บีเลอเฟ็ลท์
บีเลอเฟ็ลท์ | |
---|---|
บีเลอเฟ็ลท์มองจากปราสาทชปาเรินแบร์ค | |
พิกัด: 52°01′16″N 08°32′05″E / 52.02111°N 8.53472°E | |
ประเทศ | เยอรมนี |
รัฐ | นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน |
จังหวัด | เด็ทม็อลท์ |
อำเภอ | นครนอกอำเภอ |
ก่อตั้ง | 1214 |
เขตการปกครอง | 10 อำเภอ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี (2020–25) | Pit Clausen[1] (SPD) |
พื้นที่ | |
• นคร | 257.8 ตร.กม. (99.5 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 118 เมตร (387 ฟุต) |
ประชากร (2020-12-31)[2] | |
• นคร | 333,509 คน |
• ความหนาแน่น | 1,300 คน/ตร.กม. (3,400 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 591,862 คน |
เขตเวลา | UTC+01:00 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+02:00 (CEST) |
รหัสไปรษณีย์ | 33501-33739 |
รหัสโทรศัพท์ | 0521, 05202-05209 |
ทะเบียนพาหนะ | BI |
เว็บไซต์ | Welcome to Bielefeld |
บีเลอเฟ็ลท์ (เยอรมัน: Bielefeld, ออกเสียง: [ˈbiːləfɛlt] ( ฟังเสียง)) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน ประเทศเยอรมนี มีฐานะเป็นนครนอกอำเภอ (kreisfreie Stadt) ตามการบริหารเขตปกครองของเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐ ปัจจุบันมีประชากร 341,755 คน[3] ถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่แปดของรัฐ การตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9[4] และถูกกล่าวถึงในฐานะเมืองครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1214 บีเลอเฟ็ลท์เคยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยลินินมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันเป็นเมืองอุตสาหกรรมด้านอาหาร สิ่งทอ เครื่องพิมพ์ และเครื่องจักรกล มีมหาวิทยาลัยหลักคือมหาวิทยาลัยบีเลอเฟ็ลท์ นอกจากนี้ยังเป็นบ้านของสโมสรฟุตบอลอาร์มีนีอาบีเลอเฟ็ลท์ ซึ่งลงเล่นในลีกระดับสองของประเทศ บีเลอเฟ็ลท์ยังเป็นที่รู้จักจากเรื่องสมคบคิดบีเลอเฟ็ลท์ที่อังเกลา แมร์เคิลเคยพูดเป็นนัยถึง
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูมิประเทศ
[แก้]บีเลอเฟ็ลท์ตั้งอยู่บริเวณสันปันน้ำระหว่างแม่น้ำเวเซอร์กับแม่น้ำเอมส์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมืองสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่ราบสลับกับเนินเขาเตี้ย ส่วนหนึ่งของแอ่งราเวนส์แบร์ก ซึ่งครอบคลุมทิศเหนือ ทิศตะวันออก และใจกลางเมือง ทิศตะวันตกเป็นแนวภูเขาทอดยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ป่าทอยโตบูร์ก แนวภูเขาดังกล่าว ช่วงที่ผ่านใกล้ใจกลางเมืองมีลักษณะเป็นช่องระหว่างภูเขา มีชื่อทางภูมิศาสตร์ว่า ช่องบีเลอเฟ็ลท์ ในเขตเทศบาลบรัคเวเดอ ถือเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญทางหนึ่งที่รองรับการจราจรจากทิศตะวันตก ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของเทือกเขา พื้นที่ทิศใต้ของเมืองในเขตเทศบาลเซ็นเนอและเซ็นเนอชตัดท์เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบต่ำเวสฟาเลิน ซึ่งมีธรรมชาติที่โดดเด่นคือ ประกอบด้วยไม้พุ่มเตี้ยกระจายอยู่ทั่วไป และพื้นดินเป็นตะกอนทรายจากยุคน้ำแข็งจำนวนมาก
แหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ คลองลุทเทอร์บาค (ความยาว 12 กิโลเมตร[5]) เป็นลำธารสายเล็ก ๆ ไหลผ่านพื้นที่ใจกลางเมือง ด้วยเหตุนี้ในวรรณคดีบางชิ้นได้พรรณนาว่าบีเลอเฟ็ลท์ตั้งอยู่ริมน้ำลุทเทอร์ ("am Lutterbach liegen")[6] คลองดังกล่าวกำเนิดจากการแตกสาขาของแม่น้ำลุทเทอร์ (ความยาว 26 กิโลเมตร[5]) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ในเขตเควลเลอ และไหลไปสู่เมืองกือเทอร์สโล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบีเลอเฟ็ลท์
พื้นที่ทางเหนือของเมืองมีภูมิประเทศเป็นเนินคล้ายลูกคลื่น ครอบคลุมบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอ่งราเวนส์แบร์ก ประกอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรม ทุ่งหญ้า ลำธาร และแม่น้ำสายเล็ก แหล่งน้ำที่สำคัญคือ อ่างเก็บน้ำโอเบอร์เซ (พื้นที่ 20 เฮกตาร์) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำธารโยฮันนิสบาค ถือเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดของบีเลอเฟ็ลท์ เมื่อมองภาพรวมของเส้นทางน้ำจะสังเกตได้ว่า แหล่งน้ำที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบีเลอเฟ็ลท์จะไหลลงแม่น้ำอา (Aa) ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเวเซอร์ ส่วนแหล่งน้ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะไหลลงแม่น้ำเอมส์ โดยมีสันปันน้ำเป็นเทือกเขาของป่าทอยโตบูร์กตั้งอยู่กึ่งกลาง ป่าดังกล่าวยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองบีเลอเฟ็ลท์ มีเส้นทางเดินธรรมชาติหลายแห่ง[7]
ตำแหน่งที่สูงที่สุดของเมืองคือเนินเขาอัฟเดมโพลเลอ (Auf dem Polle) ในเขตเลเมอร์สฮาเกน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมือง มีความสูง 320 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล จุดต่ำสุดอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือในเขตบราเกอ ริมแม่น้ำอา เขตติดต่อเมืองแฮร์ฟอร์ด สูง 71 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ส่วนใจกลางเมือง ณ ศาลากลางเมืองบีเลอเฟ็ลท์สูงจากระดับน้ำทะเลราว 114 เมตร นอกจากนี้เส้นละติจูดที่ 52 องศาเหนือยังตัดผ่านพื้นที่เมือง ซึ่งมีหลักหินแสดงไว้
บีเลอเฟ็ลท์ตั้งอยู่ในเขตชุมชนเมืองแห่งหนึ่งที่มีความหนาแน่นประชากรสูง เขตชุมชนเมืองนี้ตั้งขนานไปกับทางพิเศษออโตบาห์นหมายเลข 2 เริ่มตั้งแต่เมืองกือเทอร์สโล บีเลอเฟ็ลท์ แฮร์ฟอร์ด สิ้นสุดที่เมืองมินเดิน เมืองใหญ่แห่งอื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงบีเลอเฟ็ลท์จะแสดงเป็นแผนภาพตามทิศ ดังนี้
พื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
[แก้]บีเลอเฟ็ลท์มีพื้นที่ 257.91 ตารางกิโลเมตร จัดเป็นเมืองใหญ่ขนาดเล็ก[8] (เยอรมัน: kleine Großstadt) ส่วนที่กว้างที่สุดตามแนวทิศเหนือ-ใต้ และทิศตะวันออก-ตะวันตกยาว 22 กิโลเมตรและ 19 กิโลเมตรตามลำดับ[9] การใช้ประโยชน์ที่ดินของบีเลอเฟ็ลท์แสดงในตารางด้านล่าง[8] โดยบีเลอเฟ็ลท์มีพื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าราวร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับเมืองแห่งอื่นในรัฐที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เขตอนุรักษ์ธรรมชาติมีราวร้อยละ 7.5 ของพื้นที่เมือง[10] และพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดขนาด 2,256 เฮกตาร์ตั้งอยู่ในเขตบีเลอเฟลเดอร์ชตัดท์วัลด์ หรือ "ป่าแห่งเมืองบีเลอเฟ็ลท์"[11]
พื้นที่เรียงตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน | พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) | ร้อยละของพื้นที่ทั้งหมด |
---|---|---|
เกษตรกรรม | 95.75 | 37.13 % |
ป่าไม้ | 52.22 | 20.25 % |
สิ่งปลูกสร้าง พื้นที่ว่าง และอุตสาหกรรม | 70.20 | 27.22 % |
