ออกวางขายวันที่ 3 เมษายน 2007 ได้อันดับที่54จาก Billboard 200 [30] ไอออมมี และ ดิโอพอใจกับผลที่ได้จึงรวมตัวกันสร้างวงใหม่ชื่อว่า Heaven & Hell และวางแผนทัวร์รอบโลก บิล วอร์ดได้เข้าร่วมกับวง Heaven & Hell แต่ต้องออกเพราะปัญหาเรื่องส่วนตัวกับสมาชิก[43]และแทนที่ด้วย วินนี แอพไพซ์ Heaven & Hell เริ่มออกทัวร์ในสหรัฐฯ และบันทึกอัลบั้มในนิวยอร์กวันที่ 30 มีนาคม 2007 อัลบั้ม Live from Radio City Music Hall ในเดือน พฤศจิกายน 2007 ดิโอ วางแผนจะทำสตูดิโออัลบั้มใหม่[44]ซึ่งบันทึกในปีถัดไป, ในปี 2009 พวกเขาก็ออกสตูดิโออัลบั้มใหม่The Devil You Know, วางขายวันที่ 28 เมษายน ในปีเดียวกัน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2010Ronnie James Dioป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและเสียชีวิตลง[45]

กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง (2010–ปัจจุบัน)

[แก้]

ในปี 2011กีเซอร์ บัทเลอร์ และ ออสซี ออสบอร์น มีความคิดที่จะกลับมารวมตัวกันในนามของ แบล็กแซ็บบาธ[46]เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2011 เว็บไซต์ของ MetalTalk ยืนยันว่าแบล็กแซ็บบาธ จะกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง โดยระบุไว้ว่า ออสบอร์น, ไอออมมี, บัทเลอร์ ประชุมกัน วันที่ 1 สิงหาคม และ 15 สิงหาคมเพื่อหาวันที่จะกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง และแล้วพวกเขาก็กลับมารวมตัวกันในปี 2012 ในงาน Download Festival พวกเขากล่าว่าคิดจะทำอัลบั้มใหม่ในช่วงปลายปี 2012[47] เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2012 บิล วอร์ดแถลงข่าวว่า เขาจะไม่เข้าร่วมกับวงแบล็กแซ็บบาธ เนื่องจากเขาได้รับค่าตัวราคาต่ำ สมาชิกทุกคนจึงต้องดำเนินงานโดยที่ไม่มี บิล วอร์ด ในเดือน กุมภาพันธ์ 2012 การแสดงครั้งแรกของการกลับมารวมวงกันที่งาน Download Festival วันที่ 10 มิถุนายน 2012 พร้อมกับการทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลกตามที่วางแผนไว้ และกำลังเตรียมทำอัลบั้มใหม่กับโปรดิวเซอร์ Rick Rubin คาดว่าจะเสร็จในช่วงปลายปี 2012[47] ในวันที่ 9 มกราคม 2012 โทนี ไอออมมี ได้รับการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะแรก[48]แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน วันที่ 15 พฤษภาคม 2012 บิลวอร์ดโพสต์ข้อความบนเว็บไซต์ของเขาว่าได้พยายามเข้าร่วมกับวงแต่ได้รับการปฏิเสธ และแทนที่ด้วย Tommy Clufetos วันที่ 20 สิงหาคม 2012 Black Sabbath กลับไปสตูดิโอเพื่อบันทึกอัลบั้มใหม่[49]

สมาชิก

[แก้]
สมาชิกปัจจุบัน
  • Tony Iommi – กีตาร์ (1969–2006, 2011–2017)
  • Ozzy Osbourne – ร้องนำ (1969–1977, 1978–1979, 1985, 1997–2006, 2011–2017)
  • Geezer Butler – เบส (1969–1985, 1987, 1990–1994, 1997–2006, 2011–2017)

สมาชิกระหว่าออกทัวร์

[แก้]
  • Adam Wakeman – คีย์บอร์ด, กีตาร์ (2004–2006, 2012–2017)
  • Tommy Clufetos – กลอง (2012–2017)

ผลงาน

[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม

[แก้]

