แผ่นดินไหวในจี๋จี๋ พ.ศ. 2542
เวลาสากลเชิงพิกัด | 1999-09-20 17:47:16 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 1718616 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 21 กันยายน 1999 |
เวลาท้องถิ่น | 01:47:12 น. เวลาท้องถิ่นไต้หวัน |
ขนาด | 7.7 Mw 7.3 ML 6.5 mb[1] |
ความลึก | 33 กิโลเมตร (20.5 ไมล์) |
ศูนย์กลาง | จี๋จี๋ เทศมณฑลหนานโถว ไต้หวัน 23°46′19″N 120°58′55″E / 23.772°N 120.982°E |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | ไต้หวัน |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | X (อนุภาพรุนแรง)
[1] ชินโดะ 6+ [1] |
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน | 1.92 g[2] |
ความเร็วสูงสุด | 318 cm/s[3] |
ผู้ประสบภัย | เสียชีวิต 2,415 คน สูญหาย 29 คน บาดเจ็บ 11,305 คน สิ่งปลูกสร้างพัง 51,711 แห่ง สิ่งปลูกสร้างเสียหาย 53,768 แห่ง |
แผ่นดินไหวใหญ่จี๋จี๋ (จีน: 集集地震; พินอิน: Jíjí dìzhèn; เวด-ไจลส์: Chi2-Chi2 Ti4-chên4) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2542 เวลา 01:47 น. ตามเวลาในประเทศไต้หวัน (UTC+08:00) ซึ่งวันที่ดังกล่าวเป็นที่มาของอีกชื่อหนึ่งคือ แผ่นดินไหวใหญ่ 921 (九二一大地震; Jiǔ-èr-yī dàdìzhèn) จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในตำบลจี๋จี๋ เทศมณฑลหนานโถว ตอนกลางของประเทศไต้หวัน ห่างจากทะเลสาบสุริยันจันทราไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 9.2 กิโลเมตร หน่วยงานธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (USGS) วัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ 7.6–7.7 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 8 กิโลเมตร
แผ่นดินไหวทำให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เทศมณฑลหนานโถวและไถจง (ปัจจุบันคือนครไถจง) ตอนกลางของประเทศ มีสิ่งปลูกสร้างพังถล่มนับได้กว่า 50,000 แห่ง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,400 รายและบาดเจ็บกว่า 11,000 ราย ในจำนวนนี้ในกรุงไทเป เมืองหลวงของไต้หวัน มีผู้เสียชีวิต 87 ราย[4]
แผ่นดินไหว
[แก้]แผ่นดินไหวขนาด 7.6 Mw หรือขนาด 7.3 ตามมาตราริกเตอร์ ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวที่ทำความเสียหายให้กับประเทศไต้หวันมากที่สุดนับตั้งแต่แผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ. 1935 ขนาด 7.1 Mw ในพื้นที่ซินจู๋–ไถจง ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 3,500 ราย แผ่นดินไหวครั้งนี้ได้ปลดปล่อยพลังงานราว 2.1 × 1017 J ใกล้เคียงกับระเบิดไฮโดรเจน "ซาร์บอมบา"[5]