ที่อยู่อาศัย และคมนาคม | 24.89 | 9.65 % |
แหล่งน้ำ | 1.86 | 0.72 % |
กีฬา สันทนาการ และพื้นที่สีเขียว | 11.79 | 4.57 % |
อื่น ๆ | 1.19 | 0.46 % |
การแบ่งเขตปกครอง
[แก้]เมืองบีเลอเฟ็ลท์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เทศบาล (Stadtbezirk) แต่ละเขตมีสภาผู้แทนเทศบาล (Bezirksvertretung) สมาชิกสภาผู้แทนเทศบาลมีจำนวนสูงสุด 19 คน ซึ่งได้จากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเทศบาลนั้น ๆ แต่ละเขตมีนายกเทศมนตรี (Bezirksbürgermeister) เป็นของตนเอง ปัจจุบันผู้คนยังนิยมใช้เขตย่อย (Stadtteil) ซึ่งเล็กกว่าเทศบาล เพื่อระบุตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ใด ๆ ในบีเลอเฟ็ลท์ ถึงแม้ว่าทางราชการจะไม่ใช้การแบ่งเขตปกครองระดับเขตย่อยแล้ว และบ่อยครั้งที่ชื่อของเขตย่อยตรงกับชื่อเดิมของพื้นที่ในสมัยที่ยังเป็นชุมชนอิสระก่อนการยุบรวมเข้ากับบีเลอเฟ็ลท์ในช่วงปี พ.ศ. 2473–2516 ตามกฎหมายบีเลอเฟ็ลท์ เขตเทศบาลทั้ง 10 แห่งของบีเลอเฟ็ลท์มีดังนี้
|
|
|
แต่ละเทศบาลยังแบ่งออกเป็นเขตย่อย ดังนี้ (ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนเขตย่อย)
เทศบาลฮีพเพิน (7)
|
เทศบาลดอร์นแบร์ก (6)
|
เทศบาลชตีกฮอร์สท์ (5)
|
เทศบาลบรัคเวเดอ (4)
|
เทศบาลเซ็นเนอชตัดท์ (4)
|
เทศบาลเยิลเลินเบ็ค (3)
|
เทศบาลชิลเดชเชอ (3)
|
เทศบาลเซ็นเนอ (3)
|
เทศบาลกัดเดอร์เบาม์ (2)
|
เทศบาลมิทเทอ (0) |
เมืองพี่น้อง
[แก้]บีเลอเฟ็ลท์มีเมืองพี่น้องดังนี้:[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wahlergebnisse in NRW Kommunalwahlen 2020, Land Nordrhein-Westfalen, accessed 19 June 2021.
- ↑ "Bevölkerung der Gemeinden Nordrhein-Westfalens am 31. Dezember 2020". Landesbetrieb Information und Technik NRW (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2021.
- ↑ "Aktuelle Einwohnerzahlen". Bielefeld.de. 31 December 2021. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
- ↑ bi-info.de
- ↑ 5.0 5.1 Topographisches Informationsmanagement, Bezirksregierung Köln, Abteilung GEObasis NRW เก็บถาวร 2012-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เยอรมัน)
- ↑ Walter Vollmer: Westfälische Städtebilder. Bertelsmann Verlag, Gütersloh 1963, Bielefeld,Soll und Haben, หน้า 56. (เยอรมัน)
- ↑ Homepage der Stadt Bielefeld, Natur und Landschaft เก็บถาวร 2016-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เยอรมัน)
- ↑ 8.0 8.1 Landesamt für Datenverarbeitung und Statistik Nordrhein-Westfalen. PDF "Kommunalprofil Langfassung" (ภาษาเยอรมัน).
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "Homepage der Stadt Bielefeld, Geographie" (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.
- ↑ "Homepage der Stadt Bielefeld, Naturschutzgebiete" (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-26. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.
- ↑ Umweltbetrieb der Stadt Bielefeld. "Stadt Bielefeld - Bielefelder Stadtwald" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-03. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.
- ↑ "Städtepartnerschaften". bielefeld.de (ภาษาเยอรมัน). Bielefeld. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-02. สืบค้นเมื่อ 10 February 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บีเลอเฟ็ลท์