บาหลีอากา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bali Aga)
บาหลีอากา
Suku Bali Aga
Suku Bali Mula
ชาวบาหลีอากาในเติงกานัน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
บ้านกินตามานี จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
ภาษา
สำเนียงบาหลีอากา, อินโดนีเซีย
ศาสนา
ฮินดูพื้นบ้าน, ฮินดูแบบบาหลี, นับถือผี
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
บาหลี, ชวา, มาดูรา

บาหลีอากา (อินโดนีเซีย: Suku Bali Aga) หรือ บาหลีมูลา (อินโดนีเซีย: Suku Bali Mula) แปลว่า "ชาวบาหลีดั้งเดิม"[3] เป็นชนพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย

ประวัติ[แก้]

ตำนานมุขปาฐะของชาวบาหลีอากามักกล่าวว่าพวกเขาอาศัยอยู่หมู่บ้านเบอดูลู (Bedulu) บนเกาะบาหลีก่อนคลื่นการอพยพของชาวฮินดูจากชวา โดยตำนานกล่าวถึงกษัตริย์ซรี อาจี อาซูรา บูมีบันเติน (Sri Aji Asura Bumibanten) กษัตริย์แห่งเปอเจิง (Pejeng) ทรงมีพลังเหนือธรรมชาติ[4] ทรงถอดพระเศียรออกได้โดยไม่ทรงเจ็บปวดและสามารถสวมกลับไปได้อย่างเดิม แต่อยู่มาวันหนึ่งพระเศียรของพระองค์เกิดอุบัติเหตุตกลงไปในน้ำแล้วถูกกระแสน้ำซัดหายไป ขุนนางคนหนึ่งตกใจและแก้ปัญหาด้วยการบั่นหัวหมูมาสวมให้แทนพระเศียร องค์กษัตริย์ทรงละอายพระทัยนักที่มีพระพักตร์เป็นหมู จึงมีโองการเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ และทรงเก็บตัวในปราสาทสูงมิให้ผู้ใดมาเข้าเฝ้าอีก จนกระทั่งมีเด็กคนหนึ่งมาทราบความจริง จนพระองค์เป็นที่รู้จักว่า "ผู้เปลี่ยนหัว" หรือ ดาเลิมเบอดูลู (Dalem Bedulu) อันเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้นเบอดูลูหรือที่แปลว่า "บ้านต้นน้ำ"[5] ส่วนอาณาจักรเปอเจิงนั้นก็สูญอำนาจหลังจักรวรรดิมัชปาหิตมีชัย

วัฒนธรรม[แก้]

ชาวบาหลีอากาอาศัยปลีกตัวอย่างโดดเดี่ยวบนยอดเขาที่ห่างไกล ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวออสโตรนีเชียนโบราณเอาไว้ได้ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมแบบบาหลีอากา นักท่องเที่ยวที่เข้าไปควรระมัดระวังสภาพภูมิศาสตร์ ควรแสดงความเคารพและไม่ควรส่งเสียงดังในพื้นที่ประชุมชนของชาวบาหลีอากา[6] ปัจจุบันชาวบาหลีอากาได้รับอิทธิพลฮินดูจากชาวบาหลี เช่นการนับถือพระพรหม แต่กระนั้นผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านยังคงเป็นผู้นำประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของตนเอง โดยมีปุโรหิตเรียกว่า มังกู (mangku) ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา[7]

ในหมู่บ้านเติงกานัน (Tenganan) มีกฎสำคัญคือห้ามมีการหย่าร้างกัน และมีธรรมเนียมว่าสามีสามารถมีภรรยาได้หลายคน ต่างจากหมู่บ้านบาหลีอากาอื่น ๆ[8]

ภาษา[แก้]

ชาวบาหลีอากาพูดภาษาบาหลีแบบท้องถิ่น แต่ละหมู่บ้านเองก็มีสำเนียงแตกต่างกันออกไปเช่น ภาษาของบ้านเติงกานัน (Tenganan) จะพูดไม่เหมือนบ้านตรุนยัน (Trunyan)

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Bali Aga: The original inhabitants of Bali". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-25.
  2. "Baliaga, Highland Bali in Indonesia". Joshua Project. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Keith MacKenzie (2 เมษายน 2557). "Bali Aga and Toraja: Living links to history". Nezara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Mischa Loose (2012). Bali, Lombok. DuMont Reiseverlag. ISBN 37-701-6713-9.
  5. "Bedulu village". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-08. สืบค้นเมื่อ 2017-02-11.
  6. Sigit Wahyu (3 January 2015). Ni Luh Made Pertiwi F (บ.ก.). "Menjaga "Geopark" Kaldera Danau Batur". Kompas. สืบค้นเมื่อ 2016-11-14.
  7. Theodora Sutcliffe (29 มิถุนายน 2560). "Bali Aga village with a magic tree". BBC. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "Different cultural insights in Bali's Tenganan village". The Jakarta Post. 10 November 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.