แผ่นดินไหวจี๋จี๋เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณตีสองในขณะที่ผู้คนกำลังหลับใหล รอยเลื่อนเชอหลงปู้ (車籠埔) ทางตะวันตกของเกาะไต้หวัน แตกผ่านสิ่งปลูกสร้างนับร้อยแห่ง เกิดดินถล่มรอบบริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหวหลายพันแห่ง พื้นที่เสียหายหนักที่สุดคือบริเวณภาคกลางของประเทศ ได้แก่ เทศมณฑลไทจุง หนานโถว และยฺหวินหลิน เมืองไทจุงซึ่งมีประชากรราว 1 ล้านคนพบความเสียหายอยู่ทั่วไปทั้งในเขตเมืองและปริมณฑล แรงสั่นสะเทือนรุนแรงยังเคลื่อนไปถึงภาคเหนือของประเทศซึ่งประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นกว่า แผ่นดินไหวได้ทำให้อาคารสูง 2 แห่งในกรุงไทเป เมืองหลวงของไต้หวัน ซึ่งห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวไปทางทิศเหนือราว 150 กิโลเมตร พังราบ[4]
ช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว ประเทศไต้หวันเป็นประเทศที่มีโครงข่ายเครื่องตรวจวัดและสถานีเฝ้าสังเกตแผ่นดินไหวครอบคลุมมากที่สุดในโลก[6] ทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้ "ดีที่สุด" เท่าที่เคยมีมา[7] เครื่องตรวจวัดแห่งหนึ่งสามารถวัดค่าการเคลื่อนที่ของพื้นสูงสุดถึง 3 เมตรต่อวินาที ถือเป็นค่าสูงที่สุดเท่าที่เคยตรวจวัดบนโลก ในเทศมณฑลยฺหวินหลินพบปรากฏการณ์แผ่นดินเหลวที่ทำให้รากฐานอาคารพังทลายและมีทรายเดือดผุดเต็มบ่อน้ำ[7]
แผ่นดินไหวตาม
[แก้]แสดงความรุนแรงของแผ่นดินไหวตามที่สำคัญ
ภายในเวลาเพียง 1 เดือนหลังแผ่นดินไหวหลัก กรมอุตุนิยมวิทยาไต้หวันบันทึกแผ่นดินไหวตามได้กว่า 12,911 ครั้ง[8] แผ่นดินไหวตามขนาดใหญ่ครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน มีขนาด 6.8 ตามมาตราริกเตอร์ ทำให้สิ่งปลูกสร้างบางแห่งที่เสียหายอยู่ก่อนแล้วพังถล่ม เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 3 ราย[9]
วันที่ | เวลาท้องถิ่น (UTC+8) |
พิกัด | ความลึก (กิโลเมตร) |
ขนาด Ms |
อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
21 กันยายน 2542 | 01:57 น. | 23°55′N 121°02′E / 23.91°N 121.04°E | 7.7 | 6.4 | [10] |
21 กันยายน 2542 | 02:03 น. | 23°48′N 120°52′E / 23.80°N 120.86°E | 9.8 | 6.6 | [11] |
21 กันยายน 2542 | 02:16 น. | 23°52′N 121°02′E / 23.86°N 121.04°E | 12.5 | 6.7 | [12] |
21 กันยายน 2542 | 05:46 น. | 23°35′N 120°52′E / 23.58°N 120.86°E | 8.6 | 6.6 | [13] |
22 กันยายน 2542 | 08:14 น. | 23°50′N 121°03′E / 23.83°N 121.05°E | 15.6 | 6.8 | [14] |
22 กันยายน 2542 | 08:49 น. | 23°46′N 121°02′E / 23.76°N 121.03°E | 17.4 | 6.2 | [15] |
22 กันยายน 2542 | 20:17 น. | 23°44′N 120°59′E / 23.74°N 120.98°E | 24.0 | 6.0 | [16] |
26 กันยายน 2542 | 07:52 น. | 23°51′N 121°00′E / 23.85°N 121.00°E | 12.1 | 6.8 | [17] |
11 มิถุนายน 2543 | 02:23 น. | 23°54′N 121°07′E / 23.90°N 121.11°E | 16.2 | 6.7 | [18] |
ความเสียหาย
[แก้]แผ่นดินไหวทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 2,415 คน บาดเจ็บมากกว่า 11,305 คน สูญหาย 29 คน สิ่งปลูกสร้างพังเสียหายโดยสิ้นเชิง 51,711 แห่ง เสียหายค่อนข้างมาก 53,768 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคารสูงปานกลางโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ออกแบบไม่ดีโดยเฉพาะโครงสร้างของชั้นแรก[4] รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่[19]
พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศถูกตัดไฟฟ้าเนื่องจากโรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าหลายแห่งเสียหาย และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 แห่งของไต้หวันได้ปิดตัวลงอัตโนมัติ โดยกลับมาทำการ 2 วันให้หลัง[20] สะพานสำคัญเสียหายอย่างหนัก 102 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องรื้อถอนเพื่อสร้างใหม่[21] ทางหลวงภูมิภาคหมายเลข 8 ซึ่งเป็นทางสัญจรหลักเชื่อมภาคกลางระหว่างฝั่งตะวันออก-ตกเพียงแห่งเดียวในขณะนั้นก็เสียหายอย่างหนัก อีกทั้งยังเสียหายเพิ่มจากเหตุพายุหลังแผ่นดินไหว ทำให้เส้นทางบางส่วนถูกปิดมาจนถึงปัจจุบัน แผ่นดินไหวหลักและแผ่นดินไหวตามทำให้เกิดดินถล่มทั้งสิ้น 132 แห่งและมีผู้เสียชีวิตจากเหตุดังกล่าว[22] โรงเรียนเสียหาย 870 แห่ง ในจำนวนนี้เสียหายอย่างหนัก 125 แห่ง หลายแห่งต้องปิดทำการเรียนการสอนหลายเดือนหรือแม้กระทั่งปิดถาวร[23]
เขต | เสียชีวิต | บาดเจ็บ สาหัส |
สิ่งปลูกสร้าง เสียหายทั้งหมด |
สิ่งปลูกสร้าง เสียหายบางส่วน |
---|---|---|---|---|
เทศมณฑลหนานโถว | 886 | 678 | 23,127 | 16,792 |
เทศมณฑลไถจง | 1,154 | 411 | 16,861 | 12,341 |
นครไถจง | 113 | 47 | 1,484 | 4,953 |
เทศมณฑลจางฮว่า | 29 | 11 | 1,048 | 3,054 |
เทศมณฑลยฺหวินหลิน | 85 | 60 | 916 | 321 |
เทศมณฑลเจียอี้ | 6 | 0 | 30 | 91 |
เทศมณฑลไถหนาน | 1 | 0 | 1 | 1 |
ไทเป | 87 | 7 | 76 | 325 |
นครซินเป่ย์ | 46 | 29 | 230 | 3,264 |
เทศมณฑลเหมียวลี่ | 6 | 196 | 529 | 473 |
นครซินจู๋ | 2 | 1 | 5 | 0 |
รวม | 2,415 คน | 1,440 คน | 44,307 แห่ง | 41,615 แห่ง |
การช่วยเหลือและกู้ภัย
[แก้]หลังแผ่นดินไหวมีการจัดประชุมฉุกเฉินคณะรัฐมนตรีในทันทีเพื่อรับมือสถานการณ์ที่ตามมา วันเดียวกันนั้นกองทัพไต้หวันได้ระดมพลทหาร รวมทั้งทหารเกณฑ์จำนวนมากไปยังพื้นที่ประสบภัย เพื่อสนับสนุนการแจกจ่ายสิ่งจำเป็นฉุกเฉิน ทำความสะอาดเส้นทาง และช่วยชีวิตผู้ติดอยู่ในซากปรักหักพัง มีการใช้เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงผู้บาดเจ็บจากพื้นที่ภูเขาไปยังโรงพยาบาลและบรรทุกสิ่งจำเป็นไปยังชุมชนที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก[26] นอกจากนี้กองทัพไต้หวันยังทำหน้าที่หลักคือกู้ร่างผู้เสียชีวิตออกจากซากปรักหักพัง[7]
ผู้ติดอยู่ในซากปรักหักพัง หนึ่งในจำนวนท้าย ๆ ที่ถูกช่วยเหลือ คือเด็กชายอายุ 6 ขวบ ถูกช่วยชีวิตจากซากบ้านของเขาในเทศมณฑลไถจงโดยหน่วยกู้ภัยและค้นหาจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เด็กชายติดอยู่ในซากนานกว่า 88 ชั่วโมงหลังเกิดแผ่นดินไหว[27] ยิ่งไปกว่านั้น ภายหลังยังมีการพบสองพี่น้องที่ยังรอดชีวิตอยู่ใต้ซากอาคารตุงซิง (東星大樓) ที่พังถล่มในกรุงไทเปหลังเกิดแผ่นดินไหวไปแล้วกว่า 130 ชั่วโมง ซึ่งทำให้หน่วยกู้ภัยประหลาดใจ โดยสองพี่น้องประทังชีวิตอยู่ใต้ซากด้วยหยดน้ำที่พ่นจากสายฉีดน้ำดับเพลิง ผลไม้เสีย และปัสสาวะของพวกเขาเอง[28]
