ข้ามไปเนื้อหา

กองรบพิเศษที่ 3 (สหรัฐ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 3rd Special Forces Group (United States))
กองรบพิเศษที่ 3 (ส่งทางอากาศ)
3rd Special Forces Group (Airborne)
ประจำการ5 ธันวาคม ค.ศ. 1963 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1969
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 – ปัจจุบัน
ประเทศ สหรัฐ
เหล่า กองทัพบกสหรัฐ
รูปแบบหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
ขึ้นกับ กองบัญชาการรบพิเศษที่ 1
กองบัญชาการค่ายแบรกก์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา
คำขวัญ"เพื่อปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่" (De Oppresso Liber)
ปฏิบัติการสำคัญสงครามเวียดนาม

สงครามอ่าว
ปฏิบัติการรักษาประชาธิปไตย
สงครามต่อต้านการก่อการร้าย

เครื่องหมายสังกัด
อดีตแถบการรับรู้กองรบพิเศษที่ 3 (ส่งทางอากาศ) สวมใส่โดยทหารมีคุณสมบัติปฏิบัติการไม่พิเศษ—แทนเครื่องหมายหน้าหมวกเบอเรต์—จากคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง ค.ศ. 1984[1]
อาร์มหน่วยที่ไหล่ของหน่วยบัญชาการรบพิเศษที่ 1 (ส่งทางอากาศ) สวมใส่โดยหน่วยกองรบพิเศษที่ 1 (ส่งทางอากาศ)
กองรบพิเศษสหรัฐ
ก่อน ถัดไป
กองรบพิเศษที่ 1 กองรบพิเศษที่ 5

กองรบพิเศษที่ 3 (ส่งทางอากาศ) (อังกฤษ: 3rd Special Forces Group (Airborne); อักษรย่อ: 3rd SFG(A)) – มักเรียกกันง่าย ๆ ว่ากองที่ 3 – เป็นหน่วยรบพิเศษกองทัพบกสหรัฐ (SF) ซึ่งมีบทบาทในสมัยสงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1963–1969) โดยได้หยุดปฏิบัติการ และกลับมาปฏิบัติการใหม่ในปี ค.ศ. 1990 กองที่ 3—ตามที่เรียกกันในบางครั้ง—ได้รับการออกแบบมาเพื่อกรีธาพลและปฏิบัติภารกิจทั้งเก้า ได้แก่ การสงครามนอกแบบ, การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ, การปฏิบัติภารกิจโดยตรง, การปราบปรามการก่อกบฏ, การลาดตระเวนพิเศษ, การต่อต้านการก่อการร้าย, ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร, การต่อต้านการแพร่ขยายอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการสนับสนุนกองกำลังรักษาความมั่นคง[2] กองรบพิเศษที่ 3 มีหน้าที่หลักในการดำเนินงานภายในพื้นที่รับผิดชอบของแอฟริคอม โดยเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ทวีปแอฟริกา (SOCAFRICA) อันมีพื้นที่ปฏิบัติการหลัก (AO) คือทวีปแอฟริกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำสั่งโซคอมปี ค.ศ. 2015[3] แต่กองที่ 3 ก็ยังมีส่วนร่วมในแคริบเบียนและดินแดนตะวันออกกลางที่ยิ่งใหญ่ ทั้งนี้ กองรบพิเศษที่ 3 ได้ปฏิบัติการรบอย่างกว้างขวางในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย และสมาชิกของกองรบนี้มีความโดดเด่นบนสมรภูมิในประเทศอัฟกานิสถาน

ประวัติ

[แก้]

คริสต์ทศวรรษ 1960

[แก้]

กองรบพิเศษที่ 3 เคลื่อนพลครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ที่ค่ายแบรกก์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา สี่สีของเสี้ยวหนึ่งของวงกลมที่เครื่องหมายหน้าหมวกเบอเรต์ของกองรบพิเศษที่ 3 นั้นมาจากเครื่องหมายหน้าหมวกของหน่วยรบพิเศษที่มีอยู่ก่อน ซึ่งสมาชิกกองรบพิเศษที่ 3 ถูกดึงออกมาในตอนแรก (ด้วยเหตุนี้ คำขวัญดั้งเดิมจึงเป็น "จากที่เหลือมาเป็นดีที่สุด") สีเหล่านี้ ได้แก่ สีเหลือง (กองรบพิเศษที่ 1 (ส่งทางอากาศ)), สีแดง (กองรบพิเศษที่ 7 (ส่งทางอากาศ)), สีดำ (กองรบพิเศษที่ 5 (ส่งทางอากาศ)) และสีขาว (กองฝึกรบพิเศษ (ส่งทางอากาศ)) ซึ่งกองรบพิเศษที่ 3 เดิมทีมุ่งเน้นไปที่ตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 หน่วยนี้ได้ฝึกกองกำลังติดอาวุธของประเทศมาลี, ประเทศอิรัก, ประเทศเอธิโอเปีย, ประเทศคองโก และประเทศจอร์แดน – นอกเหนือจากการสนับสนุนการปล่อยยานอวกาศอย่างยานเจมินี 6 และ 7 ใน ค.ศ. 1965 กองรบพิเศษที่ 3 ยังปฏิบัติงานร่วมกับกองรบพิเศษที่ 5 (ส่งทางอากาศ) ในสงครามเวียดนาม ส่วนใน ค.ศ. 1966 กองรบพิเศษที่ 3 ได้โอนอำนาจควบคุมชุดปฏิบัติการพิเศษสำนักงานความมั่นคงกองทัพบกที่ 403 และกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยาที่ 19 ไปยังกองรบพิเศษที่ 5[4] ด้วย "การแผลงเป็นเวียดนาม" ของความขัดแย้ง กองรบพิเศษที่ 3 (ส่งทางอากาศ) ได้ถูกหยุดยั้งการปฏิบัติงานใน ค.ศ. 1969 และเหล่าสมาชิกถูกย้ายกลับไปยังกองรบพิเศษอื่น ๆ (นายทหารกองรบพิเศษที่ 3 นายหนึ่งซึ่งอยู่ในเวียดนามใต้—พันตรี จอร์จ ดับเบิลยู. พีพรี—ได้เป็นทหารนายแรกบนภาคพื้นดินในการตีโฉบฉวยเซินเต็ย (ค.ศ. 1970) และต่อมาช่วยวางแผนการถอนทัพที่ไซ่ง่อน (30 เมษายน ค.ศ. 1975) และกลายเป็นทหารหน่วยรบพิเศษนายสุดท้ายที่ออกจากประเทศ)[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

[แก้]
  1. US Army Special Forces 1952–84, Bloomsbury Publishing, by Gordon L. Rottman, dated 20 September 2012, ISBN 9781782004462, last accessed 29 March 2019
  2. Army Special Operations Forces Fact Book 2018 เก็บถาวร 19 ตุลาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, USASOC official website, dated 2018, last accessed 28 July 2019
  3. Naylor, Sean D. (27 August 2009). "SOCom directive announces major changes" (PDF). Army Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 24 October 2014.
  4. Sutherland, Ian D.W. (1990), Special Forces of the United States Army: 1952–1982, San Jose, California: R. James Bender Publishing, pp 297–300.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]