ข้ามไปเนื้อหา

5 จี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 5G)
5G
ผู้พัฒนา3GPP
ริเริ่มกรกฎาคม พ.ศ. 2559
อุตสาหกรรมโทรคมนาคม

5G (เครือข่ายโทรศัพท์มือถือรุ่นหรือระบบไร้สายรุ่นที่ 5) เป็นเครือข่ายไร้สายที่ถูกพัฒนาและเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา[1] เทคโนโลยีพื้นฐานได้แก่คลื่นความถี่ (Millimeter wave bands 26, 28, 38, และ 60 GHz) มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 20 จิกะบิตต่อวินาที[2] MIMO(Multiple Input Multiple Output - 64-256 antennas)ประสิทธิภาพสูงซึ่งเร็วกว่า 4G ถึง 10 เท่า[3][4][5] 5G ย่านความถี่ต่ำและกลางใช้ความถี่ระหว่าง 600 MHz ถึง 6 GHz โดยเฉพาะระหว่าง 3.5-4.2 GHz[6][7]

ในปี พ.ศ. 2560 หลายบริษัทต่างพัฒนาเทคโนโลยี 5G เช่น Samsung, Intel, Qualcomm, Nokia, Huawei, Ericsson, ZTE และอื่น ๆ[8] แม้ว่า 5G จะครอบคุลมทั่วโลกภายในปี 2563 เกาหลีใต้ได้เริ่มให้บริการเทคโนโลยีนี้ที่โอลิมปิกฤดูหนาว 2018[9][10] ในปี พ.ศ. 2561 Verizon วางแผนจะให้บริการ 5G FWA ใน 4 เมืองในสหรัฐ แซคราเมนโต แอลเอ อินเดียแนโพลิส และฮิวสตัน

ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2565 ได้มีการพัฒนาโครงเครือข่าย 5G โทรคมนาคม โดย กสทช.(ประเทศไทย) ได้มีการอนุมัติการวางโครงเครือข่าย 5G หลังจากการประมูลคลื่นความถี่สำเร็จ และเริ่มเปิดทดสอบในปี พ.ศ. 2564 โดยบริษัท AWN หรือเครือข่าย AIS ได้มีการประกาศให้ผู้ใช้งานในประเทศไทยสามารถใช้งานบริการ 5G ได้แล้ว ( AIS 5G ) หลังจากนั้นบริษัท TRUE ก็ได้เริ่มให้ใช้บริการ 5G ( TRUE 5G ) ต่อมาทางบริษัท DTAC ก็ได้เปิดการใช้งาน 5G เช่นกัน ( DTAC 5G )

ความเป็นมาของ 5G

[แก้]

การสือสารไร้สายรุ่นใหม่ ๆ มักปรากฏทุก ๆ 10 ปี นับจากครั้งแรกที่ระบบเครือข่าย 1G โดย Nordic Mobile Telephone ได้เป็นที่รู้จักกันในปี 1981 ต่อมาระบบเครือข่าย 2G ก็ได้เริ่มถูกใช้งานในปี 1992 ส่วนระบบเครือข่าย 3G ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2001 และระบบเครือข่าย 4G ที่ทำงานสอดคล้องกับระบบ IMT Advancedก็ได้รับมาตรฐานในปี 2012 เช่นกัน

การพัฒนาของมาตรฐาน 2G (GSM) และ 3G (IMT-2000 และ UMTS) ที่ใช้เวลาประมาณ 10 ปี จากจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของโครงการ R & D และการพัฒนาระบบเครือข่าย 4G เริ่มต้น ในปี 2001 หรือ 2002 เทคโนโลยีรุ่นก่อนที่เกิดขึ้นในตลาดไม่กี่ปีก่อนรุ่นมือถือใหม่เช่นระบบ Pre-3G CDMAOne / IS95 ในสหรัฐอเมริกา ในปี 1995 และระบบ Pre-4G Mobile WiMAX ในภาคใต้ ของเกาหลี ปี 2006 และเป็นครั้งแรกที่ปล่อยสัญญาณ LTE ในสแกนดิเนเวียเมื่อปี 2009

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ITU towards "IMT for 2020 and beyond" - IMT-2020 standards for 5G". International Telecommunications Union (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-02-22.
  2. "5G Bytes: Millimeter Waves Explained". IEEE Spectrum: Technology, Engineering, and Science News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
  3. "Sprint Unveils Six 5G-Ready Cities; Significant Milestone Toward Launching First 5G Mobile Network in the U.S. | Sprint Newsroom" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
  4. "What Is Massive MIMO Technology?". 5g.co.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  5. "Massive MIMO for 5G - IEEE 5G". 5g.ieee.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  6. "ITU towards "IMT for 2020 and beyond"". www.itu.int (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  7. "T-Mobile to Use Low-Band Spectrum to Provide 5G Service". eWEEK (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  8. "Top companies leading 5G development". Netscribes. 9 November 2017.
  9. Seong-Mok Oh (February 12, 2018). "KT showcases 5G innovation at the Olympics in PyeongChang". ITU News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-24. สืบค้นเมื่อ 2 March 2018.
  10. Kang, Seung-woo (20 February 2018). "KT showcasing 5G technology at PyeongChang Games". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2 March 2018.