อนุสรณ์
[แก้]เหตุแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งนี้ได้ประทับในความทรงจำของชาวไต้หวัน และมักจะกล่าวถึงในชื่อ 9-21 (九二一; Jiǔ'èryī) ตามวันที่เกิดเหตุ (21 กันยายน) ท่าทีความไม่พอใจของประชาชนต่อการรับมือสถานการณ์ของรัฐบาลมีเพียงน้อยนิด ซึ่งเป็นผลดีต่อพรรครัฐบาลโดยเฉพาะรองประธานาธิบดี เหลียนชัน ของไต้หวัน ที่จะเป็นตัวแทนพรรคก๊กมินตั๋ง ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีถัดไป (พ.ศ. 2543)[29]
ตำบลวู่เฟิงซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของเทศมณฑลไถจง ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวมากเป็นพิเศษ โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกวังฟู่ประจำหมู่บ้านตั้งอยู่บนรอยเลื่อนพอดี ทำให้พื้นที่สนามกีฬาของโรงเรียนบางส่วนยกตัวขึ้นตามแนวรอยเลื่อน ภายหลังจึงมีการจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์แผ่นดินไหว 921 แห่งไต้หวัน" ขึ้นในพื้นที่โรงเรียน ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นสาขาหนึ่งของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ[8]
ในตำบลจู๋ซาน เทศมณฑลหนานโถว พบรอยเลื่อนจากแผ่นดินไหวปรากฏชัดเจนโดยศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และใช้เป็นพื้นที่ศึกษาวิจัยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2556 พื้นที่ดังกล่าวได้รับการจัดตั้งเป็น "อุทยานอนุรักษ์รอยเลื่อนเชอหลงปู้" (車籠埔斷層保存園區) เพื่ออนุรักษ์รอยแตกของพื้นไว้ศึกษาและเป็นอนุสรณ์[30]
พ.ศ. 2552 มีการจัดพิธีรำลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีเหตุการณ์แผ่นดินไหว พิธีดังกล่าวจัดขึ้นหลายแห่งในอดีตพื้นที่ประสบภัย เช่น กรุงไทเป ตำบลตงซื่อ วู่เฟิง ผู่หลี่ จี๋จี๋ และจงซิงซินชุน มีการไว้อาลัยผู้เสียชีวิต ระลึกถึงหน่วยกู้ภัยที่เคยช่วยเหลือและฟื้นฟูเมืองขึ้นมาใหม่[31]
ภาพ
[แก้]ภาพความเสียหายเพิ่มเติม | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Significant Earthquake Information". ngdc.noaa.gov. NOAA National Centers for Environmental Information. สืบค้นเมื่อ 19 September 2021.
- ↑ "M 7.7 - Taiwan". earthquake.usgs.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 7 February 2018.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อIDA
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Chi-Chi Reconnaissance Team (2000). "Event report: Chi-Chi Taiwan earthquake" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Risk Management Solution. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Mori, J.; Tanaka, H. (2002). "Energy Budget of the 1999 Chichi, Taiwan Earthquake". AGU Fall Meeting Abstracts. 71. Bibcode:2002AGUFM.S71E..09M.