อัลบั้มบันทึกการแสดงสด

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Rolling Stone review of Sabbath Bloody Sabbath 1974". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-30. สืบค้นเมื่อ 24 January 2009.
  2. "RIAA Top Selling Artists". สืบค้นเมื่อ February 7, 2009.
  3. "Black Sabbath Is Back". Black Sabbath. 11 November 2011.
  4. McIver, Joel. Black Sabbath: Sabbath Bloody Sabbath. Music Sales Group. p. 22-26. ISBN 0-857-12028-X.
  5. "Heavy Metal Timeline – Important Heavy Metal Events – Timeline Of Heavy Metal". Heavymetal.about.com. 2011-03-10. สืบค้นเมื่อ 2011-07-04.
  6. "VH1: 100 Greatest Hard Rock Artists: 1–25". Rock On The Net. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
  7. Osbourne, Ozzy; Ayres, Chris. I Am Ozzy. Grand Central Publishing. p. 84. ISBN 0446569895. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  8. Dwyer, Robert. Timeline "Black Sabbath Live Project – Beginnings". Sabbathlive.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-20. สืบค้นเมื่อ 9 December 2007. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  9. Siegler, Joe. "Black Sabbath Online: Band Lineup History". Blacksabbath.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-20. สืบค้นเมื่อ 9 December 2007.
  10. Gill, Chris (December 2008). "The Eternal Idol". Guitar World.
  11. "Melody Maker 21 December 1968". Melody Maker Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-04. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.
  12. Charles Strong, Martin (2006). The Essential Rock Discography. Vol. 1 (8 ed.). Canongate. p. 97. ISBN 1841958603.
  13. Wilson, Dave (2004). Rock Formations: Categorical Answers to How Band Names Were Formed. Cidermill Books. p. 51. ISBN 0974848352.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Sharpe-Young, Garry. "MusicMight.com Black Sabbath Biography". MusicMight.com.
  15. "Black Sabbath Biography | The Rock and Roll Hall of Fame and Museum". Rockhall.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-21. สืบค้นเมื่อ 4 July 2011.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 Ruhlmann, William. "AMG Biography". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.
  17. 17.0 17.1 "Rolling Stone Biography". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-22. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.
  18. Erlewine, Stephen Thomas. "AMG Master of Reality Review". Allmusic.com. สืบค้นเมื่อ 18 February 2008.
  19. Rosen 1996, p. 73
  20. "RIAA Gold & Platinum database-Vol. 4". สืบค้นเมื่อ 22 February 2009.
  21. Rosen 1996, p. 7 9
  22. Fletcher, Gordon (February 1974). "Sabbath, Bloody Sabbath Album Review". Rolling Stone Magazine #154, 14 February 1974. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-30. สืบค้นเมื่อ 25 February 2008.
  23. %20BLOODY%20SABBATH&artist=Black%20Sabbath&format=&debutLP=&category=&sex=&releaseDate=&requestNo=&type=&level=&label=&company=&certificationDate=&awardDescription=&catalogNo=&aSex=&rec_id=&charField=&gold=&platinum=&multiPlat=&level2=&certDate=&album=&id=&after=&before=&startMonth=1&endMonth=1&startYear=1958&endYear=2009&sort=Artist&perPage=25 "RIAA Gold & Platinum database-Sabbath Bloody Sabbath". สืบค้นเมื่อ 22 February 2009. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  24. Prato, Greg. "Technical Ecstasy AMG Review". Allmusic.com. สืบค้นเมื่อ 17 March 2008.
  25. Rosen 1996, pp. 93–94
  26. Rivadavia, Eduardo. "Never Say Die! AMG Review". Allmusic.com. สืบค้นเมื่อ 27 February 2008.
  27. Prato, Greg. "AMG Heaven and Hell Review". Allmusic.com. สืบค้นเมื่อ 29 February 2008.
  28. Considine, J. D. "Rolling Stone Mob Rules Review". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 29 February 2008.
  29. "RIAA Gold & Platinum database-Mob Rules". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 22 February 2009.
  30. 30.0 30.1 30.2 30.3 30.4 30.5 "Chart History". Billboard. สืบค้นเมื่อ 29 November 2009.
  31. Kaufman, Gil (29 June 2005). "Live Aid: A Look Back at a Concert That Actually Changed the World". MTV Networks. สืบค้นเมื่อ 24 April 2009.
  32. Ann Vare, Ethlie (8 March 1986). "Sabbath's 'Seventh Star' Spotlights Iommi". Billboard. Los Angeles: Nielsen Business Media. 98 (10):  47. ISSN 0006-2510. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  33. Rivadavia, Eduardo. "AMG Eternal Idol Review". Allmusic.com. สืบค้นเมื่อ 10 March 2008.
  34. Dwyer, Robert. "Sabbath Live Timeline 1980s". SabbathLive.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-11. สืบค้นเมื่อ 10 March 2008.
  35. Rivadavia, Eduardo. "Headless Cross AMG review". Allmusic.com. สืบค้นเมื่อ 10 March 2008.
  36. Henderson, Tim. "Rob Halford Reminisces About Covering For OZZY!". BraveWords.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-24. สืบค้นเมื่อ 17 March 2008.
  37. Torreano, Bradley. "AMG Cross Purposes Review". Allmusic.com. สืบค้นเมื่อ 18 March 2008.
  38. "Billboard Black Sabbath album chart history". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-03. สืบค้นเมื่อ 20 March 2008.
  39. "Every Hit.com UK Black Sabbath album chart history". EveryHit.com. สืบค้นเมื่อ 20 March 2008.
  40. "RIAA Gold & Platinum database-Reunion". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 22 February 2009.
  41. "HEAVEN AND HELL Drummer: RONNIE JAMES DIO Is 'Singing Better Than He Has Ever Sung'". Blabbermouth.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-02. สืบค้นเมื่อ 8 April 2008.
  42. Saraceno, Christina. "Sabbath Scrap Disturbed Dates". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-17. สืบค้นเมื่อ 8 April 2008.
  43. Russell, Tom (20 February 2010). "Ward On Quitting Heaven & Hell: I Was Uncomfortable With Some Things Surrounding The Project". Blabbermouth. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-22. สืบค้นเมื่อ 21 February 2010.
  44. Elliott, Mike. "Komodo Rock Talks With Ronnie James Dio". Komodorock.com. สืบค้นเมื่อ 8 April 2008.
  45. Sisario, Ben (16 May 2010). "Ronnie James Dio, Rock Vocalist, Dies at 67". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 21 October 2011.
  46. "Blog Archive ? Geezer Butler: No Black Sabbath Reunion In 2011". Metal Hammer. 10 December 2010. สืบค้นเมื่อ 4 July 2011.
  47. 47.0 47.1 Baltin, Steve (11 November 2011). "Black Sabbath Announce New Album Produced by Rick Rubin". Rolling Stone. Wenner Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 11 November 2011.
  48. "BBC News - Tony Iommi to undergo treatment for lymphoma". BBC News. 9 January 2012.
  49. https://twitter.com/GZRMusic/status/237598810912718848

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]