- ↑ Monastersky, R. (2 ตุลาคม 1999), Taiwan Quake Floods Scientists with Data, Science News, p. 213[ลิงก์เสีย]
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "The Chi-Chi, Taiwan Earthquake of September 21, 1999" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Earthquake Engineering Research Institute. ธันวาคม 1999.
- ↑ 8.0 8.1 Edmonds & Goldstein 2001, p. 17.
- ↑ "Fierce aftershock raises death toll". Taipei Times. 27 กันยายน 1999. p. 1.
- ↑ "第044號 09月21日01時57分 規模6.4 南投日月潭地震站東偏北方 14.3 公里" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 中央氣象局地震測報中心. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02.
- ↑ "第047號 09月21日02時03分 規模6.6 南投日月潭地震站南偏西方 10.6 公里" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 中央氣象局地震測報中心. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02.
- ↑ "第048號 09月21日02時16分 規模6.7 南投日月潭地震站東方 13.7 公里" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 中央氣象局地震測報中心. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02.
- ↑ "第064號 09月21日05時46分 規模6.6 嘉義阿里山地震站北偏東方 9.6 公里" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 中央氣象局地震測報中心. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02.
- ↑ "第092號 09月22日08時14分 規模6.8 南投日月潭地震站東偏南方 15.4 公里" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 中央氣象局地震測報中心. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02.
- ↑ "第094號 09月22日08時49分 規模6.2 南投日月潭地震站東南方 18.0 公里" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 中央氣象局地震測報中心. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02.
- ↑ "第102號 09月22日20時17分 規模6.0 南投日月潭地震站南偏東方 17.4 公里" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 中央氣象局地震測報中心. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02.
- ↑ "第128號 09月26日07時52分 規模6.8 南投日月潭地震站東偏南方 10.1 公里" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 中央氣象局地震測報中心. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02.
- ↑ "第091號 06月11日02時23分 規模6.7 南投日月潭地震站東方 20.6 公里" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 中央氣象局地震測報中心. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02.
- ↑ อ้างตาม National Fire Agency, Ministry of the Interior R.O.C
- ↑ "Nuclear Power Plants and Earthquakes". World Nuclear Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-22. สืบค้นเมื่อ 2018-07-01.
- ↑ Experiences 2006, p.1.
- ↑ Experiences 2006, p.6.
- ↑ Experiences 2006, p.7.
- ↑ "921震災勞動情勢分析新聞稿" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 行政院勞委會. 18 ตุลาคม 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-06.
- ↑ 韓世寧、陳國東 (25 มกราคม 2000). "九二一集集大地震南投縣台中縣死亡情形調查報告,《疫情報導》" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 衛生署疾病管制局.
- ↑ Yu Sen-lun (22 กันยายน 1999). "Rescue workers struggling with shortages as military moves in to disaster areas". Taipei Times. p. 3.
- ↑ "Hoping against the odds". Taipei Times. 25 กันยายน 1999. p. 1.
- ↑ Chu, Monique (27 กันยายน 1999). "Tunghsing rescue arouses hope". Taipei Times.
- ↑ Edmonds & Goldstein 2001, p. 16.
- ↑ "National Museum of Natural Science -> Exhibition -> Permanent Exhibits -> Chelungpu Fault Preservation Park". Nmns.edu.tw. 28 ตุลาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-21. สืบค้นเมื่อ 2018-07-01.
- ↑ Kao, Y.L. (2 กรกฎาคม 2009). "Cabinet to hold 921 earthquake commemorative activities: official". China Post.
บรรณานุกรม
[แก้]- Experiences on Post-disaster Reconstruction for the 921 Earthquake. Taiwan Historica. 2006. ISBN 978-986-00-7233-4.
- Edmonds, Richard L.; Goldstein, Steven M. (2001). Taiwan in the Twentieth Century: A Retrospective View. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-00343-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แผ่นดินไหวในจี๋จี๋ พ.ศ. 2542